นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินฝากที่สถาบันการเงินคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองทั้งหมด 32 แห่ง ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่เงินฝากมีการติดลบของการโต ซึ่งแบ่งเป็น
ทั้งนี้ สาเหตุของการลดลงมาจากปัญหาสถารการณ์เศรษฐกิจ หรือประชาชนบางส่วนนำเงินไปลงทุนในเครื่องมือที่มีผลตอบแทนดีกว่า เช่น การลงทุนทองคำ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ตาสารหนี้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากมองในรายละเอียดจะพบว่า คนทุกกลุ่มตั้งแต่คนรวยไปจนถึงคนจนต่างมีเงินฝากในบัญชีลดลงอย่างถ้วนหน้า โดยผู้ฝากเงินที่มีเงินในบัญชีไม่เกิน 5 หมื่นบาท มีการหดตัว 3.61% ณ เดือนสิงหาคมนี้ โดยมีจำนวนรวมกันประมาณ 3.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการหดตัวที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้วที่หดตัว 0.63% คิดเป็นจำนวนเงิน 3.6 แสนล้านบาท
“ในกลุ่มคนที่มีเงินในบัญชีน้อยกว่า 5 หมื่นบาท มีกว่า 81 ล้านบัญชี มากกว่า 80% ของจำนวนผู้มีเงินฝากทั้งหมด 93.46 ล้านบัญชี และพบว่าค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ มีเงินในบัญชีน้อยกว่า 5,000 บาท”
ขณะที่กลุ่มคนที่มีบัญชีเงินฝากมากกว่า 5 หมื่นบาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีการปรับลดลงทั้งจำนวนเงินฝากและจำนวนผู้ฝากตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เช่น บัญชีที่มีเงินฝากตั้งแต่ 2-5 แสนบาท มีจำนวนรายที่ลดลง 33% แม้แต่ผู้ฝากรายใหญ่ก็มีจำนวนเงินฝากลดลงในปีนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี มองว่าตัวเลขติดลบดังกล่าวจะกลับมาดีขึ้นตามสถานการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า
ขณะที่ปัจจุบันมีจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 15.96 ล้านล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีที่แล้วจำนวน 2.12 แสนล้านบาท เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย ขณะที่จำนวนผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครอง มีจำนวน 93.46 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว 3.37%
สำหรับจำนวนบัญชีผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ยังคงขยายตัว เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว 3.05 ล้านราย คิดเป็นการเพิ่มขึ้น3.37% ปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากให้การคุ้มครองเงินฝาก 1 บัญชีต่อ 1 ธนาคาร โดยคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อบัญชี ซึ่งวงเงินการคุ้มครองดังกล่าว สามารถให้การคุ้มครองผู้ฝากรายย่อยได้เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็น 98.09%ของผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองทั้งระบบ
นายทรงพล กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและเงินฝากในบัญชีนั้นคือ
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐที่มีอัตราสูงถึง 5% เทียบกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ที่2% ทำให้มีผู้ฝากเงินจำนวนหนึ่ง ถอนเงินฝากที่เป็นเงินบาท แล้วนำไปแลกเป็นดอลลาร์สหรัฐ นำไปฝากในบัญชีเงินฝากต่างประเทศ foreign deposit
อย่างไรก็ตาม ผู้ฝากในบัญชีเงินตราต่างประเทศจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และต้องรองรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย แม้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าก็ตาม