ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร

18 ธ.ค. 2562 | 09:05 น.

เคาะแล้วประกันรายได้ข้าวโพด รัฐชดเชย 29 สตางค์จ่ายไม่เกิน 30 ไร่ คิกออฟ 20 ธ.ค.นี้  ปี63 คาดการณ์มันสำปะหลังปีทอง หากรอดพ้นโรคใบด่าง สภาเกษตรฯ เผยข้อดีประกันรายได้เพิ่มเงินในกระเป๋าจ่ายตรงชดเชยเกษตรกรที่ขายผลผลิตได้ราคาต่ำกว่าเกณฑ์

ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดราคากลางชดเชยรายได้มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปัญหาเรื่องหนอนกระทู้ระบาด เป็นต้น  เมื่อมีโครงการชดเชยรายได้ เกษตรกรก็ยังมีรายได้มาชดเชยในส่วนไร่ที่มีปัญหาโรคระบาด โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะชดเชยราคาให้ 29 สตางค์ ในการจ่ายรอบที่ 1 วันที่ 20 ธันวาคมนี้ โดยใช้การคำนวณราคาเฉลี่ย 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งราคาเฉลี่ยทั้งประเทศ ได้ราคา 8.21 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ราคาประกันอยู่ 8.50 บาท/กิโลกรัม รัฐจ่ายไม่เกิน 30 ไร่ต่อครัวเรือน

ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร

“ราคานับจากนี้ไปคาดการณ์ว่าต่ำลง เพราะปริมาณข้าวโพดเริ่มออกมามาก ผลผลิตในประเทศไม่เกิน 5 ล้านตัน เนื่องจากโดนผลกระทบจากภัยแล้ง หนอนกระทู้ลายจุด แต่พอนำไปคิดคำนวณแลกเป็นข้าวสาลีเพื่อกำหนดเงื่อนไขนำเข้ามาทำไมใช้ตัวเลขถึง 7 ล้านตัน ส่วนที่เกินมาจากไหน ได้ส่งหนังสือไปถึงกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ที่ได้มอบอำนาจให้กรมปศุสัตว์ที่อนุญาตนำเข้าข้าวสาลี ในสัดส่วน 3:1 นี่คือสิ่งที่กลัวจะมาสวมสิทธิ์ข้าวโพดไทย”

ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร

นายเติมศักดิ์ กล่าว ว่า ผมคิดว่าปี 2563 จะเป็นปีทองมันสำปะหลัง ถ้าเกษตรกรไม่มีปัญหาเรื่องโรคใบด่าง ที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้แม้ว่า ครม.จะมีมติให้ชดเชยเยียวยากับเกษตรกรในเรื่องการทำลาย แต่ปัญหาคือ สำนักงบประมาณไม่จ่ายในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ แล้วโรคนี้เลือกพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ จึงทำให้การควบคุมโรคไม่สามารถควบคุมได้100% 2.กรมวิชาการเกษตรไม่ประกาศกักกันพืช จึงทำให้ระบาดจังหวัดสระแก้วทั้งจังหวัด 3.ต้องให้ออกกฎหมาย พ.ร.บ.กักพืชฯจะได้นำมาเป็นเครื่องมือในควบคุมการขนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย

ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร

อย่างไรก็ดีโครงการประกันรายได้ เป็นโครงการที่ให้ "เกษตรกรอยู่ได้" เงินที่ขายผลผลิตได้คือเงินกระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวาคือส่วนต่างที่รัฐจ่ายให้ชดเชยรายได้ แต่หากมองอีกด้านหนึ่งถือว่าเป็นโครงการชดเชยรายได้ในส่วนที่เกษตรกรเป็นโรคระบาดทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง แม้ว่าจะได้กระเป๋าเดียว แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่รองรับเพื่อป้องความเสี่ยงของเกษตรกรที่ขายผลผลิตได้ราคาต่ำ

ยกนิ้ว ‘ประกันรายได้’ ป้องความเสี่ยงเกษตรกร