ดันไทยแลนด์ ริเวียร่า เดสติเนชันทะเลติดอันดับโลก

12 มี.ค. 2561 | 13:02 น.
โครงการไทยแลนด์ ริเวียร่า (Thailand Riviera) หรือ การพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เพื่อยกระดับให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลเพื่อการพักผ่อนระดับโลก เฉกเช่น French Riviera แม้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ เคยมีการพูดกันมาตั้งแต่สมัยอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่เกิดเป็นรูปธรรม จนล่าสุดถือเป็นสัญญาณที่ดีเมื่อครม.เห็นชอบในโครงการนี้ และต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง

หัวหินจุดเชื่อมใต้ตอนล่าง
รวมไปถึงสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศในระยะ 20 ปีนี้ ครอบคลุมทั้งทางบก นํ้า อากาศ และราง โดยรัฐบาลมีแผนผลักดันให้อ.หัวหิน กลายเป็นจุดเชื่อมต่อการท่องเที่ยวขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ที่ในอนาคตภาครัฐจะพัฒนาก่อ สร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้น

ทั้งรองนายกฯสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังสั่งให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศ (ททท.) ไปหารือและผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และมอบหมายให้ททท. ไปคิดถึงชื่อโครงการก่อน แต่ปัจจุบันยังเรียกว่า โครงการไทยแลนด์ ริเวียร่า รวมถึงการหาแพ็กเกจต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้มี นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวต่อเนื่อง และขยายไปสู่จังหวัดระนองและชุมพร จากปัจจุบันที่มีการท่องเที่ยวเฉพาะจังหวัดเพชรบุรีและที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ ราว 6 ล้านคนต่อปี

mp22-3347-1b รีแบรนดิ้งอิมเมจใหม่
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่านับจากนี้ภาพจำใหม่ของการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลวัง หรือ Royal Coast จะต้องก้าวไปสู่หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามติดอัน ดับโลก ซึ่งรองนายกฯสมคิดได้มอบหมายให้ททท.ไปหารือและผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมากขึ้น

โดยกลยุทธ์การขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยว จะเน้นการส่งเสริมแอ่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงชุมชน เกษตร วัฒนธรรมและการค้า ส่งเสริมกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเดินทางในพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างภาพจำใหม่ (รีแบรนดิ้ง อิมเมจ) ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก ด้วยการนำเสนอมุมมองเชิงสร้างสรรค์และสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของดินแดนแห่งชายฝั่งทะเลวัง

ได้แก่ 1. แอ่งชื่นสุขวารี(ชุมพร-ระนอง) เน้นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีแหล่งนํ้าพุร้อน และทรัพยากรทางทะเลที่มีความสมบูรณ์ 2. แอ่ง แดนวังวันวาน (เพชรบุรี-ชะอำ-หัวหิน) เน้นแนวคิดถวิลหาอดีตจากจุดเด่นพระราชวัง 5 รัชกาล ศิลปะช่างสิบหมู่ ชุมชนท้องถิ่น 3. แอ่งเพชรคีรีบุรีสุข (หาดชะอำ-หาดหัวหิน-หาดปราณบุรี) เน้นแนวคิดชายหาดสำหรับครอบครัว 4. แอ่งสนุกสมุทรนิเวศ (ประจวบ คีรีขันธ์-ชุมพร) เน้นแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลและ 5. แอ่งสำราญตะนาวศรี (แก่งกระจาน-ป่าละอู-กุยบุรี) เน้นแนวคิดยิ่งเที่ยว ยิ่งเขียว จากจุดเด่นผืนป่าตะวันตก

mp22-3347-b ส่วนโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในโครงการไทยแลนด์ ริเวียร่า (ตารางประ กอบ) ในด้านการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟ ท่าเทียบเรือ ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย เป็นงบที่กระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ดำเนินงาน ในส่วนของโครงการที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯจะดำเนินการมีทั้งหมด 45 โครงการ วงเงิน 170 ล้านบาท ที่จะขอใช้งบประมาณปี 2562 ซึ่งจะเน้นพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว

4 อิมแพ็กต์บูมท่องเที่ยว
โครงการไทยแลนด์ ริเวียร่า จะทำให้เกิดอิมแพ็กต์ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. อิมแพ็กต์ต่อชุมชน เพราะ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 2 ฝั่ง คือ ชายทะเล และภูเขา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น ผ่านการท่องเที่ยวชุมชน ทั้งในมิติของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม เชิงประมง เชิงท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงโครงการตามพระราชดำริต่างๆ ซึ่งการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวนี้จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และทำให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานี้

2. อิมแพ็กต์ต่อประชาชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป เพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวในรูปแบบที่สร้างสรรค์และมีความน่าสนใจใหม่ๆ อาทิ การท่องเที่ยวโดยรถไฟ มีการออกแบบพัฒนาสร้างชานชาลา สร้างสถานีรถไฟ แบบไทยเท่ แบบเก๋ๆ ที่สามารถเป็นจุดพักให้นักท่องเที่ยวลงท่องเที่ยวได้เป็นจุดๆ อาทิ จอดรถไฟที่หว้ากอ ที่ป่าจาก ที่ริมหาด ที่จุดสำคัญๆ ทางการท่องเที่ยว ที่ย่านตลาดชุมชน ที่แหล่งอาหารอร่อย เป็นต้น ซึ่งก็จะเป็นการสร้างภาพจำใหม่สำหรับการท่องเที่ยวรูปแบบทางราง รวมถึงเป็น การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 3. อิมแพ็กต์ต่อนักธุรกิจนักลงทุน ขนาดกลางขนาดย่อม ใน 2 ประเด็นสำคัญ ประเด็นแรก คือ การพัฒนาต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การสร้างมารีน่าสำหรับเรือยอชต์ ที่อ่าวประจวบฯ มีศักยภาพที่ทำได้ เพราะมีสะพานปลาเดิมที่ปรับปรุงใหม่มีความสวยงามสามารถต่อ ยอดไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวมูลค่า สูงอื่นๆ ได้อีก ซึ่งรวมถึงโอกาสในการพัฒนาเป็น Sport Hub เช่น การทำสนามแข่งกีฬาทางนํ้าระดับสากล ทั้งแข่งเรือใบ kite surfing เป็นต้น ประเด็นที่ 2 คือ การพัฒนาขุดลอกบึงให้เป็นสระเก็บนํ้าจืดขนาดใหญ่ที่ปราณบุรี และสามร้อยยอด เพื่อให้เพียงพอต่อการขยายตัวของระบบบริการท่องเที่ยว และสามารถต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงโรแมนติกในพื้นที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจกรรมทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ การดูนกนํ้า นกอพยพ เป็นต้น

4. อิมแพ็กต์ต่อนักลงทุนด้านท่องเที่ยวขนาดใหญ่ จาก การจัดสรรที่ราชพัสดุที่หาดประจวบคีรีขันธ์ หรือการแบ่งโซนพื้นที่ ให้สามารถสอดรับกับการลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ การตั้งโรงถ่ายภาพ ยนตร์ ตั้งสวนสนุก ธีมพาร์ก การตั้งศูนย์สุขภาพ Health & Wellness สโมสรเรือสำราญ อู่ซ่อมเรือยอชต์ โรงเรียนดำนํ้านานาชาติ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติทางทะเล ศูนย์ฝึกการบิน และการพัฒนาทางเข้าสู่ถํ้าและป่าโกงกาง แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติให้มีความสะดวกและปลอดภัย รวมถึงการลงทุนการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไนต์ไลฟ์ให้มีความสมบูรณ์และสวยงาม

ทั้งหมดจะเป็นภาพจำใหม่ของชายฝั่ง Royal Coast หาดทรายหลวง ชายฝั่งทะเลวัง ของประเทศไทย ที่จะถูกยกระดับให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามติดอันดับโลก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว