กองทุนพัฒนาสื่อฯผุดแอพ “Media Watch  เฝ้าสื่อ”เสริมเขี้ยวเล็บ

28 พ.ย. 2560 | 12:37 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

กองทุนพัฒนาสื่อฯเปิดเชิงรุกเท่าทันสื่อประชากรยุคดิจิตอล  ผุดแอพ “Media Watch เฝ้าสื่อ”เสริมเขี้ยวเล็บ ภาคปชช.มีส่วนร่วม เฝ้าระวัง-ตรวจสอบ-แจ้งเตือน สื่ออันตราย–ไม่สร้างสรรค์ ร้องเรียนตรงผ่านมือถือ

[caption id="attachment_236571" align="aligncenter" width="503"] แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข[/caption]

-28 พ.ย.60- แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะบอร์ดคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้านสุขภาพจิต เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัว“แอพพลิเคชั่น Media Watch เฝ้าสื่อ” ในการเฝ้าระวังการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม ปลอดภัย และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ การเป็นภาคีเครือข่าย โดยมีทั้งภาครัฐเอกชนกว่า20หน่วยงาน เข้าร่วม ซึ่งจัดขึ้นโดย โครงการพัฒนากระบวนการเท่าทันสื่อผ่านแอพพลิเคชั่น ร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

IMG_6780 แพทย์หญิงพรรณพิมล  กล่าวว่า การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชากรยุคดิจิตัล สังคมไทยยุค 4.0 ต้องการพลเมืองที่มีทักษะวิเคราะห์สื่อด้วยตนเองและใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังตรวจสอบร้องเรียนสื่อไม่ปลอดภัยเป็นนักเฝ้าระวังสื่อที่ดีให้สังคมไปด้วยกันได้ ดังนั้นแอพพลิเคชั่น “Media Watch เฝ้าสื่อ” นับเป็นกลไกการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสื่อของภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายเพื่อปกป้องลูกหลานจากสื่อที่ไม่ปลอดภัยร่วมสร้างระบบนิเวศสื่อใหม่ให้สร้างสรรค์ ดิฉันเชื่อมั่นว่าเราทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันเฝ้าระวัง สำรวจ ตรวจสอบส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เด็กเยาวชน ครอบครัวและสังคมต่อไป

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า โครงการพัฒนากระบวนการเท่าทันสื่อผ่านแอพพลิเคชั่น ได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว เพื่อสามารถตรวจสอบสื่อ เป็นเครื่องมือร้องเรียนสื่อได้ ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ เข้ามาเสริมพลังภาคประชาชน ในการช่วยเฝ้าระวังสื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ติดตามตรวจสอบ แจ้งเตือน และช่วยให้รู้เท่าทัน ฉลาดในการใช้สื่อ ทั้งนี้โดยหลักการสื่อกำกับตัวเองอยู่แล้วก็ตามที่ แต่อาจจะต้องมีการกำกับโดยประชาชนเสริม เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น

นายวสันต์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การลิงค์ข้อมูล จากช่องทางดังกล่าวนี้ สามารถส่งต่อไปยังฝ่ายวิชาชีพในการดูแลกำกับกันเองให้มีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นสมาคมสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์  ทั้งฝ่ายภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลสื่อตามกฎหมาย เช่น กระทรวงวัฒนธรรม หรือ กสทช. เมื่อมีข้อมูลตรงนี้ไหลเข้ามาช่วยแจ้งจี้ช่องบอก ทำให้กระบวนการนำไปสู่การจัดการ แก้ไข ได้อย่างเป็นรูปธรรม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 “เป็นการทำงานเชิงรุก ในมิติภาคประชาชนเข้ามาช่วยกันสะท้อนให้สื่อ ที่ไม่ปลอดภัย ปรับปรุง แก้ไข ไม่ใช่แค่บ่นด่า หรือพูดกันลอยๆในโลกโซเชียล แต่เป็นการเข้าไปให้ข้อมูลโดยตรงแบบรับผิดชอบ เพราะเราทำงานโดยผ่านอาสาสมัครในการเป็นทีมดูแลอย่างเป็นระบบ ลักษณะเด่นของแอพพลิเคชั่น คือ เป็นการเปิดช่องทางเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว ทำให้มีการรีพอร์ตแจ้งได้สะดวก และง่ายมากขึ้น แต่ สิ่งสำคัญคือ การบูรณาการของภาครัฐ ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของภาครัฐต่างๆเพราะที่ผ่านมา เมื่อประชาชนร้องเรียนมักจะใช้เวลานาน ล่าช้าเรื่องมักเงียบหายไปไม่ต่อเนื่อง  และคนร้องเรียนก็ไม่ทราบความคืบหน้า  ว่าเรื่องถูกส่งต่อดำเนินการไปยังหน่วยงานไหนบ้างแล้ว หรือมีผลเป็นอย่างไร จึงอยากให้รัฐมีการบูรณาการจัดการปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม” นายวสันต์ กล่าว

ขณะที่นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวถึงที่มาของแอพลิเคชั่น “Media Watchเฝ้าสื่อ” ว่า แต่เดิมมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวได้มีการรวมกลุ่ม หรือ มีอาสาสมัคร ในการดูแลเฝ้าติดตามตรวจสอบปัญหาสื่ออยู่แล้ว และอยากขยายไปสู่วงกว้างคือประชาชนทั่วไป  โดยเราทำงานทั้งสองด้าน คือ แจ้งเรื่องร้องเรียน และ นำเสนอสื่อที่ดีมีประโยชน์

นางฐาณิชชา กล่าวว่า ในส่วนของการร้องเรียน แจ้งปัญหา ผู้ที่ร้องเรียนเข้ามา จะได้รับความคุ้มครองทางด้านข้อมูล มีการลงทะเบียน โดยมีทีมอาสาสมัคร ซึ่งเรียกว่าทีมหลังบ้านในการทำหน้าที่รับเรื่อง  และการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการอบรมอาสาสมัครแกนนำผู้ใช้แอพพลิเคชั่นใน 4 ภูมิภาคและประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีทักษะ ความรู้เข้าใจ พร้อมที่จะเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้และวิธีการใช้แอพพลิชั่นอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเริ่มต้นจะมีแนวทางทดลองใช้จากนี้เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการให้กับประชาชนทั่วไปผ่านระบบแอนดรอย์ในเร็วๆนี้  แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเพจในเฟซบุ้ค เฝ้าสื่อหรือในเวบไซต์ ได้ดำเนินการอยู่แล้วซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปให้ข้อมูลผ่านช่องทางเหล่านี้ได้

“คาดหวังการมีแอพพลิเคชั่น “Media Watchเฝ้าสื่อ” จะทำให้มีช่องทางการเข้าถึง สนับสนุน ให้ประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้ร่วมกันเฝ้าระวังดูแลเด็กและเยาวชนร่วมกันมากขึ้นผ่านช่องทางที่สะดวกทันสมัย และในอนาคตได้ช่วยกันผลักดันเพื่อนำไปสู่กระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพราะขณะนี้ตามกฎหมายบ้านเรา ยังไม่ไปถึงกระบวนการเยียวยาผู้เสียหายจากสื่อ”นางฐาณิชชา กล่าว ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว