ChatGPT กับกระแสHealthTech ในธุรกิจบริการ

28 เม.ย. 2566 | 03:29 น.

สนค.จับกระแสHealthTech ชี้มูลค่าของเทคโนโลยี AI ในตลาดธุรกิจสุขภาพทั่วโลกสูงกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แนะChatGPT เป็นระบบที่น่าสนใจในการขยายการ บริการและสร้างมูลค่า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์ธุรกิจ HealthTech พบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจด้านสุขภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าให้ได้รับการบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลจาก statista.com ระบุว่า ในปี 2564 เทคโนโลยี AI

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

ในตลาดธุรกิจด้านสุขภาพทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยี AI ในตลาดดังกล่าว จะมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 1.88 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2565-2573 อยู่ที่ 37% ต่อปี

 

ChatGPT กับกระแสHealthTech ในธุรกิจบริการ

 ในส่วนของไทย ก็มีความก้าวหน้าในการนำ AI มาใช้ในธุรกิจด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น ซอฟต์แวร์ AI เพื่อคัดกรองมะเร็ง ‘Chest 4 All’ โดยความร่วมมือของ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันทรวงอก โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และหุ่นยนต์ลำเลียงยาอัตโนมัติ ‘B-Hive 1’ ที่โรงพยาบาลศิริราช นำมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของเภสัชกร เป็นต้น

ChatGPT กับกระแสHealthTech ในธุรกิจบริการ

“โปรแกรม ‘ChatGPT (Generative Pretrained Transformer)’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI Chatbot ที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน ซึ่งเดิมมีการใช้ AI Chatbot ที่ใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อการวินิจฉัยโรค การคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นอยู่บ้างแล้ว แต่การพัฒนาของ ChatGPT ที่เหนือกว่าโปรแกรม Chatbot ทั่วไปด้วยมีการประมวลผลทางสถิติและความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นความสามารถของอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data”

ChatGPT กับกระแสHealthTech ในธุรกิจบริการ

 อีกทั้งสามารถตอบคำถามในรูปแบบข้อความเสมือนมนุษย์ จึงเป็นจุดเด่นทำให้ ChatGPT แตกต่างจากโปรแกรม Chatbot อื่น ๆ นอกจากนี้ มีงานศึกษาวิจัยของ Tbilisi State Medical University ที่สนับสนุนถึงโอกาสและแนวทางการพัฒนา ChatGPT มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและต่อยอดการให้บริการในธุรกิจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแพทย์ทางไกล การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยในการเข้ารับบริการ ช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยให้ผู้ประกอบการด้านธุรกิจสุขภาพสามารถดำเนินกิจการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน ChatGPT ได้มีการศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจบริการด้านสุขภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ธุรกิจบริการด้านสุขภาพลดต้นทุน ลดภาระงานของบุคลากร และเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ขยายฐานบริการและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้กับธุรกิจ รวมทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี ChatGPT ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนา ทำให้อาจยังมีข้อจำกัดในเชิงการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ต้องระมัดระวังความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าเชื่อถือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ

ChatGPT กับกระแสHealthTech ในธุรกิจบริการ

ทั้งนี้ ธุรกิจการให้บริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพของไทยมีศักยภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไทยเป็นอันดับ 5 จาก 195 ประเทศของดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index: GHS) ประจำปี 2564 (ล่าสุด) นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น“ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)ภายในปี 2569 ประกอบกับกระแสการดูแลรักษาสุขภาพที่สูงขึ้น และการเข้าสู่สังคมสูงวัย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ธุรกิจด้านการดูแลรักษาสุขภาพมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยยังมีข้อจำกัดทั้งด้านภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีปริมาณมาก การเข้าถึงและความครอบคลุมของบริการทางการแพทย์

ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีจะช่วยให้ธุรกิจด้านสุขภาพสามารถบริหารราคาค่าบริการที่ถูกลง ในอีกทางหนึ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีบริการทางการแพทย์ จะช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ เช่น เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์อัจฉริยะแบบสวมใส่ได้ (Smart Wearable Devices) ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ในการนี้ รัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริการดังกล่าว ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำไปใช้แพร่หลาย รวมถึงปรับปรุงมาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาทางไกล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยก็ต้องเร่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การให้บริการของธุรกิจ ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน