วาเลนไทน์ ปีนี้สุดคึกคัก เงินสะพัดเกือบ 2.4 พันล้าน ขยายตัวในรอบ 5 ปี

07 ก.พ. 2566 | 06:09 น.

วาเลนไทน์ ปีนี้สุดคึกคัก เงินสะพัดเกือบ 2,400 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 15.50% เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปี 

โดยความคิดเห็นจาก 1,255 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่าส่วนใหญ่ คนกลุ่ม Gen Z ช่วงอายุ 13-23 ปี จะให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากที่สุด ซึ่งการใช้จ่ายเพื่อฉลองวันวาเลนไทน์ จะเน้นไปที่การซื้อของขวัญสำหรับมอบให้คนรักเฉลี่ยที่ 1,100 บาทต่อคน และมีการทานข้าวนอกบ้าน/ ซื้อดอกไม้/ ไปดูหนัง และไปบ้านแฟน ที่มีมูลค่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยรวมคาดว่า จะใช้จ่าย คนละ 1,848 บาท จากปีที่แล้วใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1,176 บาท เพราะราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น ตามค่าครองชีพ ส่งผลให้จะมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงวันวาเลนไทน์ ปีนี้ 2,389 ล้านบาท  ขยายตัว 15.50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในปี 2562 จากสงครามการค้า ต่อเนื่องด้วยโควิด-19

วาเลนไทน์ ปีนี้สุดคึกคัก เงินสะพัดเกือบ 2.4 พันล้าน ขยายตัวในรอบ 5 ปี

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า วันวาเลนไทน์ปีนี้ ถือว่าค่อนข้างคึกคัก แม้คนยังระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และในเดือนมกราคม มีเทศกาลเฉลิมฉลองติดกันต่อเนื่อง ทั้งปีใหม่ และตรุษจีน แต่เชื่อว่าปีหน้า วันวาเลนไทน์ จะคึกคักมากกว่าปีนี้ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวต่อเนื่อง

เห็นได้ชัดจากตัวเลขเงินเฟ้อ ล่าสุดในเดือนมกราคม 2566 ที่สูงขึ้น 5.02% ชี้ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายมากขึ้น และผู้ผลิต เริ่มผลักราคาสินค้าที่จำเป็นไปให้ผู้บริโภค สะท้อนว่าระบบเศรษฐกิจมีกำลังซื้อมากขึ้น ดังนั้น เชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จำเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสะกัดเงินเฟ้อ ในช่วงกลางปี หรือ ประมาณไตรมาสที่ 2 และช่วงครึ่งปีหลังอีกครั้ง โดยรวมปรับขึ้นเป็น 2% รวมกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้ามามากขึ้น และมีเม็ดเงินจากการเลือกตั้ง เข้ามาเพิ่มในระบบเศรษฐกิจอีก ในไตรมาสที่ 2  ทำให้เศรษฐกิจในปีนี้จะโตได้ 3.5-4% ตามที่คาดการณ์ไว้

โดยส่วนใหญ่พบว่า คนกลุ่ม Gen Z ช่วงอายุ 13-23 ปี จะให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากที่สุด ซึ่งการใช้จ่ายเพื่อฉลองวันวาเลนไทน์ จะเน้นไปที่การซื้อของขวัญสำหรับมอบให้คนรักเฉลี่ยที่ 1,100 บาทต่อคน และมีการทานข้าวนอกบ้าน ซื้อดอกไม้ ไปดูหนัง และไปบ้านแฟน ที่มีมูลค่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยคาดว่า จะใช้จ่าย คนละ 1,848 บาท จากปีที่แล้วใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1,176 บาท เพราะราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น ตามค่าครองชีพ ส่งผลให้จะมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงวันวาเลนไทน์ ปีนี้ 2,389 ล้านบาท ขยายตัว 15.50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในปี 2562 จากสงครามการค้า ต่อเนื่องด้วยโควิด-19 

ส่วนการหาเสียงเพื่อเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีเพิ่มมากขึ้นนั้น นโยบายต่างๆที่จะต้องทำให้ประชาชนชื่นชอบ หลายพรรคเริ่มออก ไม่ว่าจะเป็น นโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างภาษีในเชิงงบประมาณ ที่อาจจะทำให้รายรับของประเทศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การหาเสียง ควรจะให้แต่ละพรรค ชี้แจงที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ มีภาระผูกพันมากน้อยแค่ไหน และมีความคุ้มค่ากับระบบเศรษฐกิจในแง่ที่จะได้เงินภาษีกลับมา ทำให้คนไทยมีความมั่งคั่งขึ้น เช่น การแจกเงิน แล้วจะได้เงินคืนจากไหน หรือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วจะได้อะไรคืน

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยบกับ คำพูดที่ว่า “การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในปัจจุบัน” ส่วนใหญ่ 42.1% มองเป็นเรื่องธรรมดา โดยสถานที่ที่วัยรุ่นอาจจะมีการฉลองวาเลนไทน์โดยการมีเพศสัมพันธ์นั้น กลุ่ม Gen Y อายุ 24 - 43 ปีส่วนใหญ่ ไปที่โรงแรม-มาดรูด ส่วน Gen X  (อายุ 44-58 ปี) และ Gen Z ส่วนใหญ่ไปที่หอพักอพาร์ตเมนต์ ซึ่งความกังวลต่อปัญหาเด็กและเยาวชน ยังคงเป็นเรื่องยาเสพติด  พ่อ-แม่ไม่มีวุฒิภาวะในการเลี้ยงดู และการคลอดแล้วทิ้ง