“ทรู” ยกระดับคลื่น5G รวมคลื่นในรูปแบบ CA ทดสอบครั้งแรกบนเครือข่ายจริง

10 พ.ย. 2565 | 04:45 น.

“ทรู” ยกระดับคลื่นความถี่ 5 G รวมคลื่นในรูปแบบ CA ระหว่าง 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.6 กิ๊กกะเฮิรตซ์ ทดสอบครั้งแรกบนเครือข่ายจริงที่ปราจีนบุรี

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 นายคนึงเดช ไตรรัตนอุปถัมภ์ ผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการโครงข่าย บมจ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทรู ได้เริ่มทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยี 5G มิลลิเมตร (Millimeter Wave) หรือ mmWave เพื่อยกระดับประสบการณ์ด้านเครือข่าย สำหรับลูกค้าองค์กร ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน ด้วยเทคโนโลยีการรวมคลื่นในรูปแบบ CA (Carrier Aggregation) ระหว่างคลื่น 2600MHz และ 26GHz ซึ่งได้ทดสอบเป็นครั้งแรกบนเครือข่ายจริงที่ปราจีนบุรี ได้ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล สูงสุดถึง 10.38 Gbps และความเร็วในการอัปโหลดข้อมูลสูงสุดที่ 2.31 Gbps ถือว่าเป็นความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยทดสอบมาในประเทศไทย

 

ทั้งนี้ คลื่น 26GHz หรือ mmWave เป็นคลื่นที่มีคุณสมบัติเด่น คือ  แบนด์วิธที่กว้างมาก  สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันที่หลากหลายขึ้น รวมทั้งสามารถให้บริการในรูปแบบ Fixed Wireless Access หรือ FWA ทดแทนสายไฟเบอร์อินเทอร์เน็ตบ้าน หรือนำไปใช้งานเป็น Hotspot ในพื้นที่ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตหนาแน่น ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ หรือการใช้งานสำหรับ Industrial IoT ในรูปแบบ Private Network ที่จะเป็นเครือข่ายในอนาคตสำหรับภาคอุตสาหกรรม

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

TRUE

ด้านนายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ ทรู คอร์ปอเรชั่น  เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทรู มีความถี่ทั้ง 3 ย่าน คือ คลื่น 700MHz ในย่าน Low Band คลื่น 2600MHz ในย่าน Mid Band และคลื่น 26GHz ในย่าน High Band ปัจจุบันมีเพียงคลื่น 700MHz และ 2600MHz ที่เปิดให้บริการแล้ว ส่วนคลื่น 26GHz หรือmmWave จะเป็นเทคโนโลยีที่มีความพร้อมในการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลกเร็วๆ นี้ เพราะถือเป็นคลื่นที่มีศักยภาพเนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น คือ มีแบนด์วิธที่กว้างมาก ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงมากในระดับ 10Gbps ซึ่งจะช่วยปลดล็อกศักยภาพให้กับภาคธุรกิจ และสร้างประโยชน์สำหรับภาคประชาชน ให้สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันที่หลากหลายขึ้น

 

รวมทั้งสามารถให้บริการในรูปแบบ Fixed Wireless Access หรือ FWA ทดแทนสายไฟเบอร์อินเทอร์เน็ตบ้าน หรือนำไปใช้งานเป็น Hotspot ในพื้นที่ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตหนาแน่น ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ หรือการใช้งานสำหรับ Industrial IoT ในรูปแบบ Private Network ที่จะเป็นเครือข่ายในอนาคตสำหรับภาคอุตสาหกรรม