หนุนคนไทยห่างไกลโรคอ้วน โนโวฯชูการตลาดเชิงสัมพันธ์

06 ส.ค. 2562 | 06:43 น.

โนโว นอร์ดิสค์ ชี้ไทยเสี่ยงโรคอ้วนอันดับ 2 ในภูมิภาค เร่งเสริมทัพการตลาดเชิงรุกผ่านกลยุทธ์การตลาดเชิงสัมพันธ์ ผสานความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมยาคุณภาพ ตอบโจทย์การรักษาอย่างตรงจุด

นายจอห์น ดอว์เบอร์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศ ไทย) จำกัด บริษัทยาชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า รายงานสุขภาพของคนไทยโดยสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับ สนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมหาวิทยาลัยมหิดลชี้ว่า คนไทยมีนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นตามประมาณการตัวเลขจากสหพันธ์โรคอ้วนคาดว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า จะมีคนนํ้าหนักเกินมาตรฐานรวมถึง 2,700 ล้านคนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอันตรายต่างๆ มากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเข่าเสื่อม นิ่วในถุงนํ้าดี และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ประชากรมีนํ้าหนักเกินมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศมาเลเซีย

ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของโรคอ้วนในประเทศไทยทำให้บริษัทตระหนักถึงความสำคัญ และคิดค้นวิจัยผลิตภัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ภายใต้จุดเด่นที่มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากว่า 90 ปี เพื่อคิดค้นนวัตกรรมยาที่ตอบโจทย์ผู้ป่วยมากที่สุด โดยจะให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดผ่านกลยุทธ์การตลาดในประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นการทำการตลาดเชิงสัมพันธ์ (Relationship Marketing) คือการเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิผล และตรงจุดมากที่สุด โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์รักษาโรคเบาหวานของบริษัทสามารถทำรายได้ถึง 90% ของยอดขายของบริษัท

หนุนคนไทยห่างไกลโรคอ้วน โนโวฯชูการตลาดเชิงสัมพันธ์

อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้บริโภคต้องพบเจอกับการโฆษณาบนสื่อโซเชียลต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการลดนํ้าหนัก รวมไปถึงการขายยาลดนํ้าหนักผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมองว่าประชาชนที่เป็นผู้บริโภคทั่วไปควรตรวจสอบ รายละเอียดของสินค้า และแหล่งที่มาของข้อมูลว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทยา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องจำหน่ายโดยสถานพยาบาล และควรได้รับการวินิจฉัยและให้คำแนะนำจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ดังนั้นหากมีการพบเห็นการขายยาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจนับได้ว่าเป็นการขายยาปลอมและเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งตรงนี้ถือว่าต้องระมัดระวังและตรวจสอบ 

หน้า 30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3493 ระหว่างวันที่ 4 - 7 สิงหาคม 2562