จับตา ปฏิบัติจีนโต้สหรัฐ "ธีระชัย" ชี้ เพิ่มความเสี่ยงระดับสูงเศรษฐกิจโลก

03 ส.ค. 2565 | 01:00 น.

"ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" วิเคราะห์บทบาทของ "นางแนนซี เพโลซี" ต่อการเยือนไต้หวัน จับตาปฏิบัติจีน เพิ่มความเสี่ยงระดับสูงต่อเศรษฐกิจโลก มองไต้หวันอาจได้วิกฤตมากกว่าที่ต้องการ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เดินทางมาเยือนไต้หวัน และปฏิบัติการจีนหลังจากนี้ มองเพิ่มความเสี่ยงระดับสูงต่อเศรษฐกิจโลก ไต้หวันอาจได้วิกฤตมากกว่าที่ต้องการ  ข้อความดังนี้
 

นางเพโลซี เป็น Speaker of the House ของสภาสหรัฐ ตาม รธน.ถ้าหากไบเดน-ปธน.ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ นางคามาลา-รองปธน.จะขึ้นเป็นปธน.แทน ถ้านางคามาลา-รองปธน.ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ไปด้วย

 

Speaker of the House จะขึ้นเป็นปธน.แทน  ดังนั้น เมื่อบุคคลในตำแหน่งสูงเช่นนี้เสนอตัวเดินทางไปไต้หวัน ทางการไต้หวันก็ต้องดีอกดีใจ เพราะเป็นการประทับตราการยอมรับฐานะของไต้หวันในระดับสูงสุด

 

แต่น่าสงสัยว่า ไต้หวันจะได้วิกฤตขนาดใหญ่ มากกว่าที่ต้องการหรือไม่?

 

ก่อนหน้านี้ เคยมี Speaker of the House ขณะดำรงตำแหน่งเดินทางไปเยือนใต้หวัน เมื่อปี 1997  ในครั้งนั้นจีนออมมือในการตอบโต้ เพราะเป็นจังหวะที่อังกฤษมอบคืนเกาะฮ่องกง  แต่ในครั้งนี้ จีนประโคมข่าว และประกาศชัดเจนว่ากองทัพจะไม่อยู่นิ่งเฉย จีนจึงอยู่นิ่งไม่ได้

ถามว่า รัฐบาลสหรัฐส่งนางเพโลซีไปพยายามขอดเกล็ดมังกรหรือเปล่า?

 

ข่าวบลูมเบิร์กระบุ ไบเดนในการพูดคุยทางโทรศัพท์กับสีจิ้นผิง ได้พยายามอธิบายว่า Speaker of the House เป็นอิสระจากรัฐบาลและมีข้อมูลว่า ทีมไบเดนพยายามเกลี้ยกล่อมไม่ให้นางเพโลซีแวะไปไต้หวัน

 

แต่สื่อใต้หวันรายงานว่า นางเพโลซีจะเดินทางไปถึงเย็นวันนี้ ( 2 ส.ค.65 ) 

 

จับตา ปฏิบัติจีนโต้สหรัฐ "ธีระชัย" ชี้ เพิ่มความเสี่ยงระดับสูงเศรษฐกิจโลก

 

รูป 1 ภาพบลูมเบิร์ก แสดงนางเพโลซี ในปี 1991 ไปยืนถือป้ายประท้วงการปราบประชาชนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน 

 

ในขณะนั้น นางเพโลซียังเป็นผู้แทนระดับจูเนียร์ แต่หลังจากนั้น ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับจีนมาตลอด

จับตา ปฏิบัติจีนโต้สหรัฐ "ธีระชัย" ชี้ เพิ่มความเสี่ยงระดับสูงเศรษฐกิจโลก

 

รูป 2 นางเพโลซีในตำแหน่ง Speaker of the House ได้จัดการให้สภามอบเกียรติยศให้แก่องค์ดาไลลามะ ในปี 2007

 

ทำไมจู่ๆ นางเพโลซีจึงตัดสินใจจะเดินทางไปไต้หวันครั้งนี้?

 

เดือน พ.ย.นี้จะมีการเลือกตั้ง mid term และประชาชนที่เดือดร้อนจากเงินเฟ้อ จะลงโทษไบเดน จำนวน สส.ในสภาของพรรคเด็มโมแครต จะกลับกลายเป็นส่วนน้อย นางเพโลซีจะหลุดจากตำแหน่ง  ดังนั้น ถ้านางเพโลซีซึ่งอายุ 82 ปี ถ้าไม่ออกโรงครั้งนี้ ก็จะไม่ทันละครเปลี่ยนบท

 

แต่เศรษฐกิจโลกและไต้หวัน จะมีความเสี่ยงระดับสูงอย่างแน่นอน เพราะสีจิ้นผิงมีวาระ ต้องให้สภาจีนเลือกเป็นปธน.ต่อในเดือน พ.ย. และเศรษฐกิจจีนก็กำลังยอบแยบ จากโควิดซีโร บวกกับการปราบปรามบริษัทเทคเรื่องผูกขาด และฟองสบู่อสังหาแตกไม่มีอะไรที่จะกระตุ้นกระแสหนุนผู้นำ ได้เท่ากับเหตุการณ์ที่ล่อแหลมต่อความอยู่รอดของชาติ

ดังนั้น สีจิ้นผิงจึงต้องปฏิบัติการบางอย่าง เพียงแต่คาดเดาไม่ได้ว่า จะมากหรือน้อย

 

ด้านสหรัฐ ก็ไม่สามารถอยู่เฉย ถ้าขัดขวางนางเพโลซี ก็จะมีภาพว่ากลัวจีน จึงต้องแสดงพลังเต็มที่ เพราะไม่มีอะไรจะกระตุ้นกระแสหนุนผู้นำ ได้ดีเท่านี้ เช่นกัน

 

ถ้าจีนบุ่มบ่าม ขัดขวางการเดินทางเข้าออกไต้หวันของนางเพโลซี ก็จะเกิด limited hot war ขึ้นได้ทันที

 

ถ้าจีนรอให้นางเพโลซีเดินทางกลับออกไปก่อน แล้วโจมตีไต้หวัน เช่นสมมุติ ยิงขีปนาวุธไปทำลายโรงงานผลิตชิปคอมพิวเตอร์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐ

 

วิธีนี้ก็จะเกิด cold war และมาตรการแซงชันต่างๆ นาๆ ซึ่งจะพาเศรษฐกิจโลกลงเหวไปด้วยแต่เศรษฐกิจตะวันตกที่ขาดชิปคอมพิวเตอร์ จะเจอปัญหา supply chain disruption อย่างหนัก