สำรวจ Climate Tech ช่วยกอบกู้โลกร้อน-โลกรวน

17 ก.พ. 2566 | 02:49 น.

สำรวจ Climate Tech ที่เข้ามาช่วยกอบกู้โลกร้อน-โลกรวน ในยามที่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เพิกเฉยไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นเรื่องเร่งด่วน ตัวเลข​อุณหภูมิ​โลก​ที่​เพิ่ม​ขึ้น 1-2 องศา​เซลเซียส ไม่​ใช่​เรื่อง​ที่​มนุษย์​ควร​เพิกเฉย แต่​ยิ่ง​ทำให้​ต้อง​ตื่นตัว​มาก​ขึ้น เพราะ​​คือ​สัญญาณ​ความ​เปลี่ยนแปลง​ของ​อนาคต​ของ​โลก และ​มนุษย์​จะ​ได้​รับ​ผล​กระทบ​เต็มๆ

นัก​วิทยาศาสตร์เตือนว่า ​หาก​อุณหภูมิ​โลก​ขยับ​ขึ้น​ถึง 2 องศา​เซลเซียส คาด​การณ์​ว่า​จะ​ทำให้​แผ่นดิน​โลก​มาก​กว่า 1 ใน 4 ประสบ​ภาวะ​แห้งแล้ง

Climate Technology

เทคโนโลยีด้านสภาพอากาศ หรือ Climate Technology เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อโลก ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด จนนำ AI มาคำนวณโลกอุณหภูมิของโลก นักวิจัยจาก Stanford University และ Colorado State University  

ใช้ AI ทำนายสถานการณ์อุณหภูมิโลกพบว่าโลกใกล้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินระดับ 1.5 องศาเซลเซียสในช่วง 10-15 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงในอีก 20-30 ปีข้างหน้า มีโอกาส 50% ที่โลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสในกลางศตวรรษนี้

คำถามก็คือ แม่นยำมากแค่ไหน ? 

นักวิทยาศาสตร์มีการตรวจสอบความแม่นยำด้วยการป้อนข้อมูลช่วงปี 1980-2021 ระบบได้ประมวลผลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความเเม่นยำ อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น 1.1 องศาเซลเซียสในปี 2022  รวมถึงรูปแบบอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความเร็วของการเปลี่ยนแปลง

UNEP หรือ United Nations Environment Programme กำลังนำ AI มาร่วมแก้ปัญหา Climate Change สู่ Net Zero โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล World Environment Situation Room (WESR) 

เป็นเสมือนเซ็นเซอร์จับตาสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของทั้งโลก เพื่อนำไปวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง โดยตรวจสอบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของมวลธารน้ำแข็ง ไปจนถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล รวมทั้งตรวจสอบการปล่อย ก๊าซมีเทน ที่เป็นอีกหนึ่งตัวการภาวะโลกร้อนที่ต้องได้รับการควบคุมจัดการ ไม่ใช่เพียงแค่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ หน่วยงาน องค์กร 

GEMS Air Pollution Monitoring เครือข่ายข้อมูลตรวจจับคุณภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย UNEP ยังร่วมกับ IQAir รวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 25,000 แห่งใน 140 ประเทศ  AI วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของคุณภาพอากาศ พร้อมแจ้งมาตรการป้องกันด้านสุขภาพ

Google ใช้ AI สร้างระบบทำนายน้ำท่วม

ก่อนงานสัมมนา COP27 Google ประกาศเครื่องมือ “Flood Hub” ทำนายพื้นที่น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้  โดยมีโค้ดสีกำกับให้เห็นชัดเจน Google หวังว่าเครื่องมือนี้จะสามารถช่วยให้ผู้คนเห็นความเสี่ยงจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น องค์กรหรือภาครัฐจะสามารถระดมความช่วยเหลือได้ตามสถานการณ์ที่้เกิดจริงได้ทัน

AI ช่วยดับไฟป่า

Eversense บริษัทสตาร์ทอัพอิสราเอล พัฒนาเซ็นเซอร์กระตุ้นความร้อนที่ใช้ตรวจจับไฟป่าได้ในระยะเริ่ม ออกแบบโซลูชันให้ใช้งานง่ายได้ในทุกสภาพอากาศ โดยไม่ต้องบำรุงรักษา ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ หรือแหล่งพลังงานภายนอก สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของการเกิดเพลิงไหม้ได้ ถูกนำไปทดสอบติดตั้งในสถานที่จริง เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงาน 

Pano ตรวจจับไฟป่า

“ระบบเอไอตรวจจับไฟป่า” ถูกพัฒนาโดย มหาวิทยาลัยโคโลราโด ในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมวลผลจากข้อมูลของดาวเทียม แจ้งเตือนเจ้าของบ้านและผู้คน สามารถช่วยหน่วยดับเพลิงประเมินสถานการณ์ ถูกนำไปใช้กับบริษัทสาธารณูปโภค องค์กรรัฐ หน่วยงานดับเพลิง บริษัทป่าไม้ และเจ้าของที่ดินเอกชนอื่นๆ ให้บริการใน แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด โอเรกอน ไอดาโฮ และมอนทานา และสองรัฐในออสเตรเลีย มีแผนจะขยายกำลังไปทั่วโลก

สตาร์ทอัพสาย Climate Tech

ขณะที่ในด้านการลงทุน พบดีลลงทุนในสตาร์ทอัพสาย Climate Tech 539 ฉบับ เทียบกับ 547 ฉบับในช่วง3เดือนจนถึงเดือนมิถุนายน 2565 จากการทบทวนของแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

 

ข้อมูล : engadget.com , wesr.unep.org , jpost