เพิ่ม thansettakij
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมฉลองปีที่ 60 ด้วยการยังคงรักษาสถานภาพการเป็นสถาบันเฉพาะทางด้านการบินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ยกระดับมาตรฐานของการฝึกอบรมไปสู่สมาชิกระดับ Regional Centres of Excellence (RTCE) โครงการ ICAO TRAINAIR PLUS โดยได้รับการรับรองสาขาความเชี่ยวชาญ ถึง 2 ด้าน ได้แก่ Air Navigation Services และ Flight Safety and Safety Management อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564
โครงการ ICAO TRAINIAIR PLUS เป็นโครงการส่งเสริมสมรรถนะในการพัฒนาบุคลากรด้านการบินที่ดำเนินการโดยหน่วยงาน Global Aviation Training (GAT) สังกัดภายใต้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) โดยสถาบันการบินพลเรือนได้เข้าร่วมโครงการ TRAINAIR PLUS ตั้งแต่ปี 2555 เริ่มจากการเป็นสมาชิกระดับ Associate Member และได้พิสูจน์สมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามมาตรฐานของ ICAO (Standardized Training Packages: STP) สำเร็จ และได้รับการเลื่อนระดับขึ้นเป็น Full member เมื่อปี 2558 และในปี 2561 สถาบันการบินพลเรือนเริ่มดำเนินแผนการยกระดับสมาชิกโครงการ TRAINAIR PLUS เป็นระดับ Regional Centres of Excellence (RTCE) ด้วยการพัฒนาคุณสมบัติของในหลายๆ ด้าน เช่น บุคลากรที่ทำหน้าที่นักพัฒนาหลักสูตรระดับปฏิบัติการและอาวุโส สร้างระบบการฝึกอบรมที่มีมาตรฐาน รวมถึงระบบประกันคุณภาพ ระบบนิรภัยการบิน ระบบการพัฒนาผู้สอน สื่อการสอน ระบบอำนวยความสะดวกสนับสนุนการฝึกอบรม อย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยกระดับให้เป็นสมาชิกระดับ Regional Training Centres of Excellence (RTCE) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 21 สมาชิกระดับ RTCE ทั่วโลก หรือเป็น 1 ใน 6 สถาบันฝึกอบรมด้านการบินจาก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่เป็นสมาชิกในระดับ RTCE ร่วมกับ ประเทศจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งการได้รับการรับรอ
ระดับ RTCE นี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมทั้งหมด 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
- ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากอุตสาหกรรมการบินของโลก ว่ารัฐบาลให้การสนับสนุนหน่วยงานอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย
- มีรายได้จากการที่ผู้เข้าอบรมใช้จ่ายส่วนตัวและท่องเที่ยวในประเทศต่อหลังจากการฝึกอบรม
2. ประโยชน์ต่อองค์กร
- มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมการบินของโลก
- มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายลิขสิทธิ์และการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระดับ ICAO ลิขสิทธิ์ของสถาบันการบินพลเรือน
- อาจารย์ของสถาบันการบินพลเรือน สามารถดำเนินการสอนให้กับสมาชิก TRAINAIR PLUS อื่นๆ ได้
- สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงด้วยต้นทุนที่ต่ำลงได้
3. ประโยชน์ต่อองค์กรด้านการบินอื่นๆ
- บุคลากรขององค์กรได้รับความรู้/ทักษะจากหลักสูตรและระบบการอบรมที่มีคุณภาพ
- บุคลากรได้รับการรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล
- ต้นทุนการฝึกอบรมบุคลากรต่ำ ประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการอบรมจากหลักสูตรของต่างประเทศหรือเดินทางไปอบรมที่ต่างประเทศ
4. ประโยชน์ต่อนักศึกษา/ผู้เข้าฝึกอบรม
- ได้รับความรู้/ทักษะจากหลักสูตรและระบบการอบรมที่มีคุณภาพ
- ได้รับการรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล
- ผู้เข้าอบรมและหน่วยงานด้านการบินสามารถเข้าถึงหลักสูตรฝึกอบรมด้วยต้นทุนต่ำ และใช้เวลาน้อยกว่าการอบรมจากหลักสูตรของต่างประเทศ
ความสำเร็จครั้งนี้ นับเป็นเรื่องน่ายินดีและนำความภาคภูมิใจมาสู่วงการการบินของประเทศไทยในฐานะที่เป็นสถาบันหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรการบินของประเทศที่มีมาตรฐานสากล สามารถผลิตบุคลากรการบินให้มีความชำนาญ เข้าไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นทางด้านการบินให้กับประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางในการผลิตบุคลากรด้านการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.เห็นชอบให้ “วิทยุการบิน” จัดการการจราจรทางอากาศแบบถาวร
พบ 44 ข้อบกพร่อง หลัง ICAO ประเมินไทย
"แอร์ไลน์โลก"ติดไข้โคโรนา 3เดือนสูญ 1.5 แสนล้าน