Net Zero Emission: ถอดรหัสความร่วมมือรัฐ-เอกชน สู่การลดคาร์บอนปี 2050

24 พ.ย. 2565 | 18:00 น.

Net Zero Emission: ถอดรหัสความร่วมมือรัฐและเอกชน เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานแห่งอนาคต สู่การลดคาร์บอนปี 2050

หากย้อนกลับไปในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ กำลังวางแผนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นอ่านถ้อยแถลง ณ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำโลก(World Leader Summit) ในเวที COP26 ที่เมืองกลาสโกว์

 

ที่มีตอนหนึ่งระบุว่า ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ และทุกวิถีทาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065

และด้วยการสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ โดยมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถยกระดับ NDC (Nationally Determined Contribution)  ขึ้นเป็น 40% ได้ ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งการที่ไทยตั้งเป้าคาร์บอนเป็นกลาง และ Net Zero ของก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้สั้นลงนั้น คาดการณ์ว่าจะทำให้อุณหภูมิของโลก ไม่สูงขึ้นถึง 1.5-1.6 องศาเซลเซียล

กระทั่ง การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) ไทยก็ย้ำว่าได้ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการประชุม COP26 ด้วยการจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ฉบับปรับปรุง ตั้งเป้าในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก จาก Maximum ของไทย388 ล้านตันต่อปี ลงไปเหลือ 120 ล้านตันต่อปี และการบรรลุปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หากได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ

 

ในงาน Decarboize Thailand symposium 2022 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ True Digital Park ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการลดปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ให้กับประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจในประเทศที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ไปด้วยกัน ให้สามารถไปสู่เป้าหมายนั้นได้ตามที่หวังไว้

 

Net Zero Emission: ถอดรหัสความร่วมมือรัฐ-เอกชน สู่การลดคาร์บอนปี 2050

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) กล่าวว่า ทั่วโลกและประเทศไทยต่างตระหนักถึงภัยจากโลกรวน ซึ่งทำให้ที่ผ่านมาหลายประเทศต้องเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาต เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ภัยแล้ง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 9 ที่ได้รับผลกระทบ

 

ปัจจุบันประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนโยบายทั้งการปลูกต้นไม้ ป่าชายเลน เพิ่มพื้นที่สีเขียวและการประสานกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อร่วมกันลดการปล่อยจาดการใช้พลังงาน การขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเษตร ซึ่งการมุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยภครัฐจะต้องเป็นผู้นำในการสนับสนุนองค์ความรู้ สร้างมาตรฐานในการวัดและประเมินผล ออกกฎหมายทั้งในเชิงส่งเสริมและจำกัดขอบเขตเพื่อให้เอกชนเกิดแรงจูงใจในการลงทุนกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง เพื่อสร้างโอกาสของธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน ทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนที่ต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

“ไทยมีโอกาสสูงที่จะพลิกไปสู่รูปแบบใหม่ รัฐ เอกชน ต้องช่วยกัน ฝั่งรัฐบาลต้องประสานเอกชนและสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็ง ธนาคารสนับสนุนการให้เงินทุน โดยต้องประเมินว่าธุรกิจไหนเป็นกรีน และคงมีไม่พ้นเรื่องการวัด Carbon Footprint ต้องสร้างมาตรฐานที่ไดด้รับการยอมรับ รัฐต้องส่งเสริมให้ทั้ง 76 จังหวัดมีการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจก เปิดโอกาสในเรื่องคาร์บอนเครดิตมาแลกเปลี่ยนซื้อขาย และที่สำคัญเอกชนต้องปรับตัวและมองให้เป็นโอกาสในการสร้างงานใหม่ เหมือนอเริกา จีน ญี่ปุ่น ก็มองเรื่องนี้เป็นโอกาส”  นายเกียรติชาย กล่าว

 

สอดคล้องกับ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขาธินุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่มองว่าไทยอยู่ในจุดที่เป็นโอกาสของโลก โดยมีความพร้อมทั้งฐานชีวภาพ ต้นทุนเชิงซัพพลาย หากเทียบกับเวียดนาม อินโดนีเซีย ถือว่าไทยมีแต้มต่อในเชิง พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy : RE) Carbon Footprint โดยเฉพาะหลังการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ผู้นำโลกก็ให้การยอมรับ

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหรกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือละลาย อาจเกิดปัญหาน้ำท่วมในประเทศต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายทะเล เราเห็นปัญหาภัยพิบัติที่ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น อย่างในปีนี้หลายประเทศในยุโรปร้อนจัด บางประเทศมีอุณหภูมิสูงถึง 40-50 องศา

 

ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเมื่อกติกาของโลกคือการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากศ เรื่องก๊าซเรือนกระจก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวอยู่เสมอ เพราะต้องเจอกับความท้าทายไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลและรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ (Digital Disruption) ที่เร่งการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรม ประเด็นสงครามการค้า (Trade War) ที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ความขัดแย้งระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน

 

สำหรับนโยบายในเรื่องความยั่งยื่นของ ส.อ.ท.นั้นแบ่งภาคอุตสาหกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก “Frist Industries” กลุ่มนี้เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม กำลังถูกดิสรัปชัน  ทาง ส.อ.ท. ก็พยายามหาทางช่วยเหลือ ทั้งในเรื่องของนวัตกรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างแพลตฟอร์มให้  กลุ่มที่ 2 เป็น Next-gen Industries แห่งอนาคต เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ ส.อ.ท. ยังได้จัดตั้งสถาบันใหม่ที่เรียกว่า “สถาบัน Climate Change” ขึ้นมา และกำลังพยายามทำแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งมี 45 กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ต้องการใช้คาร์บอนเครดิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดสามารถที่จะนำมาเทรดได้

 

“เรื่องโลกร้อน ประเทศอื่นทำไปหมดแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมและทำให้เร็วคือต้องเป็นผู้นำ ประเทศไทยมี RE ในสัดส่วนที่มาก จะทำให้สำเร็จระดับโลกต้องมีไฟแนนซ์เข้ามา โดยเฉพาะกรีนไฟแนนซ์ ประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังต้องมีมาตรการการคลัง เช่นการลดภาษี กองทุนสนับสนุน”

 

Net Zero Emission: ถอดรหัสความร่วมมือรัฐ-เอกชน สู่การลดคาร์บอนปี 2050

นายเกียรติชาย เสริมประเด็นเรื่องกองทุน ระบุว่า ที่ผ่านมานายกรัฐมาตรีตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกโดยมีเงื่อนไขว่าอยู่บนการสนับสนุนและช่วยเหลือจากต่างประเทศ จากการประชุม COP 27 เป้าหมายของโลกคือ กองทุนโลกร้อน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะต้องนำมาช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ในส่วนของไทยอยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างธีมในการสนับสุนนเชิงนโยบาย เรื่องภาษี กองทุน

 

“ไทยควรได้รับเงินทุน เราต้องยูรณาการร่วมกับเอกชน ต้องแสดงศักยภาพก่อนกองทุนถึงจะเข้ามาได้”

 

สำหรับประเด็นตลาดคาร์บอนเครดิตไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสของภาคธุรกิจ เมื่อมาดูภาพรวมตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ที่เป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ได้เข้าร่วมโครงการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (T-VER) มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตตามโครงการดังกล่าว ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 เติบโต 425% เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งปี 2564 และคิดเป็นเพียง 0.3 % ของก๊าซเรือนกระจกจากประเทศไทยปล่อยทั้งหมดต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในทุกปี

 

ส่วนภาพรวมตลาดคาร์บอนเครดิตโลกในช่วงที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท และประเมินมูลค่าตลาดจะสูงถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญ หรือประมาณ 7.50 แสนล้านบาท ในปี 2573 ดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ขับเคลื่อนไปด้วยกันน่าจะเป็นหมุดหมายที่ดีที่จะทำประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ในระยะยาว

 

Net Zero Emission: ถอดรหัสความร่วมมือรัฐ-เอกชน สู่การลดคาร์บอนปี 2050