เอกชน ชู BCG ดันมันสำปะหลังอินทรีย์แข่งตลาดโลก

20 ก.พ. 2566 | 08:28 น.

เอกชน ชู BCG ขับเคลื่อนมันฯอินทรีย์แข่งตลาดโลก ปี66 คาดการณ์ผลผลิตมันฯไทยลดเหลือ 31.7 ล้านตันจาก34.98 ล้านตัน ชี้เกษตรกรต้องปรับตัวให้ทันเทรน์การการค้าโลก

นางสาว กัณฑ์พร กรรณสูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายความยั่งยืนองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE เปิดเผยว่ามันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศ ซึ่งไทยถือเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังที่ครองอันดับหนึ่งของโลกมายาวนาน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามันสำปะหลังของไทย ยังคงประสบปัญหาความไม่มีเสถียรภาพ ทั้งในด้านการขาดแคลนท่อนพันธุ์และคุณภาพของท่อนพันธุ์ รวมถึงวิธีการเพาะปลูกที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ

นางสาว กัณฑ์พร กรรณสูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)

ส่งผลให้มีผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างในช่วงนี้ที่เข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวของปี 2566 ซึ่งคาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังของไทยจะลดลงเหลือ 31.7 ล้านตัน จากคาดการณ์เดิม 34.98 ล้านตัน (ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ) อันเนื่องจากความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ความผันผวนของสภาพอากาศ รวมถึงโรคศัตรูพืชต่างๆ

 

เอกชน ชู BCG ดันมันสำปะหลังอินทรีย์แข่งตลาดโลก

ดังนั้นการขับเคลื่อนมันสำปะหลังไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก ควบคู่กับโมเดลทางเศรษฐกิจใหม่ BCG Model ที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ที่ในการต่อยอดไปสู่มันสำปะหลังอินทรีย์ที่มีการส่งเสริมกระบวนการปลูกที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมูลค่าและนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง สร้างระบบการผลิตที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการสร้างรายได้สูงให้เกษตรกร

เอกชน ชู BCG ดันมันสำปะหลังอินทรีย์แข่งตลาดโลก

 “หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมันสำปะหลังอินทรีย์ไทย ตามแผนเศรษฐกิจใหม่ BCG Model คือ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร และ UBEซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศ มุ่งมั่นผลักดันและส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ในพื้นที่อีสานตอนล่าง 2 มายาวนาน ตามหลักการ ตลาดนำการผลิต ที่สร้างรายได้ที่มากกว่าให้เกษตกร”

เอกชน ชู BCG ดันมันสำปะหลังอินทรีย์แข่งตลาดโลก

โดยที่ผ่านมาบริษัททำ Contract Farming กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยมุ่งเป้าสำคัญคือการต่อยอดทั้งในด้านการขยายพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสำปะหลังอินทรีย์จาก 10,000 ไร่ เป็น 30,000 ไร่ การเดินหน้าบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐ ทั้งในองค์ความรู้ในการเพาะปลูก การใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาช่วยลดต้นทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับหลักการตลาดนำการผลิต และเป็นการยกระดับการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์อย่างยั่งยืนให้เกษตรกร

  เอกชน ชู BCG ดันมันสำปะหลังอินทรีย์แข่งตลาดโลก

ด้าน นางโสภิตา สมคิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิชากาสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี  กล่าว การรักษาความแข็งแกร่งในการเป็นฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของประเทศ จำเป็นจะต้องช่วยกันนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มาถอดบทเรียนและร่วมกันวางแนวทางที่เหมาะสม เนื่องจากในอนาคตข้างหน้า สถานการณ์ภาวะโลกร้อน และสภาพอากาศแปรปรวนจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันเตรียมความพร้อมให้เกษตรกร ในการรับมือเพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว

ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมเพื่อการควบคุมมาตรฐาน การเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่สดใหม่จากต้นที่สมบูรณ์ การปลูกในระยะห่างที่เหมาะสม มีการดูแลรักษาและการกำจัดศัตรูพืช และเก็บเกี่ยวในช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุด คือ 10-12 เดือน เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ขณะเดียวกัน เกษตรกรควรมีความรู้ในการเก็บรักษาท่อนพันธุ์ เพื่อให้มีท่อนพันธุ์ที่สะอาดปลอดโรคใบด่างมันสําปะหลัง มีคุณภาพ และมีจำนวนเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป