พลิกเกมช่อง 3 ปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ

07 ต.ค. 2565 | 12:23 น.

เล็งตลาดผิดทำช่อง 3 ขาดทุนยับ “สุรินทร์” คืนรังกู้ช่อง 3 ลดสัดส่วนทีวี เพิ่ม Music Businessปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ ต่อยอดรายได้ตั้งเป้าเทิร์นอราวด์แตะจุดพีคกำไร 5,000 ล้านบาท

ในอดีตสื่อหลักอย่างฟรีทีวีถูกคุมตลาดด้วยผู้เล่นหลัก ช่อง3, ช่อง5, ช่อง7และช่อง9 ทำให้ธุรกิจฟรีทีวีกลายเป็นน่านน้ำที่แข่งขันอย่างดุเดือดแต่ขณะเดียวกันสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้เจ้าของช่อง กระทั่งการเข้ามาของ “ทีวีดิจิทัล” ที่เปลี่ยนภาพธุรกิจทีวีไปอย่างสิ้นเชิงทั้งการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ ความหลากหลายของคอนเทนต์ ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายคาดหวังว่า “ทีวีดิจิทัล” จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจฟรีทีวีดั้งเดิมสามารถผงาดกลับขึ้นและชิงความนิยมกลับคืนจากสื่อออนไลน์

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์
อย่างไรก็ตาม “ทีวีดิจิทัล” ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คาดและทำให้ผู้ประกอบการหลายรายล้มหายตายจากไปในเวลาเพียง1-2 ปีเท่านั้น ในขณะที่บิ๊กเพลย์เยอร์ก็เจ็บหนักเช่นกันรวมทั้ง ช่อง3 ภายใต้ “บีอีซีเวิลด์” ที่ขาดทุนอย่างหนักหลังจากกระโดดเข้าไปในสมรภูมิ “ทีวีดิจิทัล” ซึ่ง “สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์” อดีตลูกหม้อ“ช่อง 3”ที่ถูกดึงกลับมากู้สถานการณ์ของช่อง 3 หลังจากโบกมือลาช่องไปพักใหญ่ยอมรับว่าในครั้งนั้น “ช่อง3 เล็งตลาดผิด” การกลับมาครั้งนี้สุรินทร์คาดหวังว่าในอนาคต ช่อง 3 จะสามารถเทิร์นอราวด์กลับไปมีรายได้และกำไรเทียบเท่าหรือมากกว่าจุดที่เคยพีคคือ “กำไรเกิน 5000 ล้านบาท”

นาย สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า เป้าหมายของบีอีซีเวิลด์ คืออยากย้อนกลับไปให้ถึงช่วงที่กำไร 5000ล้านบาท ก่อนที่จะเข้าภาวะขาดทุนเพราะ “เราเล็งตลาดผิด” จากการเข้าใจการเข้ามาของ “ทีวีดิจิตอล” ผิดประกอบกับความมั่นใจมากเกิน “การมี ทีวีดิจิทัล 3 ช่องทุกอย่างคูณ 3 ทำให้เรามีภาระเยอะขึ้น และเราโชคไม่ดีที่อยู่ในช่วงของการถูกควบคุมด้วยกฏเกณฑ์ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ทำให้ในผู้ประกอบการธุรกิจทีวีดิจิทัลล้มหายตายจากไปเยอะตั้งแต่ปีแรก เพราะคนดูเข้าถึงบ้างเข้าไม่ถึงบ้าง คนที่เข้ามาในตลาดใหม่ๆลำบาก และหลังจากนี้น่าจะมีจำนวนช่องลดลงเพราะธุรกิจทีวีมีจำนวน Fixed Cost ค่อนข้างสูง ถ้าเม็ดเงินไม่โตก็คงลำบากและทนขาดทุนกันไม่ไหว”

พลิกเกมช่อง 3 ปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ
 

ผู้บริหารฉายภาพทางเดินของ ช่อง3 หลังจากนี้ว่า ปีหน้าช่อง 3 ต้องการเติบโตมากกว่าปีที่แล้ว แต่หากกลับไปได้ก็อยากกลับไปเติบโตในจุดที่มีกำไรเกิน 5,000 ล้านบาททุกปี แต่ในปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำกำไรเพียง700-800ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปี2566 บริษัทมีแผนปรับทั้งโครงสร้างธุรกิจ ผังรายการและปรับทั้งราคาโฆษณา โดยเน้นการลงทุนเพื่ออนาคต ทั้งธุรกิจDigital platform และขายลิขสิทธ์ละครไปต่างประเทศ การลงทุนภาพยนตร์และ Music Business เพื่อเป็นส่วนเสริมให้กับบีอีซีเวิลด์ เติบโตต่อไปในอนาคตและจะทำให้สัดส่วนรายได้เปลี่ยนไป

 

“ปัจจุบันรายได้เราไม่ได้มาจากทีวีอย่างเดียว ความพยายามของเราคือทำอย่างไรให้ Content ของเราสามารถออกทีวีในบ้านเราได้และนำไปขายในต่างประเทศได้  เราไม่ห่วงรายการข่าวเพราะรายการข่าวเราแข็งแรงมีรายได้จากโฆษณาเข้ามาต่อเนื่องปีหน้ามีโอกาสปรับเรทโฆษณาสูงขึ้นเพราะยังมีดีมานด์ในรายการข่าวเยอะ แต่สิ่งที่เราต้องการทำให้เห็นชัดในปีหน้าคือเรื่องของบันเทิง Entertainment และ Variety ซึ่งในอดีตเราเคยมีความแข็งแกร่งมากในเรื่องของVariety แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นเจ้าของรายการหรือผู้ผลิตรายการออกไปทำช่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นVariety Programจะเป็นชาเลนจ์ที่จะทำรายการออกมาแล้วชนะเจ้าตลาดแต่ละแห่ง”

พลิกเกมช่อง 3 ปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ
ในระยะยาว 5 ปีจากนี้ไปช่อง 3 ต้องการให้สัดส่วนรายได้จากธุรกิจทีวีปรับลงมาที่ 50% จากปัจุบันที่กินสัดส่วนกว่า85% และรายได้จากทางอื่น ทั้งบีอีซีสตูดิโอ Music Business, Movie Business และ Marketing อยู่ที่ 50% 

 

ผู้บริหารยังกล่าวถึงโอกาสในธุรกิจเพลงที่คาดว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นตัวทำรายได้ใหม่ของช่องว่า ธุรกิจเพลงเป็นคอมพลีเมนต์ที่ดีให้กับธุรกิจ ช่อง 3 ไม่ได้ต้องการเป็น television Company อีกต่อไป แต่ช่อง3จะเป็น Total Entertainment Company หรือเป็น Content provider สำหรับธุรกิจเพลงบริษัทจะไม่ออกไปหานักร้อง แต่จะใช้ดาราที่อยู่ในสังกัดมาปั้นเป็นนักร้อง เพราะดาราก็เหมือนคนทั่วไปมี passion ที่ต้องการต้องการโชว์ศักยภาพของตัวเองนอกจากการแสดง นอกจากนี้เพลงตอบโจทย์ในมุมของอีเวนต์ของช่อง ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดสถานี คอนเสิร์ตของดารา ดังนั้นการที่มี Music Business เป็นการเปิดโอกาสให้ช่อง3 สามารถใช้ดารานักร้องนำเพลงไปร้องโดยใช้เพลงของตัวเองและไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากที่อื่นเพื่อนำมาร้อง

พลิกเกมช่อง 3 ปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ

“ปัจจุบันเรามี Business ที่ทำเพลงอยู่แล้ว ก็คือ แชนเดอเลียร์มิวสิก (Chandelier Music) เป็นบริษัทที่เราเปิดขึ้นมาเพื่อทำเพลงป้อนให้กับละครของช่อง 3 ที่ผ่านมาถือว่าทำได้ค่อนข้างดี ในหนึ่งปีสามารถทำเพลงป้อนละคร 30 กว่าเรื่อง และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงจำนวนมากซึ่งมีคนมาขอซื้อสิทธิ์เพลงเราไปดังนั้นเราจะมีรายได้จากการบริหารลิขสิทธิ์ด้วย  ตอนนี้เรามีดาราที่ออกเพลง 2 ท่านและกำลังทำงานอยู่ในสตูดิโออีกแล้วจะออกเพลงในปีหน้าอีก4 ท่าน”


 

อีหนึ่ง บิสิเนส ที่ผู้บริหารช่อง3 มองว่าจะเข้ามาเพิ่มรายได้ในต้นทุนที่ต่ำได้ในอนาคตอันใกล้ คือการขยาย  Content ไปต่างประเทศ “เราไม่ได้ผลิตละครขึ้นมาเพื่อขายต่างประเทศอย่างเดียว แต่เป็นละครที่เราผลิตขึ้นมาเพื่อออกอากาศในช่อง 3 เพราะฉะนั้นต้นทุนมันถูกนับไว้แล้วตั้งแต่ผลิตและออกอากาศในช่อง 3  ข้อดีคือเมื่อเราสามารถเอา Content หรือละครไปขายในต่างประเทศได้หรือขายให้กับ Streaming Service platform ทุกสัญชาติคือเราไม่มีต้นทุนเพราะฉะนั้นเราขายเท่าไหร่เราได้กำไรเท่านั้น 

พลิกเกมช่อง 3 ปั้นดาราเป็นนักร้อง ขายละครไปต่างประเทศ

ข้อดีอีกข้อคือปัจจุบันการแข่งขันธุรกิจทีวีค่อนข้างสูง ท่ามกลางโควิคทำให้เรามีต้นทุนทางอ้อมสูงขึ้นเพราะเราทำงานยากขึ้นใช้เวลาถ่ายทำนานขึ้นทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น การมีรายได้จากฝั่งนี้เข้ามาก็จะช่วยได้มากพอสมควรในเรื่องของต้นทุนแต่ข้อได้เปรียบของเราคือต้นทุนของดาราที่เป็นดาราในสังกัดจะถูกกว่าค่ายอื่นที่ใช้ดาราฟรีแลนซ์ซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงกว่า”

 

ผู้บริกล่าวเพิ่มเติมว่า “international business ทำให้เราเปลี่ยนวิธีในการทำงาน ตอนนี้เวลาเราทำละครในช่องเรา Production planning และ process ของเราเปลี่ยนไป Concept ในการทำก็เปลี่ยนไปเราต้องดูว่าคนดูของเราคือใคร ปัจจุบันคนดูของเราไม่ใช่คนดูละครที่อยู่แค่ในประเทศไทยแต่เป็นคนที่ดูละครที่อยู่ในอาเซียน ใน South East Asia และในยุโรป แต่เอเชียน่าจะเป็นตลาดหลักของเราไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น ความพยายามของเราคือทำอย่างไรให้ละครของเราเข้าไปในตลาดพวกนี้ได้มากขึ้นโดยเฉพาะจีนที่มีฐานประชากรพันกว่าล้านคน ปีนี้เราขาย Contentละคร 10 กว่าเรื่องออกไปรวมกว่า 20 ประเทศ เป็นละครที่ออกอากาศในปีนี้และละครที่ออกอากาศในปีก่อนๆ  ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีนอกจากเพิ่มรายได้แล้วยังทำให้เรามี Future Revenue 

 

ในอนาคตเราสามารถต่อยอดการขายละครหรือซีรีย์ไปขายต่างประเทศโดยออนแอร์พร้อมกับเวลาในประเทศไทย สามารถทำโชว์เคสไปต่างประเทศผ่านดาราหรือผ่านช่องทางอื่นๆ ความซักเซสของธุรกิจต่างประเทศไม่ได้อยู่ที่จำนวนประเทศแต่อยู่ที่จำนวน Content ที่สามารถส่งออกไปขายได้ ละครหรือภาพยนตร์เรื่องไหนที่ได้รับความนิยมทุกคนก็อยากซื้อราคาก็จะแพงขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสในการทำเงินจึงมีอยู่ สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือการทำ Content ให้ดีแล้วเราจะมีโอกาสสร้างรายได้จากหลายทิศทาง”