โควิดฉุดยอดค้าปลีกมะกัน เดือนเมษาร่วงกว่า 21% แต่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังแรง

24 พ.ค. 2563 | 05:52 น.

ค้าปลีกสหรัฐฯเดือนเมษาฯ หดตัวกว่า 21% แต่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังโตสวนทาง เผยปี 62 ค้าปลีกมะกันมูลค่ารวมกว่า 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ “วอลมาร์ท โครเกอร์ อเมซอน คอสโก้ และ วอลกรีน” ครอง 5 อันดับแรก

สหพันธ์ค้าปลีกของสหรัฐฯ (The National Retail Federation หรือ NRF) ได้รายงานยอดค้าปลีกสินค้าและธุรกิจบริการอาหารของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนว่า มี มูลค่า 403.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงไปร้อยละ 21.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 16.4 จากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และหากเปรียบเทียบช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายนของปีนี้ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ยอดขายลดลงไปร้อยละ 7.7

แม้ภาพรวมของยอดค้าปลีกในเดือนเมษายนลดลง แต่หากมองให้ลึกลงไปพบว่า ยอดค้าปลีกสินค้าบางกลุ่มขยายตัว และบางกลุ่มหดตัว เช่น ยอดค้าปลีกของกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังคงขยายตัวในอัตราสูงขึ้นร้อยละ 12 และกลุ่มสินค้า บริโภคในบรรจุภัณฑ์ (consumer packaged goods หรือ CPG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ทั้งนี้ รายงานร่วมของยอดค้าปลีกในเดือนเมษายนซึ่งจัดทำโดย NRF และบริษัทวิจัย Nielsen พบว่า

1. กลุ่มสินค้าของร้านค้าปลีกที่มียอดขายเพิ่มขึ้นและลดลง:

1.1 ในช่วง 1 สัปดาห์ สินค้า Brand ขยายตัวร้อยละ 19.3 และสินค้า Private Label ขยายตัวร้อยละ 18.5 แต่ในช่วง 10 สัปดาห์ สินค้า Private Label กลับขยายตัวได้ดีกว่าหรือร้อยละ 27.1 ขณะที่สินค้าสินค้า Brand ขยายตัวร้อยละ 23.7

1.2 สินค้าที่มียอดขายขยายตัวสูงได้แก่ อาหารทะเล (+46.2%) เนื้อสัตว์ (+40.8%) สินค้าแช่แข็ง (+34.2%) ผลิตภัณฑ์นม (+25.1%), Grocery (+19.7%), ผัก ผลไม้สด (+19.4%), household care (+18.5%)

1.3 สินค้าที่มียอดขายขยายตัวในอัตราต่ า ได้แก่ pet care (+1.3%), health and beauty care (+0.9%)

 1.4 สินค้าที่มียอดขายหดตัว ได้แก่ Deli (-0.9%), Bakery (-6.7%) และ Baby Care (-7.4%)

โควิดฉุดยอดค้าปลีกมะกัน เดือนเมษาร่วงกว่า 21%  แต่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังแรง

2.กลุ่มสินค้าของร้านค้าปลีกออนไลน์ที่มียอดขายลดลง : ห้างและร้านค้า กลุ่มไม่จำเป็น (Non Essential) มียอดขายสินค้าลดลด สินค้าวัสดุก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ทำสวนลดลง (-3.5%) สินค้า Health and Personal Care (-15.2%) สินค้า อุปกรณ์กีฬา (-38%) เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน (-58.7%) เครื่องใช้และอุปกรณ์ ไฟฟ้า (-60.6%) เสื้อผ้าและเครื่องประดับ (-78.8%) สินค้าทั่วไป (-20.8%)

3.อันดับกลุ่มสินค้าที่มียอดขายมากที่สุด: Hand sanitizer (+553.2%) Oat milk (+281.7%) Fresh meat alternatives (+219.3%) Baking yeast (+164%) และ Lobsters (+122.4%)

4.กลุ่มสินค้าบริโภคในบรรจุภัณฑ์(CPG) ทางออนไลน์มียอดขายสูง (ในช่วง 10 สัปดาห์) ได้แก่ อาหาร (+57%), pet care (+25.5%), household care (+25.1%), baby care (+21.8%), health and beauty care (+4.4%). Hot segments included potato chips (+63.4%), rolls and buns (+77.4%), sunscreen (+16.4%), and pet flea and tick products (+46.6%)

5.กลุ่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ : มียอดขายเพิ่มขึ้น กลุ่ม Spirit (+42%) กลุ่มไวน์ (+38%) และพบว่า จำนวนคนซื้อไวน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 การใช้จ่ายในการซื้อ ไวน์ต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 62.74 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 71.94 เหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 46 กลับมาซื้อไวน์ซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง

ทั้งนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต./ทูตพาณิชย์) ณ นครชิคาโก รายงานว่า ธุรกิจค้าปลีกสหรัฐฯ สหรัฐฯ มีร้านค้าปลีกทั่วประเทศกว่า 1 ล้านแห่ง ยอดค้าปลีกขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 4 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยมียอดค้าปลีกรวมประมาณ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2562

ยอดค้าปลีกสินค้า 5 กลุ่มแรก คิดเป็นร้อยละ 62 ของยอดขายรวม คือ (1) รถยนต์และอุปกรณ์คิดเป็นร้อยละ 20 (2) อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 13 (3) ธุรกิจ บริการอาหาร ร้อยละ 12 (4) สินค้าทั่วไป ร้อยละ 12 และ (5) อี-คอมเมิร์ซ ร้อยละ 11 โดยมีผู้นำตลาดค้าปลีกสำคัญในสหรัฐฯ 5 อันดับแรก (อันดับตามยอดขาย) คือ วอลมาร์ท โครเกอร์ อเมซอน คอสโก้ และ วอลกรีน

โควิดฉุดยอดค้าปลีกมะกัน เดือนเมษาร่วงกว่า 21%  แต่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังแรง

ธุรกิจค้าปลีกและการนำเข้าสินค้า ร้านค้าปลีกลูกโซ่นำเข้าสินค้าในปี 2562 จ านวน 21.6 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ ลดลงไปจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1 ห้าง Walmart เป็นผู้นำเข้าสินค้ามากที่สุดจำนวน 955,000 ตู้ ห้าง Target เป็นอันดับที่ 2 จำนวน 635,500 ตู้ และ Home Depot เป็น อันดับที่ 3 จำนวน 420,100 ตู้ ห้าง Lowe’s จำนวน 310,500 ตู้ เป็นอันดับที่ 4 และ ร้าน Ashley Furniture จำนวน 210,000 ตู้ ร้านค้าปลีกลูกโซ่ที่ประสบปัญหาด้านการเงินในปี 2563 ได้แก่ ห้าง Bed, Bath & Beyond ปิดสาขา 60 แห่ง ห้าง Pier 1 Import เลิกกิจการและจะปิดร้านสาขา ทั้งหมด 450 สาขา ห้าง JC Penny ยื่นเรื่องขออำนาจศาลคุ้มครองการล้มละลายและ ปิดร้านสาขา 206 แห่ง ห้าง Sears ปิดสาขา 51 แห่ง ร้านเฟอร์นิเจอร์Art Van เลิก กิจการปิดสาขา 250 แห่ง เป็นต้น

โควิดฉุดยอดค้าปลีกมะกัน เดือนเมษาร่วงกว่า 21%  แต่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังแรง

ผลกระทบโควิด-19 ต่อธุรกิจค้าปลีก

 1. พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค เปลี่ยนไปในช่วงระยะสั้นของโรคระบาด โควิด-19 และพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปเป็นพฤติกรรมถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการซื้อสินค้า ผู้บริโภคจะลดการไปซื้อสินค้าที่ร้าน แต่จะหันไป ใช้การสั่งซื้อทางออนไลน์และให้ร้านค้านำมาส่ง หรือจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เป็นต้น จะส่งผลกระทบต่อจำนวนลูกค้าเข้ามาซื้อของและยอดขายของร้าน และในที่สุดร้านค้า จะต้องปิดร้านสาขาที่ไม่ทำเงิน ความต้องการซื้อสินค้ามาเข้าร้านเพื่อจำหน่ายลดลง ซึ่ง จะส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ต้องนำเข้ามาจำหน่าย

2. การแข่งขันในตลาดค้าปลีกลดลง และจะเพิ่มอำนาจหรือความสามารถใน การแข่งขันไปอยู่ในมือของร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ได้แก่ Walmart, Kroger, Costco, Target, Walgreen Home Depot, CVS Drugs ซึ่งร้านค้าปลีกดังกล่าวจัดเป็นร้านค้า กลุ่มจำเป็นในช่วงโควิด-19 ในขณะที่กลุ่มร้านค้าปลีกที่จัดเป็นกลุ่มไม่จำเป็นในช่วงโค วิด-19 เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกอิสระ ร้านค้าปลีกขนาดย่อม ประสบปัญหา ด้านหนี้สินและรายได้ลดลง ส่งผลให้ร้านค้ากลุ่มดังกล่าวหาทางออกด้วยการรวมตัว หรือการอำลาจากวงการค้าปลีก หรือการลดขนาดกิจการ แสดงให้เห็นถึงความต้องการ นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของกลุ่มร้านค้าปลีกจะลดลงในอนาคต

3. Covid-19 ก่อให้เกิดคนว่างงานชั่วคราวกว่า 30 ล้านคน รายได้ผู้บริโภค ลดลง ซึ่งหมายถึงอำนาจซื้อและความต้องการสินค้ามีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย ผู้บริโภคจะปรับตัวโดยใช้จ่ายอย่างประหยัดและซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น จึงส่งผลต่อยอดขายของร้านค้าปลีก และจะทำให้ร้านค้าปลีก/ผู้นำเข้าปรับตัวในการพิจารณาการ เพิ่มนำเข้าสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน เครื่องประดับราคาย่อมเยา และของใช้ในครัวเรือน