"GUNKUL" ชนะประมูลไฟฟ้าพลังงานทดแทนกว่า 832.4 เมกกะวัตต์

07 เม.ย. 2566 | 05:29 น.

"GUNKUL" ชนะประมูลไฟฟ้าพลังงานทดแทนกว่า 832.4 เมกะวัตต์ ผ่านเกณฑ์ กกพ. ทั้งพลังงานลม 180 เมกฯ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 83.6 เมกฯ  พลังงานแสงอาทิตย์ 12 โครงการ ปริมาณ 568.8 เมกฯ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน (Pass/Fail Basis) ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 

ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการพิจารณาทั้งสิ้นรวม 386 ราย เพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาคัดเลือก โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประชุมครั้งที่ 17/2566 (ครั้งที่ 845) วันที่ 5 เมษายน 2566 ได้พิจารณาเห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบ กกพ. สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 175 ราย รวมปริมาณการเสนอขาย 4,852.26 เมกะวัตต์ จากกำหนดรับซื้อทั้งหมด 5,203 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย 
 

  • พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System: BESS) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 24 ราย รวมปริมาณการเสนอขาย 994.06 เมกะวัตต์
  • พลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน รวม 129 ราย ปริมาณการเสนอขาย 2,368.26 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 39 ราย รวมปริมาณ 1,877.96 เมกะวัตต์ แบัผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) 90 ราย รวมปริมาณ 490.04 เมกะวัตต์ ส่วนก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
  • เชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ตามมีผู้ผ่านการพิจารณา จำนวน 13 รายจาก 18 ราย เสนอขายรวม 100 เมกะวัตต์
  • พลังงานลม มีผู้ผ่านเกณฑ์ 22 ราย รวมปริมาณการเสนอขาย 1,490.20 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 20 ราย 1,474.20 เมกะวัตต์ และ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) 2 ราย รวม 16.00 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ชนะการประมูลเป็นอันดับ 2 ได้แก่ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL 

โดยชนะประมูลไปทั้งหมด 17 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 832.4 เมกะวัตต์  ประกอบด้วย 

  • พลังงานลมจำนวน 2 โครงการ ปริมาณ 180 เมกะวัตต์ 
  • พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน จำนวน 3 โครงการ ปริมาณ 83.6 เมกะวัตต์ 
  • พลังงานแสงอาทิตย์ 12 โครงการ ปริมาณ 568.8 เมกะวัตต์