ลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ 2566-2567 อัพเดทล่าสุดที่นี่

03 ก.พ. 2567 | 03:56 น.

อัพเดทล่าสุด การลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ 2566-2567 ทั้งที่ลงทะเบียนออนไลน์ https://debt.dopa.go.th และที่ว่าการอำเภอ

ลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบออนไลน์ ที่ https://debt.dopa.go.th นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย ยังคงเปิดให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบ 

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

โดยเน้นย้ำการทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาเพื่อคลายทุกข์ของประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้ตามความมุ่งหมายของรัฐบาล

ลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ 2566-2567 อัพเดทล่าสุดที่นี่

โดยกระทรวงมหาดไทยได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ บูรณาการภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ใช้กลไกศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับจังหวัด/อำเภอ ในการให้คำปรึกษาพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง

รวมถึงการจัดกิจกรรมตลาดนัดแก้หนี้ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การรับลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ 2566-2567 อัพเดทล่าสุดที่นี่

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 2 ก.พ. 2567 ระบุว่า นับตั้งแต่เปิดลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นมา ข้อมูลของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง มีมูลหนี้รวม 9,475.739 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 137,871 ราย 

เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 116,283 ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 21,588 ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ 106,285 ราย 

ลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือหนี้นอกระบบ 2566-2567 อัพเดทล่าสุดที่นี่

จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนมากที่สุด

5 ลำดับแรก ได้แก่

1. กรุงเทพมหานคร 

  • มีผู้ลงทะเบียน 11,091 ราย 
  • เจ้าหนี้ 7,695 ราย 
  • มูลหนี้ 834.079 ล้านบาท 

2. จังหวัดนครศรีธรรมราช 

  • มีผู้ลงทะเบียน 5,621 ราย 
  • เจ้าหนี้ 5,162 ราย 
  • มูลหนี้ 380.178 ล้านบาท 

3. จังหวัดสงขลา 

  • มีผู้ลงทะเบียน 5,118 ราย 
  • เจ้าหนี้ 4,040 ราย 
  • มูลหนี้ 335.863 ล้านบาท 

4. จังหวัดนครราชสีมา 

  • มีผู้ลงทะเบียน 4,794 ราย 
  • เจ้าหนี้ 3,678 ราย 
  • มูลหนี้ 403.318 ล้านบาท 

5. จังหวัดสุรินทร์ 

  • มีผู้ลงทะเบียน 3,612 ราย 
  • เจ้าหนี้ 2,503 ราย 
  • มูลหนี้ 331.320 ล้านบาท 

 

จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนน้อยที่สุด

5 ลำดับแรก ได้แก่ 

1. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

  • มีผู้ลงทะเบียน 222 ราย 
  • เจ้าหนี้ 233 ราย 
  • มูลหนี้ 14,069 ล้านบาท 

2. จังหวัดระนอง 

  • มีผู้ลงทะเบียน 316 ราย 
  • เจ้าหนี้ 235 ราย 
  • มูลหนี้ 21.929 ล้านบาท 

3. จังหวัดสมุทรสงคราม 

  • มีผู้ลงทะเบียน 365 ราย 
  • เจ้าหนี้ 282 ราย 
  • มูลหนี้ 13.144 ล้านบาท 

4. จังหวัดตราด 

  • มีผู้ลงทะเบียน 442 ราย 
  • เจ้าหนี้ 330 ราย 
  • มูลหนี้ 20.118 ล้านบาท 

5. จังหวัดสิงห์บุรี 

  • มีผู้ลงทะเบียน 459 ราย 
  • เจ้าหนี้ 343 ราย 
  • มูลหนี้ 23.725 ล้านบาท


จังหวัดที่ลูกหนี้เข้าไกล่เกลี่ยมากที่สุด

ยังคงเป็นจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 3,148 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 292 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย 252.448 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 25.884 ล้านบาท ทำให้มูลหนี้ของพี่น้องประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ลดลง 226.564 ล้านบาท


ข้อมูลไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบทั่วประเทศ

มีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว 18,104 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 10,858 ราย มูลหนี้ของลูกหนี้ก่อนไกล่เกลี่ย 1,730.078 ล้านบาท หลังการไกล่เกลี่ย 1,097.581 ล้านบาท มูลหนี้ลดลง 632.497 ล้านบาท 

สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับความร่วมมือกระทั่งไม่สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งสำนวนแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจในพื้นที่ มีการดำเนินคดีไปแล้ว 251 คดี ใน 31 จังหวัด” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว

 

ช่องทางลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้นอกระบบ สามารถลงทะเบียนได้ทั้ง

  • ทางระบบออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th 
  • ลงทะเบียนได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ 

โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง