สยาม คานาเดี่ยน รุก plant-based เพิ่มพร์อต ฟู้ดดีฮับ

25 พ.ค. 2564 | 07:22 น.

สยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ป เปิดตัวฟู้ดดีฮับ เพิ่มไลน์สินค้า Frozen plant-based food พร้อมปูพรมทุกอีมาร์เกตเพลสชั้นนำ เจาะกลุ่ม B2C

นายชัยพัฒน์ คุณาภิวัฒน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทย ฟู้ดดีฮับ (FoodDeeHub)  ภายใต้กลุ่มบริษัท สยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ป จำกัด  ผู้นำเข้าและส่งออกอาหารแช่แข็งระดับพรีเมี่ยมเปิดเผยว่า จากวิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากอดีตค่อนข้างมาก การดำเนินชีวิตมีความเร่งรีบ เน้นความสะดวก รวดเร็ว นิยมซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น  และนิยมปรุงอาหารรับประทานเองมากขึ้น  

ดังนั้นการเลือกซื้ออาหารพร้อมรับประทาน  อาหารแช่แข็ง จึงเป็นตัวเลือกสำคัญที่เข้าตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่ (New normal lifestyle) ของคนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  เนื่องจากว่าผู้บริโภคสามารถซื้อเก็บไว้ได้นาน อายุการเก็บรักษา (Shelf life) 1 ถึง 2 ปี  และช่วยลดความเสี่ยงจากการไปซื้อของตามตลาด หรือห้างร้านที่แออัดได้  อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตอาหารในปัจจุบัน ทำให้อาหารแช่แข็งนอกจากจะเก็บรักษาได้นานแล้ว ยังสามารถคงคุณภาพและสารอาหารได้ครบถ้วน รวมไปถึง Hygienic standard  

ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นสนับสนุนและเร่งให้อัตราการเติบโตของตลาดอาหารพร้อมรับประทานและอาหารพร้อมปรุงให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง  อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2563 แนวโน้มของกลุ่มอาหารพร้อมรับประทานและอาหารพร้อมปรุง  มีมูลค่าทางตลาดรวมประมาณ 21,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 3-5% ต่อปี 

ในส่วนของยอดขายเฉลี่ยของสยาม คานาเดี่ยน กรุ๊ปอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านเหรียญยูเอสดอลล่าร์ต่อปีในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนของประเทศไทย สยาม คานาเดี่ยนไม่ได้ทำเฉพาะตลาดส่งออกอย่างเดียว แต่มีการทำตลาด B2B ในประเทศด้วย โดยในปีที่ผ่านมามียอดขายรวม 420 ล้านบาท จาก 3 ธุรกิจหลัก คือ การส่งออก, การนำเข้าวัตถุดิบ และการกระจายสินค้าสู่ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศหรือโลคอลดิสทริบิวชั่น (local distribution) โดยส่วนนี้มีฐานลูกค้าหลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1.โรงงานผลิตอาหาร (food processors) 2. ผู้ประกอบการค้าปลีก (retailers) และ 3. ฟู้ดเซอร์วิส (food services) ซึ่งส่วนยอดขายของฟู้ดเซอร์วิสในปีนี้ อาจจะลดลงถึง 40% (จากสัดส่วน 30% ของ local distribution)​ เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิดในไทย อย่างไรก็ตามบริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้รวมประมาณ 380-420 ล้านบาทซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

และคาดว่าในปี2564 บริษัทจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติโควิด ซึ่งจะส่งผลให้ยอดขายลดลง40-55% ใกล้เคียงปีที่ผ่านมาหรือราวๆ 380-420 ล้านบาท

ล่าสุดได้ เปิดตัว ฟู้ดดีฮับ ศูนย์รวมการจำหน่ายอาหารแช่แข็งระดับพรีเมี่ยมบนอีคอมเมิร์ซ ด้วยเป้าหมายผลักดันให้ ฟู้ดดีฮับ กลายเป็นออนอนไลน์ฮับสำหรับจัดจำหน่ายอาหารแช่แข็งคุณภาพที่สะอาดปลอดภัยได้มาตราฐาน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคยุคสังคมเร่งรับ และยุคนิวนอร์มอล

โดยผ่านช่องทางจัดจำหน่ายของผู้ประกอบการอีมาร์เกตแพลส Lazada ,Shopee ในปัจจุบันและเตียมจำหน่ายผ่าน JD Central เพิ่มเติมในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาช่องทางขายของตนเองผ่านโซเชี่ยลมีเดียเฟสบุ๊กแฟนเพจของฟู้ดดีฮับและเว็บไซต์ฟู้ดดีฮับเร็วๆนี้ด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้จะมีกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานภายใต้แบรนด์สินค้าของเราเอง  ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม อาทิ  อาหารทะเลสดแช่แข็ง, เบเกอรี่แช่แข็ง ,อาหารทานเล่น,เนื้อสัตว์ยอดนิยม และอาหารทะเลกับเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช (Frozen plant-based food)  

ซึ่งหลายๆคนคงจะคุ้นเคยกับสินค้า plant-based ในระดับหนึ่ง และมีมูลค่าตลาดโดยรวมทั่วโลกอย่างน้อย 6.2แสนล้านบาทเติบโตเฉลี่ย 12 -14% ไปจนถึงปีพศ.  2570 เป็นอย่างต่ำ สำหรับประเทศไทยตลาด plant-based  ยังอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างใหม่ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมีการตื่นตัวของสินค้า plant-based  อย่างเห็นได้ชัด ร้านอาหารต่างๆเริ่มเพิ่มเมนู plant-based ให้ลูกค้าได้เลือกเยอะขึ้น ปัจจุบันตลาด  plant-based  เมืองไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาทแต่ในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดการณ์กันว่าการเติบโตจะไปไกลถึง 45,000 ล้านบาท เติบโต 60%

บ่งชี้ว่าตลาด  plant-based  อยู่ในช่วงขาขึ้นแน่นอน และปัจจัยที่ทำให้สินค้า plant-based  ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หนีไม่พ้นเทรนด์ของการรักสุขภาพผู้คนที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นรวมทั้งประชาการวีแกนที่นับวันยิ่งเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

“เราอยากจะเป็น E-supplier ของสินค้าประเภท  plant-based  ทั้งในส่วนโอเรียนทอล ไฟน์ที่เหมาะกับคนเอเชีย และที่เป็นเวสเทิร์น ไฟน์ โดยเราจะพยายามไม่เน้นตลาดในประเทศอย่างเดียว แต่จะพยายามโฟกัสในตลาดส่งออกภายใต้แบรนด์Meatooของเราด้วย”

ส่วนของ plant-based  มีสินค้า 2 ประเภทคือ อาหารพร้อมปรุง (Ready to Cook) 5 รายการ  ดังนี้ หมูกรอบ (ไร้หมู)  ซี่โครงหมู (ไร้หมู) ปลาเค็ม (ไร้ปลา) ทอดมันปลา (ไร้ปลา) ลูกชิ้นกุ้ง (ไร้กุ้ง) 

และสินค้าพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) อาทิ เมนูข้าวกะเพราหมู (ไร้หมู) และ กะเพราไก่ (ไร้ไก่) ไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งมีแผนวางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคมนี้ 

โดยสินค้ากลุ่มนี้ เนื้อทำมาจากพืชนี้ล้วนๆ ภายใต้แบรนด์ Meatoo ซึ่งเน้นการพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารวิถียั่งยืนและส่งเสริมสุขภาพที่ดีด้วยโปรตีนจากพืชให้ทานอร่อยและทานง่าย  

“ต้องยอมรับว่าสินค้า  plant-based  ราคาไม่ถูกเพราะเป็นเรื่องของฟู้ดเทค ซึ่งจะต้องมีการ invest ตัว R&D มากพอสมควรสำหรับผู้ผลิต และด้วยความที่ตลาดค่อนข้างใหม่สำหรับเมืองไทย ผู้บริโภคหลายคนก็ยังคุ้นชินกับการรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ด้วยความที่  plant-based   เป็น mega trend เมื่อการรักสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ และคนที่หันมาเป็นVegan เยอะมากขึ้น ตลาด  plant-based ในบ้านเรายังไงก็น่าจะโต แต่เราต้องมาดูอีกทีว่าอัตราการโตจะสู้ตลาดประเทศตะวันตกได้หรือเปล่า”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :