คลัง คาดการณ์จีดีพี ปี 66 ที่ 3.8% นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 20 ล้านคน

14 ธ.ค. 2565 | 05:13 น.

คลัง คาดการณ์จีดีพี ปี 66 ที่ 3.8% ภาคท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจไทย มั่นใจปีหน้านักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 2 เท่าหรือ 20.1 ล้านคน ด้าน WORLD BANK ชี้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีความสามารถในการฟื้นตัวการเพิ่มนโยบายการคลังเป็นสิ่งที่ต้องทำ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง เปิดเผยในงานThailand Economic Monitor ในหัวข้อ Building an Inclusive Recovery  ว่าประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกมีการรับมือผลกระทบกับโควิด-19 ซึ่งรวมไปถึงภูมิศาสตร์ทางการเงินที่กระทบไปทั่วโลกและกำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นนโนยบายต่างๆที่จำเป็นภาครัฐและเอกชนจะร่วมกันผลักดันเศรษฐกิจไทยในปีหน้า โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปีนี้ถือว่าฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ที่ 4.5%  

แม้ว่าจะช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคแต่ก็สะท้อนความสามารถในการรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งการที่จีดีพีไตรทมาส3ขยายตัวดีเกินคาดมาตจากปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวและการเดินทางเข้ามาของนัดท่องเที่ยวที่คาดว่าน่าจะทะลุ10ล้านคนในปีนี้และเพิ่มเป็น2เท่าในปีหน้า ดังนั้นทั้งปีนี้จีดีพีไทยอยู่ที่3-3.4%ก็น่าพอใจและคาดว่าปี2566 จีดีพีไทยน่าจะอยู่ที่3.8% จากปัจจัยนักท่องเที่ยวที่เข้ามามากขึ้นซึ่งปี2566 น่าจะเพิ่มเป็น21.5นคนจากปีนี้ที่10ล้านคน

“จังหวัดท่องเที่ยวใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็น เชียงใหม่ สมุย ภูเก็ตต่างเป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ อย่างเชียงใหม่ ที่ตอนนี้การจารจรเริ่มติดขัดเพราะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาตินิยมเดินทางไปเที่ยว  ดังนั้นภาครัฐจะดูว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไร ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังแข็งแรง”

อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี66 คาดว่าจะยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งถือว่าเป็นบททดสอบความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย

ด้านนายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จักการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าวว่า รายงายของWORLD BANK   ระบุว่า เศรษฐกิจไทยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส3 ของปีนี้ขยายตัวเร่งขึ้นถึง4.5% มีปัจจัยมาจากการบริโภคของภาคเอกชนที่ฟื้นตัว การไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวเฉพาะในเดือนกันยายนมีนักท่องเที่ยว กลับมาถึง45%แซงหน้าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ รวมถึงรัฐบาลมีมาตรการของภาครัฐเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านค่าครองชีพ

ปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการขยายตัวของการส่งออกที่ชะลอตัวลงซึ่งถือว่ายังใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆในอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก  ทั้งนี้คาดว่าส่งออกไทยในปีหน้าจะหดตัวลง2.1%เป็นการลดลงอย่างมากจากการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่8.1%ในยปีนี้ ซึ่งการลดลงของการส่งออกไทยแสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ลดลงของประเทศคู่ค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็น จีน ยูโรโซน และสหรัฐ เป็นต้น

“ไทยกำลังเข้าสู่เส้นทางของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดของโควิด-19 การเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับผลกระทบด้านลบอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ”