“Blue Carbon Society” เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

20 มี.ค. 2561 | 06:35 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ จัดงานเปิดตัว “Blue Carbon Society” เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561 พร้อมเชิญแขกพิเศษเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

“Blue Carbon Society” เปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยคู่ผู้บริหารนักพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ โดยมีแขกพิเศษที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่ นายมาร์ติน ฮาร์ท-แฮนเซ่น รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (Martin Hart-Hansen, Deputy Resident Representative of UNDP Thailand), ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง (DMCR) พร้อมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดารา นักร้อง นักแสดง อาทิ หมาก - ปริญ สุภารัตน์, นนท์ - ธนนท์ จำเริญ หรือ นนท์ เดอะ วอยซ์ เป็นต้น

ในฐานะผู้ก่อตั้ง “Blue Carbon Society” ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ กล่าวว่า บลู คาร์บอน มีส่วนช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) ได้ โดยอาศัยศักยภาพของท้องทะเลในการเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ผ่านองค์ประกอบหลักของระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง (Marine and Coastal Ecosystem Components) อาทิเช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล และที่ลุ่มน้ำเค็ม เมื่อพิจารณาสัดส่วนของพื้นน้ำ พบว่าโลกมีพื้นที่ ¾ เป็นพื้นที่น้ำ หากเราพัฒนาพื้นที่ทางทะเล และชายฝั่งทะเลให้มีความสมบูรณ์ได้ จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ

"Blue Carbon Society" องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร จึงเชิญชวนคนไทยทุกคนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งทะเล โดยหวังขยายเครือข่ายผู้มีจิตอนุรักษ์ และเป็นพื้นที่ของทุกคนในการเรียนรู้ถึงความสำคัญในการดูแล รักษา และฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์ยั่งยืนสืบไป

ทั้งนี้ นายมาร์ติน ฮาร์ท-แฮนเซ่น รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP) ขึ้นกล่าวปาฐกถา โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด คือ ประเทศไทยทิ้งขยะลงแม่น้ำมากที่สุด ส่งผลให้ขยะไหลลงสู่ทะเลเป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาวาฬ

นอกจากนี้ นายมาร์ติน เปิดเผยผลสำรวจพื้นที่ป่าในประเทศไทย พบว่าในปี 1961 มีพื้นที่ป่าร้อยละ 53 และในปี 2013 พื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียงร้อยละ 31 ซึ่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกครั้ง จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสำหรับการฟื้นฟูมากกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 189,359,996,928 บาท) ซึ่งภาครัฐไม่สามารถแบกรับภาระได้เพียงผู้เดียว จึงจำเป็นต้องมีภาคเอกชน รวมถึงองค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่ง “Blue Carbon Society” เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของภาคเอกชน ที่จะช่วยอนุรักษ์ และฟื้นฟูความหลากลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยนำความสวยงามของสิ่งแวดล้อมกลับมาในประเทศไทยอีกครั้ง ภาพข่าวบันเทิง
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมกันพิทักษ์โลกไปกับ “Blue Carbon Society” สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง www.bluecarbonsociety.org หรือ www.facebook.com/bluecarbonsociety ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว