“กรณ์”ชี้ไทยจำเป็นต้องปฎิรูปทุกมิติสู่ดิจิทัลขับเคลื่อนนโยบายประเทศ

20 ธ.ค. 2564 | 09:30 น.

“กรณ์ จาติกวณิช ชี้ไทยจำเป็นต้องปฎิรูปสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ สิ่งสำคัญไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นวิสัยทัศน์รัฐบาล แนะเปลี่ยนระบบราชการเป็นแบบคลิกเดียว เปิดโอเพ่นดาต้าสตาร์ทอัพเชื่อมต่อ อัดรัฐดึงประชาชน 30 ล้านคน ใช้แอพ“เป๋าตัง”แต่ขาดวิสัยทัศน์ดันสู่แพลตฟอร์มชาติ

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า  และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  กล่าวบรรยายในงานอบรมหลักสูตรดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน ฟอร์ ซีอีโอ#3   (DTC#3) หัวข้อ   “Dare to Do   How to win with transformations?”  โดยระบุถึง Govtech กับอนาคตประเทศไทย  โดยมองว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปฎิรูปทุกมิติให้อยู่ในระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่อย่างนั้นนโยบายหลายอย่างที่คิดไว้จะไม่สามารถไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงได้

“กรณ์”ชี้ไทยจำเป็นต้องปฎิรูปทุกมิติสู่ดิจิทัลขับเคลื่อนนโยบายประเทศ

ตัวอย่างที่ชัดเจน คือเรื่องจากตรวจโควิด ในอังกฤษ ที่มีประชากรเท่ากับคนไทย  67 ล้านคน  เมื่อเดือนกันยายน พบคนติดเชื้อ 5 หมื่นคน  ส่วนไทย 2 หมื่นคน    แต่อังกฤษมีการตรวจโควิดวันละ 1 ล้านคน ไมตรวจวันละ 4 หมื่นคน  สาเหตุที่อังกฤษสามารถตรวจเชื้อโควิด ได้เป็นจำนวนมาก เพราะแจกชุดตรวจให้กับประชาชน     ในชุดตรวจมี QR Code ให้ประชาชน ส่งผลตรวจเข้าไปสู่ศูนย์ข้อมูลกลาง กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ส่วนไทยตรวจแล้วรู้กันเองว่าได้รับเชื้อหรือไม่ไม่มีการนำข้อมูลไปรวมศูนย์ใช้ประโยชน์

 

ประเด็นสำคัญไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องทัศนคติ  ทัศนคติที่สำคัญสุด คือรัฐบาล ผู้นำประเทศ ราชการ   โดย การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่จำเป็นต้องพูดกับเอกชนเลย ทุกคนรู้ว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง  แต่รอคอยวิสัยทัศน์ คือ รัฐบาล  ระบบราชการ  โดยต้องกำหนดนโยบายนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไปสู่ดิจิทัล  ระบบราชการ  เปลี่ยนระบบราชการเป็นแบบคลิกเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อราชการ การขอใบอนุญาต การจ่ายเงิน 

“ปัจจุบันเทคโนโลยีเอื้อทุกอย่าง แต่รอให้ใครมีใครมาขับเคลื่อน  ถามว่าเราช้าไปหรือไม่  1 พ.ย.ที่ผ่านมา สิงคโปร์ เพิ่ง เปิด เนชันแนล ดิจิทัลไอที เอาบัตรประชาชนมาใส่ในมือถือเก็บข้อมลส่วนบุคคลของตัวบุคคลไว้ในมือถือ  เปิดให้สามารถนำข้อมูลที่มีในราชการ มาบรรจุในข้อมูลส่วนบุคคล  เช่น  ประวัติสุขภาพ  บ้านเราข้อมูลครึ่งหนึ่งเป็นข้อมูลของประชาชน อีกครึ่งเป็นของโรงพยาบาลที่รักษา

 

ตัวอย่างที่ชัดเจนของการปฎิรูประบบราชการ คือ เอสโทเนีย  เราสามารถเรียนรู้จากประเทศเอสโทเนีย   เทคโนโลยีมีแล้ว ขึ้นอยู่กับเราจะทำหรือไม่   ถ้าจะอ้างเอสโทเนีย มีประชาชน 1.5 ล้านคนคงไม่ใช่  เพราะอะไรที่สามารถทำกับคนจำนวน 1.5 ล้านคน ก็ตามสามรถทำกับคน 67 ล้านคนได้   เอสโทเนีย มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้  หลักสำคัญในการ ออกแบบ วันคลิก โกเวิร์นเม้นท์

 

ยึดหลัก ONCE  ONLY  โดยประชาชนมาแสดงตัวตนในชีวิตเพียงครั้งเดียว  โดยต่อไปเป็นเรื่องที่หน่วยงานรับผิดชอบ   เป็นการบังคับให้หน่วยงานราชการเชื่อมโยงข้อมูลกัน   ข้อมูลของชาวเอสโทเนีย เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน ไม่ได้เป็นข้อมูลของรัฐ   ได้รับการแจ้งเตือนทุกครั้งที่หน่วยงานราชการเข้ามาดูข้อมูล  มีกฎหมายบังคับว่าหน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงช้อมูลระดับไหน  ทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย   และสามารถรักษาสิทธิ์กรณีฟ้องร้อง   ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ รัฐมีหน้าที่วางระบบซิเคียวริตี้ที่มั่นคง   รัฐมีการสำรองข้อมูลทั้งหมดไว้ต่างประเทศ  หากมีกรณีเกิดภัยพิบัติ ยังมีข้อมูลของประชาชนอยู่สำรองไว้

 

“หลักสำคัญระบบราชการคลิกเดียว  ลดภาระการทำงานราชการ ลดต้นทุน  ลดขนาดราชการที่่อุ้ยอาย เป็นภาระภาษีกับประชาชน” 

นายกรณ์ กล่าวต่อไปว่า  นโยบาย 2  สิ่งสำคัญการปฎิรูปการเงิน  ต้องเป็นดิจิทัล เป็น  Cashless  ลดค่าใช้จ่าย โปร่งใส  ไทยเป็น มีต้นทุนเข้าถึงบริการการเงินสูงสุด   ขณะที่ที่ผ่านมาการเข้าถึงการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหามาก   ตัวอย่างเช่น  โควิด สินเชื่อเอสเอ็มอี 1% ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไม่มีใครเข้าถึงสินเชื่อนี้ได้เลย   แบงก์ชาติไม่มีช่องทางอื่นเข้าถึงสินเชื่อก่อนนี้ นอกจากช่องทางผ่านธนาคารพาณิชย์   หากเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้ง  น่าจะทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น 

 

“5 ปีก่อนตนได้มีโอกาสตั้งสมาคมไทยฟินเทค   ทำให้ผู้ประกอบการมีตัวตน ต่อรองภาครัฐ  ทำให้มีโอกาสเติบโต ตัวอย่างที่ชัดเจน   คริปโท เอ็กซ์เชนจ์ วันนี้เห็นธนาคารมีการประเมินมูลค่าบิทคัพสูงแค่ไหน   การประเมินและปรับโครงสร้างระบบราชการการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นไปไม่ได้  นอกจากเปลี่ยนจากข้างนอก   นั่นถึงเป็นสาเหตุให้เอสซีบี ซื้อบิตคัพ ก่อนหน้านี้ทุ่มเงินมหาศาลพัฒนาดิจิทัลของตัวเองขึ้นมสุดท้ายไปไม่รอด    เข่นเดียวกับกระทรวงศึกษาต้องปฎิรูป   แต่ทำไม่ได้  ข้าราชการหลายคนเอื้อมระอา ต้องการเข้ามาพัฒนาประเทศ  แต่ทำไม่ได้เพราะติดระบบราชการ”

 

นายกรณ์  กล่าวต่ออีกว่า รัฐต้องเปิดโอเพ่นดาต้า     โดยต้องสร้างถึงข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบราชการขึ้นมา  นำข้อมูลมาประยุกต์ให้บริการประชาชน   และเปิดให้สตาร์ทอัพ  หรือผู้ประกอบการ  เข้ามาเชื่อมต่อบริการ 

 

ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ  แอพเป๋าตัง  ที่ตอนนี้มีผู้ใช้  30 ล้านคน  ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะคนรากหญ้ารับประโยชน์  และ  พร้อมที่จะเรียนรู้   สำคัญคือเขาได้ประโยชน์  ใช้งานง่าย    โดยการที่รัฐดึงประชาชน 30 ล้านคน ต้องใช้งบประมาณหลายหมื่นล้าน  แจกเงินให้เขาเข้ามา เป็นเรื่องที่บริษัทขนาดใหญ่ยังไม่กล้าทำ   อย่างไรก็ตามเจตนาของการพัฒนาแอพ เป๋าตังนั้นรัฐไม่ต้องการใช้เงินดึงคนเข้ามา  แต่ต้องการใช้เป็นช่องทางให้สวัสดิการรัฐกับประชาชน 

 

ประเทศไทยขาดแพลตฟอร์ม  เราทำบนแพลตฟอร์มต่างประเทศ สูญเสียทั้งเงิน  ดาต้า   มีโอกาสเป็นอย่างมากที่รัฐจะโอเพนดาต้า ให้สตาร์ทอัพ เข้ามาเชื่อมต่อบริการ   เราสามารถทำให้ 30 ล้านคนมาอยู่ในที่เดียว แต่ขาดวิสัยทัศน์ในการต่อยอดบริการออกไป 

 

สำหรับแนวความคิดสำคัญ   เรื่อง ฟิวเจอร์เทรนด์ ดิจิทัล อีโคโนมี  คือ เทคโนโลยีไร้ขอบเขต  อะไรที่คนสหรัฐ ใช้บริการ คนไทยใช้บริการได้เหมือนกัน  การเข้าถึงไม่เคารพกติกา  จีนห้ามขุดบิตคอยน์   แต่ห้ามเทรดไม่ได้   เราไม่สามารถปิดประเทศเพื่อสกัดกั้นได้เหมือนในอดีต , บริการแบบอัตโนมัติ  มันมีเงื่อนไขในสัญญา  ถ้าผ่านเงื่อนไขระบบทำงานอัตโนมัติ , เทคโนโลยี DeFi   ไม่ต้องมีคนกลาง   ธุรกรรมไร้พรมแดนตัดบทบาทคนกลางออกไป   และเศรษฐกิจใหม่แบบในโลกจินตนาการ   เมทาเวิร์ส   ขายสินค้าและบริการแบบโลกจินตนาการ ซึ่งเป็นโลกคู่ขนาน

 

นายกรณ์ กล่าวย้ำตอนท้ายว่าหากไทยต้องการปฎิรูปไปสู่ดิจิทัล  นั้นจะต้องเร่งปฎิรูประบบการศึกษา  เข้าสู่การศึกษาส่งเสริมแนวคิดนวัตกรรม    , ปฎิรูประบบการเงิน     และ ปฎิรูประบบราชการ  กฎเกณฑ์ระบบราชการจะเป็นตัวดึงให้การเปลี่ยนแปลงทำได้ยาก