พริ้นซิเพิล แคปิตอล ดึง5G เซ็ทระบบแพทย์ทางการไกล ปลดล็อคบริการHealth care

02 ธ.ค. 2564 | 09:05 น.

พริ้นซิเพิล แคปิตอล เชื่อ 5G เป็นแรงหนุนอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ช่วยคนไข้พื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านเทเลเมดิซีน เตรียมส่ง ตู้ "หมอในบ้าน" ลงพื้นที่ชุมชน เปิดทางแพทย์วินิจฉัยโรคและจ่ายยาพื้นฐาน24 ชม.

ดร.สาธิต วิทยาการ กรรมการผู้จัดการ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล เปิดเผยผ่านงาน 5G Thailand Big move ว่า 5G เป็นก้าวกระโดดที่สำคัญโรงพยาบาล ซึ่งในอดีตการตั้งโรงพยาบาลจะต้องมีการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค มีห้อง data และserver ต่างๆ แต่เมื่อมี 5G การเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆสามารถทำได้รวดเร็วผ่านเครื่องมือที่สดวกเช่น I PAD หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นเชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยในเรื่องของ health care ได้อย่างมาก ในอนาคตอันใกล้ server หรือPC ต่างๆจะหมดยุคไปอย่างรวดเร็ว และดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วเช่นกัน

 

ในส่วนของ พริ้นซิเพิล แคปิตอล ปัจุบันได้ใช้5G ในการสร้างเครือข่ายเฮลท์แคร์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องใน 12 โรงพยาบาล 16 คลินิก และตั้งเป้าขยายเป็น 20 โรงพยาบาล 100 คลินิก โดยมี 5G มาเป็น pilot project เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและความปลอดภัยของทุกชีวิต

"เราเป็นเครือข่ายโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นการเขื่อมต่อกันระหว่างโรงพยาบาลและคลินิก หรือระหว่างคนไข้และหมอ 5Gจะช่วย support ตรงนี้ได้อย่างมาก รวมทั้งทำให้หมอและคนไข้สามารถเจอกันผ่านหน้าจอโดยคนไข้ไม่ต้องเดินทางมาที่รพ.

 

นอกจากนี้เรายังสามารถพาหมอไปหาคนไข้ในชุมชน หรือพื้นที่ห่างไกลผ่านเครือข่าย5G แม้แต่การเปิดโรงพยาบาลที่สามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นชายแดนหรือในเมือง แค่เราขอตั้งเสาสัญญาณ5Gเพียงอย่างเดียว บวกกับเครื่องมือสื่อสารเช่นIpadหรือโทรศัพท์ เราสามารถตั้งโรงพยาบาลได้ภายใน 1 สัปดาห์ ดังนั้น5Gจะทำให้เฮลท์แคร์สามารถกระจายไปยังพื้นที่ที่ขาดแคลนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับเม็ดเงินลงทุนที่ลดลง"

ในช่วงการระบาดของโควิดครั้งใหญ่ที่ผ่านมา พริ้นซิเพิล แคปิตอล ได้ขยายเตียงรับคนไข้จาก50 เตียงเป็น2000เตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด ซึ่งส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ พริ้นซิเพิล แคปิตอล จึงนำ 5Gเข้ามาช่วยให้บุคลากรทางแพทย์ในเครือข่ายของโรงพยาบาลจากทั่วประเทศเข้ามาช่วยดูแลคนไข้ผ่านเทเลเมดิซีน ทำให้สามารถรองรับและให้การรักษาคนไข้โควิดได้อย่างทันท่วงที

 

 

หรือในระบบรถฉุกเฉิน แพทย์สามารถดูแล วินิจฉัยและให้การรักษาเบื้องต้นให้คนไข้ตั้งแต่อยู่บนรถฉุกเฉินได้ทันที ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น 

 

 

นอกจากนี้ พริ้นซิเพิล แคปิตอล ยังเปิดตัวคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจ กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ปัจุบันมี16 สาขาในกรุงเทพฯและตั้งเป้าขยาย100 สาขาในปี2565 และจะกระจายไปยังต่างจังหวัด ซึ่งการเข้ามาของ 5G ทำให้การขยายคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจ สามารถให้บริการทางการแพทย์ได้เหมือนโรงพยาบาลในเวลาที่รวดเร็ว

 

"พริ้นซิเพิล แคปิตอล มีนโยบายนำบริการทางการแพทย์เข้าถึงชุมชนได้มากที่สุด การสร้างโรงพยาบาลไม่สามารถลงไปถึงชุมชนได้และต้องใช้งบลงทุนอย่างน้อย300-500ล้านบาท แต่ระยะหลังเราตั้งเป็นคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจตามอำเภอต่างๆ นอกจากนี้เรายังทำโปรเจค หมอในบ้าน โดยนำIoT เข้ามาช่วย โดยเราสร้างตู้ วินิจฉัยและจ่ายยา และนำไปตั้งในชุมชน นิคมอุตสาหกรรมคอนโดและพื้นที่ห่างไกล ทำให้คนไข้กับหมอสามารถคุยกันได้ผ่านจอและมียาเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมสามารถสั่งให้คนไข้ได้ทันที

 

การทำธุรกิจโรงพยาบาลไม่ใช่แค่เรื่องเงินลงทุน-กำไรแต่เราต้องดูว่าเราจะเซฟชีวิตคนไข้ได้มากแค่ไหน 5G มันจะช่วยเซฟชีวิตของผู้ป่วยได้เร็วขึ้น ตอนนี้เรายังอยู่ในยุคเริ่มต้นของการใช้5G ซึ่ง supply chain ของ 5Gจะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว"