ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

28 ก.พ. 2563 | 13:05 น.

“ปราโมทย์” โวยร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว ถามชาวนาหรือยังเห็นดีด้วยหรือไม่ ส่งออกค้านหัวชนฝาชี้ทำได้รัฐต้องแปรสภาพโรงสี-ส่งออก เป็นลูกจ้าง ขณะที่หยงแฉไอ้โม่งทุบราคาข้าว

“ฐานเศรษฐกิจ” ยังเกาะติดร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. .... (นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย กับคณะผู้เสนอ) โดยเว็บไซต์รัฐสภากำลังเปิดให้รับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ต้องการแก้ปัญหาการถูกกดราคาหรือโดนเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มพ่อค้าคนกลาง ปัญหาการขาดตลาดรองรับสินค้าให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยได้จริงหรือไม่

 

++อย่าใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือ

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เมื่ออ่านร่างแล้ว ไม่แน่ใจว่าผู้ร่าง “ร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. ....” มีความรู้เรื่องข้าวจริงแค่ไหน มองดูว่าโรงสีกดขี่ข่มเหงชาวนาเอารัดเอาเปรียบแล้ว ต่อมาเกิดปัญหาโรงสีไม่รับซื้อข้าวอะไรจะเกิดขึ้นกับชาวนา คำนึงถึงตรงนี้บ้างหรือไม่

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

“ผมมองดูแล้วว่าผู้เสนอร่างฯ กับคณะทำงานทั้งหมดที่เสนอจะมาใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์กับชาวนาและโรงสีไม่ได้ เพราะโรงสีทำธุรกิจมีการลงทุนก็ต้องมีรายได้ ทำไมอยากจะมาทราบว่าโรงสีได้รายได้เท่าไร แล้วเอาชาวนามาเป็นเครื่องมือเป็นคนรับบาปแล้วถ้ากฎหมายออกมาโรงสีเลิกกิจการกันไปหมดรัฐบาลจะออกมารับซื้อหรือไม่”

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า ชาวนาขายข้าวให้โรงสีมาเป็นร้อยปีแล้วโรงสีก็นำข้าวแปรรูป ขายให้ส่งออก หรือไม่ส่งออกเอง แต่จะไปทำในลักษณะแบบชาวไร่อ้อยไม่ได้ ปัจจุบันมีโรงสีกว่า 2,000 โรง เลิกกิจการไปก็เป็นจำนวนมาก

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

“ผมอ่านแล้วเป็นร่างที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกข้าราชการมากกว่าแล้วใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือผมตั้งคำถามไปถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย กับคณะผู้เสนอร่างได้ถามผมหรือยัง ยิ่งอ่านไปลึกแล้วไม่ได้หวังดีกับชาวนาเลยกรรมก็จะตกกับชาวนาโดยตรง แล้วถ้ารัฐบาลทำอย่างนี้ผมค้านหัวชนฝาอยากให้เป็นวิถีทางธรรมชาติที่เคยปฎิบัติกันมา อย่าเอาชาวนาเป็นเครื่องต่อรอง”

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

 

++ยันทำเพื่อผลประโยชน์ของชาวนา

นายปราโมทย์ กล่าวว่า หากวันนี้โรงสีเลิกกิจการไป ผมก็เชื่อว่าก็ไปประกอบอาชีพอื่นได้ แล้วถ้าไม่ซื้อข้าวชาวนา ชาวนาจะเอาข้าวไปขายที่ไหนเมื่อผลผลิตออกมาจะเก็บไว้บริโภคเองหรือคงไม่ใช่ โดยหลักการทำงาน “ผมทำเพื่อผลประโยชน์ของชาวนา” แล้วถ้ากฎหมายนี้เกิดชาวนาเดือดร้อนกันทั้งประเทศเพราะแค่โรงสีรวมกันแล้วประกาศไม่ซื้อข้าวชาวนาก็แย่แล้ว

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

“ตั้งแต่ผมมานั่งบริหารสมาคมได้มีการคุยกับผู้ส่งออก โรงสี และพ่อค้า มีการทำงานแบบประสานงานกันตลอด แต่ยอมรับเมื่อเห็นร่าง พ.ร.บ.ฯ นี้เครียดมาก โดยเฉพาะพวกคณะทำงานฯ ตั้งขึ้นมา คุณไม่ได้ทำอะไรเลย แต่จะมาขอเอี่ยวแบ่งปันผลประโยชน์ด้วยใครจะให้ขอร้องอย่าใช้ชาวนาเป็นโล่หรือเครื่องมือหากินเลย”

 

++อย่าคิดเองเออเอง

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า คนร่างฯ ทราบหรือไม่ว่าค้าข้าวเป็นอย่างไร ชาวนามีกว่า 4 ล้านครัวเรือน โรงสีและลานข้าวรวมกันเป็นหมื่นโรง และผู้ส่งออกมีหลายร้อยโรง จะมาใช้กับน้ำตาลไม่ได้ เพราะอ้อยและน้ำตาลคุมมาตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งมีการกำหนดราคาในแต่ละปี หากปีไหนขาดทุนก็คำนวณกลับย้อนมา แต่ข้าวต่างคนต่างปลูก เกี่ยวก็ไม่พร้อมกัน แล้วจะไปตั้งต้นทุนที่ตรงไหน ราคาซื้อขายขึ้นลงทุกวันจะไปทำเหมือนหีบอ้อยได้อย่างไร

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

“การส่งออกก็แข่งขันกันไม่ใช่รัฐจะไปกำหนดราคาส่งออกแบบน้ำตาล สาเหตุที่ส่งออกน้ำตาลควบคุมได้เพราะมีแค่ 2 บริษัทก็สามารถควบคุมราคาได้ เมื่อมานั่งพิจารณาคนละอย่างแล้วจะมาใช้แบ่งปันผลประโยชน์ไม่ได้ ไม่ว่าร่างกฎหมายอะไรก็แล้วแต่ที่ออกมาล้วนแล้วแต่เห็นว่าชาวนาถูกเอาเปรียบ ซึ่งไม่ถูกต้องวันนี้ต้องมานั่งพิจารณากันใหม่ว่าไม่มีใครเอาเปรียบใคร ถ้าอย่างนั้นรัฐต้องลงมาทำเองแล้วจะทราบ”

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

นายเจริญ กล่าวว่า ก่อนที่จะร่างฯ ควรถามในวงการข้าวก่อน ไม่ใช่คิดเองเออเอง เพราะวงการค้าข้าวแข่งกันมาก จะแบ่งปันผลประโยชน์ตรงไหน หากเป็นอย่างนี้ยกให้รัฐทำไปเลยลงทุนเองแล้วให้ทุกคนเป็นลูกจ้างกันหมดถ้าอยากจะแบ่งปันผลประโยชน์ก็แบ่งกันได้ อยากจะแบ่งเท่าไรก็แบ่งได้เลย

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

นางสาวธันยนันท์ อริยขจรนนท์ นายกสมาคมค้าข้าวไทย (หยง) กล่าวว่า แค่อ่านร่างฯ หมวด 1 บททั่วไป ในมาตรา5 เพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศและคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

ตั้งคำถามว่าจริงหรือไม่ แล้วรูปภาพที่รถลำเลียงข้าวเข้ามาจากเพื่อนบ้าน จะใช้เรียกว่าลักลอบได้หรือไม่เป็นรถสิบล้อ แล้วเข้ามาแบบเปิดเผย ไม่ใช่กองทัพมดแบบในอดีต มองไม่เห็นเลยหรือใครกันแน่ที่ทำลายเศรษฐกิจ ทำลายเกษตรกร นักการเมืองหรือข้าราชการ หรือพ่อค้า แล้วศักยภาพพ่อค้าทำได้หรือ สุดท้ายก็โยนบาปไปให้พ่อค้าคนกลาง

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

“ปัจจุบัน “หยง” อัพราคาการบริการซื้อขายระหว่างโรงสี ระหว่างส่งออกได้หรือไม่ มีแต่โดนกดราคาลงเรื่อยๆ แล้วก็บอกว่า หยงคือต้นทุน แล้วพยายามกีดกันคนกลางออกไปแต่ปรากฏว่าคนที่ทำลายก็คือพวกคุณนั่นแหละ พอของราคาขึ้นก็ไปนำข้าวจากเพื่อนบ้านเข้ามาขายตัดราคา แล้วถามผลประโยชน์ไปตกอยู่กับใคร?"

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

มาสร้างกฎหมายพิทักษ์ ถามว่าพิทักษ์ใครอย่ามาบอกว่าพิทักษ์เกษตรกร ถ้าพิทักษ์เกษตรกรจริงๆ จะต้องไม่ปล่อยให้รถลำเลียงข้าวจากเพื่อนบ้านเข้ามา “ไอ้โม่ง" เป็นใครที่บงการเรื่องดังกล่าวนี้ ดังนั้นแค่มาตราเดียวก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามได้แล้วว่าช่วยเหลือเกษตรกรจริงหรือไม่ แล้วจะมาขอส่วนแบ่งข้าวแบบโมเดลอ้อย

ชำแหละกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว เอื้อใคร?

ลองนึกภาพตอนที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าว แล้วจะมาแบ่งปันผลประโยชน์ โดยจะให้โรงสีโควตาเท่านั้นเท่านี้ เป็นไปได้หรือเพราะตัวข้าวมีความชื้น รอไม่ได้แม้แต่วันเดียวต่างจากอ้อยควรจะคิดให้รอบคอบมากกว่านี้