3 ส.ค. 66 ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตา“พิธา”ปมโหวตนายกฯ รอบ 2

26 ก.ค. 2566 | 08:59 น.

ศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุม 3 ส.ค.นี้ เวลา 9.30 น. ถกรับ-ไม่รับคำร้อง ปมมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ “พิธา” โหวตนายกฯ รอบ 2 ส่อขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แย้ม 3 แนวทางลงมติ

วันนี้ (26 ก.ค.66) แหล่งข่าวจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ส.ค. 2566 เวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไว้วินิจฉัยหรือไม่

หลังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบกับการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ รอบ 2 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องทางธุรการเรียบร้อยแล้ว 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเบื้องต้น จะออกได้ 3 แนวทาง คือ

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง

2.ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง แต่ไม่มีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ 

3.ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ ไว้ก่อน 
 

                          3 ส.ค. 66 ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ชะตา“พิธา”ปมโหวตนายกฯ รอบ 2

ก่อนหน้านั้น นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาชี้แจงถึงขั้นตอนกรณีดังกล่าวว่า หลังจากรับเรื่องแล้วเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการตรวจสอบความถูกต้อง 2 วัน แล้วส่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเล็กพิจารณาว่าจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ และใช้เวลาในการพิจารณาอีก 5 วัน 

“ศาลรัฐธรรมนูญจะพูดอะไรกลัวเป็นตำบลกระสุนตก จะพิจารณาเร็วเดี๋ยวก็หาว่าจะช่วยใครหรือไม่ พิจารณาช้าก็หาว่าดึงเรื่อง เพราะฉะนั้นก็เดินตามกติกาของกฎหมายที่เขียนไว้ คงไม่เร็วกว่านี้และไม่ช้ากว่านี้” ประธานศาลรัฐธรรมนูญกล่าว        

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน และควรพิจารณาให้เสร็จสิ้น เพราะยังมีประเด็นข้อสงสัย จากมติเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566 ที่ประชุมจึงมีการประชุมเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องเร่งด่วน และควรพิจารณาให้เสร็จสิ้น เพราะยังมีประเด็นข้อสงสัย จากมติเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566 ที่ประชุมจึงมีการประชุมเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้

1.ผู้ตรวจฯ เห็นว่าการดำเนินการให้ความเห็นชอบรายชื่อบุคคลเป็นนายกฯ เป็นการกระทำตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่ใช่กรณีเสนอญัตติ ตามข้อ 41 เพราะการเสนอรายชื่อบุคคลได้รับการให้ความเห็นชอบนายกฯ กำหนดไว้เฉพาะตามรัฐธรรมนูญ และในข้อบังคับเป็นคนละหมวดกัน 

จึงเห็นชอบร่วมกันว่า การดำเนินการของรัฐสภา ในวันที่ 19 ก.ค. มีการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 มาตรา 159 และ มาตรา 172 จึงมีมติยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

2. ได้พิจารณาคำร้องของผู้ร้องเรียน จึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการและวิธีการชั่วคราว ชะลอให้ความเห็นชอบนายกฯ ไว้เป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งจากการพิจารณาดังกล่าว ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 

หากปล่อยให้คัดเลือกเห็นชอบ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ หากดำเนินการต่อไปก่อนมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ยากต่อการเยียวยา จึงมีมติเห็นด้วยกับผู้ร้อง จึงขอให้ศาลกำหนดมาตรการวิธีการชั่วคราว เพื่อขอให้ชะลอการให้ความเห็นชอบ บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกฯ ออกไปก่อน