5 ปี โลกเสี่ยงร้อนเกิน 1.5 องศา ประเทศร่ำรวยอาจชดเชย 170 ล้านล้านดอลลาร์

08 มิ.ย. 2566 | 04:04 น.

นักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนอีก 5 ปี โลกของเราเสี่ยงร้อนเกิน 1.5 องศา ขณะที่ประเทศร่ำรวยเเละปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เสี่ยงจ่ายเงินชดเชยความเสียหายสภาพภูมิอากาศสูงถึง 170 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593

โลกกำลังอยู่ใน “จุดเปลี่ยน” จากวิกฤตสภาพอากาศที่ทุกประเทศต้องละทิ้งผลประโยชน์ของชาติเพื่อต่อสู้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติเตือน

ไซมอน สตีล เลขานุการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชี้ให้เห็นการค้นพบล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์ว่า อุณหภูมิมีแนวโน้มจะสูงเกินเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมภายใน 5 ปีข้างหน้า

เลขาธิการ UN พูดคุยกับตัวแทนเกือบ 200 ประเทศที่รวมตัวกันในกรุงบอนน์ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ด้านสภาพอากาศของ UN เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาตามข้อตกลงสภาพภูมิอากาศปารีสปี 2558 และจำกัดความร้อนของโลกให้เหลือแค่ 1.5 องศาเซลเซียส

 

ไซมอน สตีล

การประชุมสุดยอด COP27 เมื่อปีที่แล้ว ประเทศต่างๆ เห็นพ้องจัดตั้งกองทุน "การสูญเสียและความเสียหาย" จัดหาเงินทุนและจ่ายชดเชยทางเศรษฐกิจให้กับประเทศยากจนที่ได้รับผลจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดที่ต้องชี้แจง ที่ COP28

งานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Sustainability คำนวณว่าประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่มากเกินไปอาจต้องจ่ายเงินชดเชยสูงถึง 170 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 5,865 ล้านล้านบาท มากกว่ามูลค่าจีดีพีของประเทศไทยในปี 2565 ที่มีมูลค่า 17.3 ล้านล้านบาท เกือบ 400 เท่า ภายในปี 2593 เพื่อให้โลกบรรลุเป้าหมายด้านการรักษาสภาพแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ค่าชดเชยที่เสนอซึ่งมีมูลค่าเกือบ 6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี จะจ่ายให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมลพิษต่ำ ประเทศเหล่านี้ต้องมีเงินทุนมากพอเพื่อใช้ในการยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

แต่ในทางกลับกัน สหราชอาณาจักรได้ใช้งบประมาณคาร์บอนนี้เกินสัดส่วนของตัวเองไปมากถึง 2.5 เท่า และอาจต้องจ่ายค่าชดเชยสูงถึง 7.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2050 สำหรับการปล่อยมลพิษ 

การศึกษา พบว่า 55 ประเทศทั่วโลกรวมถึงแอฟริกาใต้และอินเดีย จะต้องเสียสละงบประมาณ คาร์บอน หรือปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แต่ละประเทศสามารถปล่อยออกมาได้โดยไม่กระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปถึง 75% แต่ในทางกลับกัน สหราชอาณาจักรใช้งบประมาณคาร์บอนเกินสัดส่วนไปว่า 2.5 เท่า และจะต้องรับผิดชอบจ่าย 7.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 ขณะที่สหรัฐฯ ใช้งบในส่วนนี้เกินไปมากว่า 4 เท่า ในการเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และอาจต้องรับผิดชอบค่าชดเชย 80 ล้านล้านดอลลาร์ภายใต้โครงการนี้

เพื่อรักษาระดับความร้อนของโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส งบประมาณคาร์บอนทั่วโลกทั้งหมดเริ่มต้นจากปี 1960 คือ 1.8 ตันของ CO2 หรือเทียบเท่ากับก๊าซเรือนกระจก ตามตัวเลขของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)

นักวิจัยจะคำนวณว่า 168 ประเทศใช้ส่วนแบ่งของงบประมาณคาร์บอนทั่วโลกมากหรือน้อยเพียงใดตั้งแต่ปี 1960 (พ.ศ.2503) มีอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ภายในสัดส่วนที่กำหนด แต่ประเทศในซีกโลกเหนืออย่าง สหรัฐฯ ยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อิสราเอล ทำลายชั้นบรรยากาศส่วนรวมเกินไปอย่างมาก

เกือบ 90% ของการปล่อยมลพิษส่วนเกินลงมาทางตอนเหนือของโลกที่มั่งคั่ง ในขณะที่ส่วนที่เหลือมาจากประเทศที่ปล่อยมลพิษสูงทางตอนใต้ของโลก โดยเฉพาะรัฐที่อุดมด้วยน้ำมัน เช่น ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

5 ประเทศที่ปล่อยมลพิษต่ำซึ่งมีประชากรจำนวนมาก ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ไนจีเรีย และจีน (ปัจจุบันเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซมากที่สุดในโลก) จะได้รับเงิน 102 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับการเสียสละส่วนงบประมาณคาร์บอนในการบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ข้อมูล : theguardian , nature.com