เทเลเฮลท์ คืออะไร หลัง กสทช.เตรียมผุดโครงการมูลค่า 3,500 ล้าน

14 มี.ค. 2566 | 00:11 น.

เทเลเฮลท์ คืออะไร หลัง กสทช.เตรียมเดินหน้าโครงการนำร่อง 1,000 แห่งทั่วประเทศ โดยใช้งบประมาณปี 66 รวมมูลค่า 3,500 ล้านบาท

เทเลเฮลท์ คืออะไร หลังกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. ภายใต้สังกัด สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือ กสทช. ได้อนุมัติโครงการโทรเวชกรรมถ้วนหน้า (Universal Telehealth Coverage : UTHC) หรือ เทเลเฮลท์  มูลค่า 3,500 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าว กสทช. นำร่องติดตั้ง 1,000 แห่งทั่วประเทศ

ทำความรู้จักโครงการ “เทเลเฮลท์”

สำหรับโครงการประยุกต์ใช้งานบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชนบท (Telehealth Project) เป็นโครงการความร่วมมือ MOU ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กับ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เทเลเฮลท์ คืออะไร ทำความรู้จักที่นี่

เทเลเฮลท์ คือ การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเบบวิดีโอไลฟ์สด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดต่อสื่อสารตอบโต้ตอบกับแพทย์แทนการเดินทาง  ด้วยการติดต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบสมาร์ทโฟน แทปเลต หรือ คอมพิวเตอร์ ที่มีกล้องเวปแคมต่อเชื่อมสัญญาณทางอินเตอร์เนต

ระบบ Telehealth เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในการให้บริการด้านสุขภาพในระยะทางไกล ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการด้านสุขภาพจากแพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรังด้วย ในส่วนของรัฐบาล Telehealth จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างสถานพยาบาลเพิ่มเติมในพื้นที่ชนบท และการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ลงได้ โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) , โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension),โรคผิวหนัง และ โรคทางตา เป็นต้น

 

เทเลเฮลท์

 

ขอบเขตและขั้นตอนการดำเนินการ

สำหรับโครงการเทเลเฮลท์ เป็นโครงการนำร่องที่จะติดตั้งให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.ทั่วประเทศจำนวน 1,000 แห่งทั่วประเทศ ขั้นตอนดำเนินงานดังนี้

  • ระดับต้น รพ.สต./PCC ขั้นตอนทำงานระบบ จะเริ่มด้วยการที่ผู้เข้ามารับบริการยังสถานพยาบาล  ทำการลงทะเบียนผู้ใช้งานด้วยบัตรประชาชนจากนั้นก็จะทำการตรวจวัดค่าต่างๆ จากเครื่องมือแพทย์ตามรายละเอียดของการปฏิบัตงาน เพื่อส่งข้อมูลของผู้รับการเข้าสู่ระบบ
  • ระดับกลาง PCC/โรงพยาบาลชุมชน (รพ.ช.) จะเริ่มด้วยการที่ผู้เข้ารับบริการมายังสถานพยาบาล ทำการลงทะเบียนผู้ใช้งานด้วยบัตรประชาชน จากนั้นก็จะทำการตรวจวัดค่าต่างๆ จากเครื่องมือแพทย์ เพื่อส่งข้อมูลของผู้รับบริการเข้าสู่ระบบฯ
  • รับจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป (รพ.ท) จะเริ่มด้วยการที่ผู้รับบริการมายังสถานพยาบาล ทำการลงทะเบียนผู้ใช้งานด้วยเลขบัตรประชาชน จากนั้นจะทำการตรวจวัดค่าต่างๆ จากเครื่องมือแพทย์ตามรายละเอียดของการปฏิบัติงาน เพื่อส่งข้อมูลของผู้รับบริการเข้าสู่ระบบ
  • ศูนย์เฉพาะทาง เริ่มจากการที่ข้อมูลที่ทำการตรวจวัดจากเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ถูกส่งเข้าระบบ แพทย์เฉพาะทางที่ประจำอยู่ ณ ศูนย์เฉพาะทาง จะทำการเข้าระบบฯ เพื่อพิจารณาประเมินข้อมูลที่ถูกส่งมาว่าเข้ากรณีไหน ให้คำแนะนำต้องดำเนินการอย่างไร ส่งกลับเข้าระบบไปยังสถานพยาบาลปลายทาง สามารถให้คำปรึกษาเพิ่มเติมผ่านทางระบบประชุมทางไกลได้ ตามแต่สถานพยาบาลปลายทางจะร้องขอมา หรือ สามารถนัดหมายกับผู้รับบริการที่ปลายทางได้