คนไทยเสี่ยง รับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

27 มี.ค. 2567 | 06:28 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มี.ค. 2567 | 06:36 น.

Whoscall เผยรายงานประจำปี 2566 พบมิจฉาชีพทำงานหนักก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับ ข้อความ หลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม ลิงก์ขอล็อกอินปลอม การดาวน์โหลดมัลแวร์ อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง

รายงานประจำปี 2566 โดย Whoscall จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และ ลิงก์จากข้อความ พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ

คนไทยเสี่ยง รับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

ข้อมูลจากรายงานปี 2566 พบว่ามีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจาก ปีก่อนหน้า 14% (405.3 ล้านครั้ง ในปี 2565) ลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์

คนไทยเสี่ยงถูกหลอกมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะที่เทรนด์การหลอกลวงในเอเชียดูเหมือนจะคลี่คลายลง ปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกจากสายโทรเข้าและข้อความ รวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565 จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565 และข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้น 17% สูงถึง 58.3 ล้านข้อความ จาก 49.7 ล้านข้อความ ในปี 2565

คนไทยรับ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

Whoscall เผยจำนวนข้อความหลอกลวง เฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ซึ่งมากที่สุด ในเอเชีย โดยอันดับ 2 คือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหานี้ กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์พยายามเตือนให้ประชาชนเพิ่มความ ระมัดระวังเพื่อป้องกันการหลอกลวงและความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสียเงิน

คนไทยเสี่ยง รับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

มิจฉาชีพยังคงพุ่งเป้าส่ง SMS หลอกลวงคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องพนันออนไลน์และหลอกปล่อยเงินกู้ คีย์เวิร์ดสำคัญ อาทิ ยูสใหม่ แจกฟรี ฟรี 500 ฝากครั้งแรกรับ และสร้างการหลอกลวงใหม่ๆ โดยแอบอ้างบริษัทขนส่ง และหน่วยงานรัฐ อาทิ พัสดุของท่านเสียหาย เคลมค่าเสียหายติดต่อ จดตัวเลขมิเตอร์ผิด ประกันมิเตอร์ เป็นต้น

นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook/ Whoscall กล่าวว่า “จากรายงานล่าสุด พบว่าคนไทยมีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียที่จะถูกหลอกลวงผ่านทางข้อความ และการโทรศัพท์ โดยมิจฉาชีพมีเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ นำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ ให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางการเงินของคนไทย Whoscall ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำให้คนไทยใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ รับรู้ข้อมูลจากแหล่ง ที่น่าเชื่อถือเป็นหัวใจสำคัญ การใช้แอป Whoscall เป็นเครื่องมือป้องกันและช่วยให้เรารู้ทัน ก็จะช่วยคุ้มครองคุณ จากการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ได้ รวมถึงคนที่คุณรัก ชุมชน และสังคมของเราด้วย”

คนไทยเสี่ยง รับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

ในเดือน มิถุนายน 2566 Whoscall เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ฟรี เพื่อสแกนลิงก์ URLs  ที่น่าสงสัย โดยผู้ใช้สามารถนำลิงก์ที่สงสัย มาวางในแอปพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยง หรือเปิดการตั้งค่าให้ตรวจสอบจาก SMS ที่มีลิงก์แนบมาด้วย พบว่า 4.5% ของข้อความที่ได้รับ มีลิงก์ที่น่าสงสัย ซึ่งแนบลิงก์หลอกให้ล็อกอินเข้าเว็บไซด์ปลอม (27%),   หลอกให้ดาวน์โหลดแอปอันตราย  (20%) และเข้าหน้าช๊อปปิ้งออนไลน์ปลอม (8%)

แม้จะมีการให้ความรู้ถึงภัยมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการหลอกลวงพัฒนารวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจาก มิจฉาชีพใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดรั่วร่วมกับปรับรูปแบบให้แนบเนียนยิ่งขึ้น ยากที่เหยื่อจะแยกแยะและเพิ่มโอกาสที่จะหลอก ลวงสำเร็จ

นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวปิดท้ายว่า “Whoscall มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำระดับโลก ในการป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกง โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองคนไทย นอกเหนือจากการให้ความรู้และ สร้างความตระหนักแก่สาธารณชน เรายังคงพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ระบบสแกนลิงก์และการกรอง ข้อความที่น่าสงสัย แสดงถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการสร้างสรรค์และขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยี เพื่อให้การ ป้องกันการหลอกลวงมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิสัยทัศน์ของ Whoscall คือการเสริมพลังให้ชาวไทยด้วยองค์ความรู้และเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อต้านทานภัยคุกคาม จากการ หลอกลวงดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น เราเชื่อว่าความร่วมมือของทุกภาคส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม สถาบันการเงิน และหน่วยงานรัฐ จะช่วยเข้าถึงการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า และร่วมกันขับเคลื่อนการปกป้องประชาชนจากมิจฉาชีพ และสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน ในประเทศไทย"