“เนื้อสัตว์เทียม” คืออะไร ทำไมถึงเป็นอาหารแห่งอนาคต

30 ม.ค. 2566 | 22:43 น.

“เนื้อสัตว์เทียม” คืออะไร ทำความรู้จักเนื้อสัตว์ ที่ไม่ได้มาจากการปศุสัตว์ สำคัญอย่างไรต่อมนุษยชาติ ทำไมถึงเป็นอาหารแห่งอนาคต

เนื้อสัตว์เทียม ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ไม่ใช่เนื้อสัตว์ประเภท plant based แต่หมายถึง แนวคิดการเพาะเนื้อสัตว์ในห้องแล็บที่เรียกว่า ‘Lab-grown meat’ หรือคือการผลิตเนื้อสัตว์ขึ้นมาในห้องแล็บโดยเนื้อเยี่อ ของเนื้อสัตว์จริง 

ด้วยในปัจจุบันที่โลกตระหนักถึงความยั่งยืน และการรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อให้มนุษยชาติยังคงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข การปศุสัตว์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากถึง 18% นี่จึงเป็นสาเหตุให้นักวิทยาศาสตร์ มุ่งคิดค้นอาหารแห่งอนาคต เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนชดเชยการทำปศุสัตว์เช่นในอดีต

เนื้อสัตว์เทียม

เนื้อสัตว์เทียม หรือ Cultured meat คืออะไร

เนื้อสัตว์เทียม หรือ Cultured meat คือ การนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเล็กๆจากสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มาทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เซลล์เนื้อเยื่อนั้นมีการขยายขนาด และแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องทำบนเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ โดยกว่าจะได้ชิ้นเนื้อที่มีขนาดที่เพียงพอต่อการรับประทานได้นั้น ต้องใช้เวลาประมาณ 9 สัปดาห์ด้วยกัน

ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีบริษัทพัฒนาเนื้อสัตว์เทียมจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเช่นนี้ เพื่อที่จะเป็นบริษัทแรกที่มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหรัฐ สิงคโปร์ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน อิสราเอล และเนเธอร์แลนด์

ประโยชน์จาก เนื้อสัตว์เทียม หรือ Cultured meat

หาก เนื้อสัตว์เทียม หรือ Cultured meat พัฒนาได้สำเร็จ จนเป็นทางเลือกของแหล่งโปรตีนที่มาจากสัตว์ มีรสสัมผัสทุกประการไม่ได้แตกต่างจากเนื้อสัตว์ที่มาจากการปศุสัตว์ ย่อมเป็นอาหารแห่งอนาคต ที่ช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก และยังลดการใช้ที่ดิน และทรัพยากรน้ำได้อีกด้วย