หาญ เสิร์ฟบริการ "SCape by HARNN" รุกตลาดเวลเนส

20 ส.ค. 2565 | 11:14 น.

HARNN ปรับแผนรุกตลาดเวลเนส เปิดตัว SCape by HARNN สปาทรีตเมนต์ เสิร์ฟบริการห้างหรู โรงแรมดัง พร้อมเดินหน้าสร้างแบรนด์เจาะกลุ่มลูกค้าไทย ต่างชาติ

นายธนพงษ์ จิราพาณิชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ธนจิรากรุ๊ป ผู้บริหารแบรนด์ “หาญ” (HARNN) และกลุ่มธุรกิจหาญ เวลเนส แอนด์ ฮอสพิทาลิตี้ เปิดเผยว่า หลังจากที่ “HARNN” เข้ามาอยู่ใน portfolio ของ ธนจิรากรุ๊ป โจทย์คือจะต้องทำให้คนไทยยอมรับมากขึ้น เพราะการพึ่งพานักท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ยั่งยืนซึ่งสท้อนให้เห็นในช่วงโควิดซึ่งสุดท้ายแล้วนักท่องเที่ยวหายไป

 

เดิมหาญมีสัดส่วนลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยว 95% และอยู่ได้เพราะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งกินสัดส่วนกว่า 70% พอโควิดมานักท่องเที่ยวหายหมดเราอยู่ไม่ได้ ตอนนี้สัดส่วนลูกค้าอยู่ที่คนไทย 40%นักท่องเที่ยว 60% ส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ ดูไบ และยังไม่มีจีนเข้ามา

หาญ เสิร์ฟบริการ "SCape by HARNN"  รุกตลาดเวลเนส            

บริษัทพร้อมแล้วในการต่อเกม wellness โดยหันขยายการให้บริการ “สปาทรีตเมนต์” ที่เราเรียกว่า “SCape by HARNN” ซึ่ง“HARNN”เด่นในเรื่องนี้อยู่แล้ว เราเป็นแฟรนไชส์ในเชนโรงแรมต่างประเทศ เช่นโรงแรมคิมป์ตัน มาลัยหลังสวน โรงแรมคิมป์ตันสมุย หรือในต่างประเทศเช่นญี่ปุ่น 3-4 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง ฮ่องกง 1 แห่ง และซาอุดิอาระเบีย 1แห่ง

 

แต่คนไทยกลับไม่รู้จักเลยเพราะแนวทางในการทำงานไม่ได้ผนวก beauty เป็น wellness เพราะฉะนั้น “SCape by HARNN” จะเป็นการตอบโจทย์ 3 เรื่องทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาโลเคชั่นให้เข้าถึงได้และมีความชัดเจนในอัตลักษณ์ของร้าน จึงเกิดเป็น “สปาทรีตเมนต์” ที่ตรงกับผู้ที่ต้องการทั้งระดับราคาและสถานที่ที่สะดวกสบาย” 

 

ทั้งนี้ “SCape by HARNN” เริ่มเปิดบริการที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้าเป็นสาขาแรกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องยากเนื่องจากคนไม่รู้จัก แต่แบรนด์จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อเป็นการเทสโมเดลธุรกิจว่าครึ่งหนึ่งเป็นรีเทลครึ่งหนึ่งเป็นสปาทรีตเมนต์ จะสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้หรือไม่ สิ่งที่พบโลเคชั่นไม่สะดวกเพราะไกล

หาญ เสิร์ฟบริการ "SCape by HARNN"  รุกตลาดเวลเนส

“SCape by HARNN ” จึงเริ่มขยายในเมือง ล่าสุดเปิดสาขาใหม่ใน THE EMQUARTIER มาตรฐานเดียวกับโรงแรม รวมทั้งสปาทรีตเมนต์ที่เกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรมกึ่งๆผสมฟิสิโอ เทอราพีและเลเชอร์เข้าด้วยกันโดยเน้นทั้งเรื่องของ relaxation และแก้เรื่องของการปวดเมื่อยบ่า คอ จากการนั่งทำงานนานๆ และบริการงสปาทรีตเมนต์ 120 นาที โดยใช้งบลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท

 

“เราไม่มีความคิดว่าเราจะเป็น mass product ที่ไปเทียบกับบริการนวดทั่วไป หรือลักษณะที่นักท่องเที่ยวมองสปาตามห้องแถว แต่เราเจาะกลุ่มคนไทยที่ต้องการมองหาพรีเมี่ยมโพรดักซ์และตอบโจทย์เรื่องของการต้องใช้และแก้โจทย์นั้นได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นการก้าวต่อไปของหาในการสร้าง communication ของ wellness destinationเพิ่มเติมจาก retail”

 

นอกจากนี้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา “HARNN”ได้ไปเปิดกิจการในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า “HARNN JAPAN”โดยเริ่มนำเข้าสินค้าไปทำตลาด และปัจุบันนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการเฟส 2 ศึกษาเพื่อผลิตเฟชแคร์เป็น made in japan โดยใช้ความเป็นเลิศของทางญี่ปุ่นในการผลิต ซึ่งในอนาคตบริษัทมีแผนผลิตโปรดักต์ made in thailand เป็น made in japanแทน แล้วส่งกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเพื่อช่วยให้เกิดการยอมรับ

 

ทั้งนี้ “HARNN” ยังเคยทำรายได้สูงสุดเกือบ 400 ล้านบาทในปี 2018 ปัจุบันตอนนี้บริษัทตั้งเป้าจะพลิกอัพรายได้กลับมาครึ่งทางของ 400 ล้านบาท หรือทำรายได้ 200 ล้านบาทในปี 2022 และในปี 2024 บริษัทปักหมุดจะกลับไปอยู่จุดเดิมในปี 2018 ให้ได้ ซึ่งจะมีรายได้ทั้งในสาขาต่างประเทศและการทำ partnership สปาในโรงแรม นอกจากนี้ยังคาดหวังสัดส่วนรายได้หาร 3 เท่า คือรีเทล 33%, export33% และสปาแฟรนไชส์ 33%

 

“ในส่วนของสปาแฟรนไชส์เรามี 4 ระดับ ระดับแรกคือ “HARNN heritage” ซึ่งที่ผ่านมาเราอยู่กับโรงแรมอินเตอร์คอนติเนลตัลเยอะ ระดับที่ 2 THE SPA by “HARNN จะอยู่ในโรงแรม 4 ดาวลงมาและในญี่ปุ่น 2 แห่ง ระดับที่ 3 ใช้ชื่อ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต่อท้ายด้วย “by HARNN” และระดับสุดท้ายเป็นระดับที่ไม่ใช่โรงแรมเราให้ใช้ “SCape by HARNN ”

 

ปีนี้มีแผนขยายเพิ่ม 1 สาขาคือ เซ็นทรัลเวิร์ลช่วงปลายปี ซึ่งในระยะยาวจำนวนแฟรนไชส์จะต้องมากพอที่จะกินสัดส่วน 1 ใน 3 แต่ปัจจุบันสัดส่วนก็ไม่ได้น้อยอยู่ที่ประมาณ 5% แต่การจะกินแชร์ 33% ก็จะต้องมีอย่างน้อย 40 property จากปัจุบันที่มี 15 property”

 

หน้า 16  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,810 วันที่ 18 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565