MI เตือนมาร์เก็ตเตอร์ไม่จำเป็นต้องลอง “ Metaverse ”

23 ก.พ. 2565 | 10:26 น.

MI Group คาดการณ์อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี65 โต12% หลังผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตเกือบปกติ แบรนด์เร่งอัดงบแย่งชิงกำลังซื้อที่เปราะบางเพื่อดันยอดขายเป็นหลัก เตือนมาร์เก็ตเตอร์แม้ Metaverseจะมาแรง แต่ไม่ต้องเป็นต้องโดดลงไปลองทุกแบรนด์ เพราะงบประมาณยังจำกัด

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ จำกัด คาดการณ์ว่าเม็ดเงินสื่อโฆษณาปีนี้มีโอกาสเติบโตถึง 12% หรือ 84,000 ล้านบาท จาก 75,000 ล้านบาท ในปี2021 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่แต่สบายใจที่จะออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้นหลังจากอัดอั้นมากว่า 2 ปี ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆจำเป็นต้องกระตุ้นตลาด เพื่อแย่งชิงเม็ดเงิน กำลังซื้อที่มีอยู่อย่างจำกัดของผู้บริโภคส่วนใหญ่  ในขณะที่นีลเส็นคาดการณ์ว่าเม็ดเงินสื่อโฆษณาปีนี้มีโอกาสเติบโตเพียง 5%

 

โดยอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าและบริการที่น่าจะคึกคักเป็นพิเศษในปีนี้มี 8 อุตสาหกรรมคือ 1รถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) จะะใช้เงินโฆษณามากที่สุด  โดยมี infrastructure เป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ EV เติบโตขึ้นเร็วหรือช้า แต่ภาพรวมผู้ประกอบการรถยนต์ทุกรายลงมาเล่นในตลาดนี้

 

2  รถจักรยานยนต์ ซึ่งใช้ม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะหลายธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการต่อ ขณะที่แรงงานบางส่วนกลับภูมิลำเนา รถจักรยานยนต์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินชีวิตในสภาพเศรษฐกิจที่ยังซบเซาอยู่

3ธุรกิจและบริการที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ เช่น E-Market Place, Delivery Service, Health & Hygienic Care ที่กลายเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติไปแล้ว

4 เครื่องดื่ม Non-alcohol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Functional Drinks/ Healthy Drinks และ Innovative Drinks หรือเครื่องดื่มนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เครื่องดื่มกัญชา เป็นต้น

5ธุรกิจที่เกี่ยวกับความงามและสุขภาพ  เมื่อการออกไปใช้ชีวิตเริ่มกลับมาปกติมากขึ้น เรื่องความสวยความงามที่เคยละเลยและมองข้ามไปได้บ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กลับต้องมาดูแลและใส่ใจมากขึ้น จะมีความคึกคักมากขึ้น

6 สินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล ช่วงการระบาดโควิด คนตกงานเยอะ และมีผู้เล่นใหม่ๆเข้ามาให้บริการสินเชื่อบุคคลมากขึ้น ขณะที่สินเชื่อเล็กทรอนิกส์มีการแนะนำสู่ตลาดแล้ว แต่ผู้ใช้ยังคงจำกัดแคบอยู่

7 ทางเลือกการลงทุน การเก็งกำไรในรูปแบบใหม่  แพลตฟอร์มเทรดเหรียญคริปโต, ระบบเครือข่ายและตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ (Drop ship) จะเห็การโฆษณาชักชวนคนนี้ไม่มีรายได้มาเป็นตัวแทนจำหน่ายออนไลน์มากขึ้น

8 กลุ่มสินค้าและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกไปใช้ชีวิต เช่น ร้านอาหารที่ลดระยะห่างลง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารูปร่างคนเปลี่ยนจากการอยู่บ้านจึงมีความต้องการรีเฟรซตัวเอง หาซื้อเครื่องใหม่ๆในยุคที่เราต้องออกจากบ้านมากขึ้น

 

ในขณะที่การสื่อสารการตลาด จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องโดยในปีนี้จะเห็นภาพชัดเจนในหลายประเด็น โดย สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ยังคงความเป็นสื่อหลักอันดับหนึ่ง แต่จะมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณาลดลงไปต่ำกว่า 50% เป็นปีแรก หรือมูลค่ารวมประมาณ 40,000 ล้านบาท  จากสัดส่วนที่เคยถือครอง 70%

 

ส่วนสื่อดิจิทัล และสื่อนอกบ้านจะมีสัดส่วนที่โตขึ้น คือ 32% และ 13% ตามลำดับ โดยเฉพาะสื่อนอกบ้าน ที่หดตัวลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากวิกฤต   Covid-19 โดยเม็ดเงินรวมของ 2 สื่อหลักนี้สูงกว่า 38,000 ล้านบาท สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล (Online) ที่เติบโตสูงอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และในปี 2022 นี้ ทาง MI Group ยังคาดการณ์เติบโตต่อเนื่องอีก 16% หรืออยู่ที่ 27,000 บาท โดย KOLs (Influencers) จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเม็ดเงินโฆษณาสื่อดิจิทัล KOLs กลุ่มใหม่ที่มาแรงคือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การลงทุนและเก็งกำไรในรูปแบบใหม่ หรือที่เริ่มเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า FIN-fluencers (ซึ่งมาจาก Finance + Influencers) จากอิทธิพลและกระแสความสนใจในเรื่องการลงทุนในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ อาทิ การเทรดเหรียญคริปโต,  การเทรดหุ้น SET, NFT

 

โดยช่วง มีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงที่เม็ดเงินโฆษณาจะสูงขึ้นกว่า +10% หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท จาก 19,766 ล้านบาท เป็น 21,759 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตามนักการตลาดควรให้ความสำคัญกับ Performance Media การตลาด ที่ต้องวัดผลประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน (เช่น ปฏิกิริยาของกลุ่มเป้าหมายต่อแบรนด์, ยอดขาย เป็นต้น) ทั้ง Social Media และสื่อดั้งเดิมอย่าง TV หรือ Out of เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย

รวมทั้ง จัดเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาและโอกาส เพื่อใช้กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 

และสิ่งสำคัญคือ ติดตามและศึกษาวิเคราะห์กระแสความนิยมในเรื่องใหม่ๆอย่าง Metaverse/ Cryptocurrency/ NFT แต่ไม่จำเป็นต้องคว้าทุกโอกาส หรือขี่ทุกกระแส เพราะนั่นอาจทำให้เราต้องเสียทรัพยากรไปโดยไม่ได้ประโยชน์ใดๆกลับมา ยกตัวอย่าง Metaverse ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ เกมเมอร์คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วจากประสบการณ์การเล่นเกมส์ในโลกเสมือน แต่กลับร้อนแรงและถูกพูดถึงในวงกว้างหลังจาก Mark Zuckerberg ออกมาประกาศวิชั่นและเปลี่ยนชื่อองค์กรจาก Facebook เป็น Meta ซึ่งหากศึกษาอย่างละเอียด Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมากๆ (Metaverse  is still in its infancy) ยังคงต้องติดตามทิศทางที่ชัดเจนขึ้นและการพัฒนา Technology & Infrastructure ถึงจะสรุปได้ว่าธุรกิจหรือบริการของเราจะสร้างโอกาสและยั่นยืนในระบบนิเวศใหม่นี้หรือไม่อย่างไร แต่ถ้าต้องการเพียงแต่ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้ ในการสร้างสีสันให้กับธุรกิจหรือแบรนด์ของเรา ก็น่าจะทำได้หากมีไอเดียที่น่าสนใจ โดยพิจารณาจากทรัพยากรที่ลงทุนไปและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับว่าคุ้มหรือไม่

 

“  คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นแม้จะไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิมแต่มาร์เก็ตเตอร์จำเป็นต้องแย่งชิงทั้งในแง่ของแบรนด์ดิ้ง ช่องทาง อแวเนสต่างๆในการซื้อขาย การใช้งบโฆษณาปีนี้จะถูกใช้เพื่อดันยอดขายเป็นหลัก และต้องการให้แบรนด์เป็นแบรนด์เลิฟ อิมเมจหรือภาพลักษณ์ความเป็นคนดีในสายตาผู้บริโภค ที่ผ่านมาเพราะเป็นองค์ประกอบความแข็งแรงของแบรนด์ที่จะสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจ

 

แต่ต้องยอมรับว่าปีนี้การทำธุรกิจ โจทย์หลักคือทำยอดขายเพราะว่าเป็นเรื่องของยอด เรื่องของรายได้เป็นหลักแน่นอน จะเห็นได้ว่ามีโปรโมชั่นออกมาเต็มไปหมด และต้องปิดยอดขายในเวลาสั้นที่สุดจากการโฆษณาครั้งเดียว งบมาร์เก็ตติ้งของลูกค้าเฉลี่ยใช้มากว่าปี2020-2021แน่นอน เพราะกิจกรรมการตลาดหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไม่เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา แต่พอมีเรื่องโอมิครอนเข้ามาอาจทำให้หลายๆคนยังชะลอการใช้เงินอยู่”