“ประชากรโลกลด” จุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจโลก

26 มี.ค. 2567 | 07:56 น.
อัพเดตล่าสุด :26 มี.ค. 2567 | 09:06 น.

อัตราเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในประเทศที่พัฒนาแล้ว และกระจุกตัวในประเทศยากจน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ในอีก 25 ปีข้างหน้า เเละกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

KEY

POINTS

  • อีก 25 ปีข้างหน้า อัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ และเศรษฐกิจโลก 
  • ภายใน พ.ศ. 2645 อัตราการเกิดทดแทนประชากรมีเพียง 6 ประเทศ ประเทศที่มีรายได้สูงจะมีอัตราการเกิดลดลง สวนทางกับประเทศที่มีรายได้น้อยที่อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น
  • การเข้ามาของ AI-หุ่นยนต์ อาจช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากจำนวนแรงงานที่ลดลง แต่บางภาคส่วนยังคงได้รับผลกระทบรุนแรง

การศึกษาใหม่ระบุว่า อัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ในอีก 25 ปีข้างหน้า โดยจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก

การวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่า  3 ใน 4 ของประเทศต่างๆ จะมีอัตราการเกิดทดแทนประชากรลดลงที่ 2.1 ทารกต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่งจะทำให้ 49 ประเทศ ที่มีรายได้น้อย มีประชากรเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) และเอเชีย ภายในปี 2593 

ความน่าสนใจอยู่ที่บทสรุปของรายงาน โดยระบุว่า แนวโน้มอัตราการเจริญพันธุ์และการเกิดใหม่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของพลวัตของประชากรโลกในอนาคต และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงได้เน้นย้ำถึงความท้าทายใหม่ใน "การย้ายถิ่นฐาน" และเครือข่ายความช่วยเหลือระดับโลกด้วย

6 ประเทศในแอฟริกา มีอัตราการเกิดทดแทนประชากร

6 ประเทศที่คาดว่าจะมีการเกิดใหม่ของประชากรคือ ประเทศในแอฟริกา ได้แก่ ชาด (Chad) ไนเจอร์และตองกา (Niger and Tonga) หมู่เกาะแปซิฟิกของซามัวและตองกา (The Pacific islands of Samoa and Tonga) และทาจิกิสถานในเอเชียกลาง (Central Asia’s Tajikistan)

ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะ การลดจำนวนแรงงานในประเทศที่พัฒนา แม้จะมีการสนับสนุนทางเทคโนโลยีก็ตาม แต่จะต้องมีการแทรกแซงหรือการเข้ามาช่วยเหลือทั้งในทางการเมืองและการคลังอย่างมีนัยสำคัญ

แรงงานลด ขนาดเศรษฐกิจก็ลดลง

ดร. Christopher Murray ผู้เขียนรายงานและผู้อำนวยการสถาบัน Health Metrics and Evaluation กล่าวว่า เมื่อจำนวนแรงงานลดลง ขนาดโดยรวมของเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าผลผลิตต่อคนงานจะยังคงเท่าเดิมก็ตาม ซึ่งหากไม่มีนโยบายการย้ายถิ่นแบบเสรีนิยม ประเทศเหล่านี้จะเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก 

เขาเสริมอีกว่า การเข้ามาของ AI และหุ่นยนต์ อาจช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากจำนวนแรงงานที่ลดลง แต่ในบางภาคส่วน เช่น ที่อยู่อาศัย จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง 

ประเทศรายได้สูงการเกิดลด สวนทางประเทศรายได้น้อย

ความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งมีอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่องกับประเทศที่มีรายได้น้อยซึ่งอัตราการเกิดยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493-2564 อัตราการเจริญพันธุ์โดยรวมทั่วโลก (TFR) หรือจำนวนทารกโดยเฉลี่ยที่เกิดจากผู้หญิงลดลงกว่าครึ่งจาก 4.84 เหลือเพียง 2.23

เนื่องจากหลายประเทศร่ำรวยขึ้นและผู้หญิงเลือกมีลูกน้อยลง แนวโน้มดังกล่าวรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิ การมีส่วนร่วมของแรงงานสตรีที่เพิ่มขึ้น และมาตรการทางการเมือง รวมถึงนโยบายลูกคนเดียวของจีน

ปัจจุบันประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วหลายแห่งมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าอัตราการทดแทนอยู่มาก ภายในกลางศตวรรษ ประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะถูกกำหนดให้รวมกับประเทศเศรษฐกิจสำคัญอย่าง จีนและอินเดีย  โดยเกาหลีใต้มีอัตราการเกิดอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดจากทั่วโลก ที่ 0.82

ส่วนประเทศที่มีรายได้น้อย คาดว่าจะมีการเกิดใหม่เกือบสองเท่าจาก 18% ในปี พ.ศ 2564 เป็น 35% ภายในปี 2643 และเมื่อถึงช่วงเปลี่ยนศตวรรษ แอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราจะมีสัดส่วนของการเกิดใหม่ทั้งหมดถึงครึ่งหนึ่ง ตามข้อมูลของรายงาน

พ.ศ. 2593-2643 อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกจะลดลง

อัตราการเจริญพันธุ์โดยรวมทั่วโลกจะลดลงจาก 1.83 เป็น 1.59 โดยมีอัตราการเปลี่ยนทดแทนหรือจำนวนบุตรที่คู่รักต้องทดแทนตนเอง คือ 2.1 ในประเทศส่วนใหญ่ที่พัฒนาแล้ว แม้ปัจจุบันประชากรโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 8 พันล้านคนเป็น 9.7 พันล้านคนภายในปี 2593 ก่อนที่จะถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 10.4 พันล้านคน ในช่วงกลางทศวรรษ 2080 หรือช่วง พ.ศ. 2623 ตามข้อมูลของสหประชาชาติ

ดร. Christopher Murray ทิ้งท้ายว่า สิ่งนี้อาจทำให้ประเทศยากจนอยู่ในจุดยืนที่แข็งแกร่งเเละอาจใช้ประโยชน์ในการเจรจา "นโยบายการย้ายถิ่นฐาน" ที่มีจริยธรรมและยุติธรรมมากขึ้น ในขณะที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น

 

ขอบคุณที่มา : CNBC