ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

26 ม.ค. 2566 | 08:15 น.

ศูนย์ป่าไม้ตราด เตรียมส่งเจ้าหน้าที่รุกขกร ดูแลฟื้นฟูต้นตะบันบนเกาะขายหัวเราะ ที่กิ่ง-รากถูกเหยียบช้ำ ย้ำขอความร่วมมือผู้ไปเยือน มีจิตสำนึกท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

   วันที่ 24 ม.ค. 2566 นายปฏิยุทธ์ บูรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้ตราด เปิดเผยถึงกรณีต้นตะบัน บนเกาะขายหัวเราะ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ว่า  ต้นตะบันดังกล่าวมีลักษณะพิเศษ ขึ้นอยู่โดดเดี่ยวบนเกาะหิน จนกลายเป็นจุดเด่นทางการท่องเที่ยวอีกแห่งของจังหวัดตราด

จากตรวจสอบสภาพของต้นตะบันครั้งล่าสุดพบว่า ต้นตะบันบนเกาะขายหัวเราะบางส่วนมีความทรุดโทรม จากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวบางส่วนปีนเหยียบกิ่ง เหยียบรากต้นตะบัน จนเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ไม้ต้นดังกล่าวทรุดโทรม

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ  

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

ทั้งนี้ การดูแลรักษาตะบันต้นนี้นั้น ไม่สามารถดูแลรักษาแบบปกติได้ แต่จะให้เจ้าหน้าที่รุกขกรติดตามตรวจสอบ ทั้งโรค-แมลง รวมไปถึงให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยฟื้นฟูเป็นบางครั้ง

ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้ตราด กล่าวต่อไปอีกว่า กรณีที่หลายฝ่ายมีความกังวล ว่าต้นตะบันจะหักโค่นในอนาคตนั้น  ตอนนี้เท่าที่ดูจากสภาพแล้ว คงไม่ถึงขนาดที่ต้นตะบันจะหักโค่น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาเที่ยวเกาะขายหัวเราะ ต้องช่วยกันอนุรักษ์และรักษาตะบันต้นนี้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งพิเศษของจังหวัดตราด ให้อยู่คู่กับชาวตราดตลอดไป

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ  

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

ส่วนการจะออกกฎบังคับ ออกข้อห้ามอย่างเป็นทางการนั้น คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะทุกอย่างอยู่ที่จิตสำนึก ให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความสำคัญในการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

ด้านนายนิพนธ์ สุทธิธนากุล ประธานวิสาหกิจท่องเที่ยวเกาะหมาก กล่าวว่า เพื่อให้เกาะขายหัวเราะไม่เสียหายมากกว่านี้ จึงเสนอหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ดำเนินการใน 9 ประเด็นคือ  

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

1.การกำหนดจุดขึ้นลง 2.การขอความร่วมมือ (โดยไม่ใช้คำว่า...ห้าม) 3.หลีกเลี่ยงการเหยียบรากไม้ด้วยการไม่ขึ้นไปบนเกาะ 4.ให้ข้อมูลทิศทางเดียวกัน ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ 5.การทำทางล้อมเกาะขายหัวเราะเพื่อให้ถ่ายรูปเท่านั้น 

6.การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าชมและขึ้นไปบนเกาะ 7.การทำป้ายเตือนและแนะนำในการท่องเที่ยวบนเกาะขายหัวเราะ 8.การไม่อนุญาตให้ขึ้นกาะขายหัวเราะ 9.การทำกิจกรรม RT ก่อนไป หากจะไปต้องซื้อกิจกรรมเช่น ปลูกหน้าทะเล หรือปลูกปะการัง เกาะขายหัวเราะ 

ซึ่งล่าสุด ททท.สำนักงานตราด ได้สอบถามผู้ประกอบการว่า จะยังขายเกาะขายหัวเราะหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ควรจะขายต่อไปแต่ต้องควบคุมให้ดี หรือกำหนดช่วงเวลาเข้าไปเที่ยว โดยวันเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ช่วงเดือนตุลาคม-ต้นธันวาคม ของทุกปี

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

สำหรับเกาะขายหัวเราะ เป็นแนวโขดหินที่ยื่นไปในทะเล และมีต้นไม้อยู่ 1 ต้น คือต้นตะบัน ทำให้มีลักษณะคล้ายกับเกาะในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ จึงได้ชื่อว่าเป็นเกาะขายหัวเราะ ในขณะที่ต้นตะบันเป็นไม้พิเศษ ที่พบได้น้อยในพื้นที่จังหวัดตราด โดยเฉพาะทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจริง ๆ แล้วต้นตะบันไม่ขึ้นในทะเล แต่เป็นพืชที่ขึ้นตามแนวชายฝั่ง บริเวณป่ารอยต่อระหว่างป่าชายเลนและป่าชายหาด 

แต่ด้วยความโดดเด่น ที่ตะบันต้นนี้ไปขึ้นบนเกาะที่เป็นโขดหิน ทำให้ลักษณะต้นแคระแกร็น หงิก ๆ งอ ๆ ยิ่งไปอยู่บนเกาะหินขนาดเล็ก กลายเป็นความสวยงามลงตัว 

ป่าไม้ตราดส่งรุกขกรฟื้นฟูสุขภาพต้นตะบันเกาะขายหัวเราะ

ที่ผ่านมาด้วยความมีชื่อเสียงของ”เกาะขายหัวเราะ”ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชม และขึ้นต้นไม้ถ่ายรูปจนเกิดกิ่งหักเมื่อปีที่ผ่านมา ทางททท.สำนักงานตราด และชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก จึงได้ดำเนินการรณรงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวดูแล และเข้าไปถ่ายรูปโดยไม่ขึ้นไปปีนต้นไม้จนเกิดความเสียหาย เพราะปัจจุบันเกาะขายหัวเราะเป็นสัญญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดไปแล้ว