เวนคืน รถไฟฟ้าสายสีส้ม จุดพลุทำเลทอง คอนโด ดันราคาที่ดินพุ่ง

08 ส.ค. 2567 | 05:48 น.
อัพเดตล่าสุด :08 ส.ค. 2567 | 05:56 น.

เวนคืน ที่ดิน – สิ่งปลูกสร้าง แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม จุดพลุทำเลทอง  ดันราคาที่ดินพุ่ง ประชาสงเคราะห์วิภาวดี ราคา2แสนบาทต่อตารางวา ราคาประเมิน แค่5.6หมื่นล้านบาทต่อตารางวา ฝั่งรัชดาฯ ราคา 1.1ล้านบาทต่อตารางวา

 

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP : Notice to Proceed) ต่อบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM 

เพื่อก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)  ในส่วนตะวันตกเรียบร้อยแล้ว และมีกำหนดเข้าพื้นที่ในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป

เวนคืนสายสีส้ม

 

ทั้งนี้เงื่อนไขสัญญาร่วมทุนฯแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกงานติดตั้งระบบรถไฟฟ้าช่วงตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรีแล้วเสร็จภายใน 3 ปี 6 เดือน

ส่วนที่สอง ก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ตลอดแนวพร้อมสถานีใต้ดิน รวมถึงการติดตั้งระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ่าสายสีส้มส่วนตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯให้แล้วเสร็จภายใน 6 ปี

ขณะการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) งบประมาณกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท รฟม.เริ่มลงพื้นที่ดำเนินการตาม ประกาศของเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกา

กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2567 จำนวน 40 เขตที่ดิน เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้า

ตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวิทวงศ์ )

ทั้งนี้ทำเลศักยภาพน่าจับตาจะอยู่บริเวณชุมชนประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้รับผลกระทบจำนวน7ชุมชนเขตดินแดง และเป็นเวิ้งใหญ่ด้านหลังห้างเอสพานาด รัชดาฯ ที่เป็นที่ตั้งของชุมชน “ชานเมือง” มีประชาชนอยู่อาศัยกว่า 1,000หลังคาเรือน

ที่จะถูกเวนคืนบางบริเวณ และชุมชนฝั่งวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นชุมชนแม่เนี้ยวแยก2 แยก3 ฯ  มองว่าอนาคตจะเป็นที่ตั้งของคอนโดมิเนียมการพัฒนาเชิงพาณิชย์แม่เหล็กดึงดูดการลงทุนมาอยู่บริเวณนี้

ส่วนราคาซื้อขายที่ดินจากการบอกเล่าของคนในชุมชน อยู่ที่ 2 แสน บาทต่อตารางวา (ฝั่งวิภาวดี) ส่วนราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์อยู่ที่ 5.6 หมื่นบาทต่อตารางวา

มองว่าจะมีบริษัทพัฒนาที่ดินให้ความสนใจ อีกแปลงที่น่าจับตาจะเป็นที่ดินโรงเรียนดรุณพาณิชยการ ซึ่งเป็นโรงเรียนร้าง เป็นที่ตั้งของสถานีประชาสงเคราะห์ โดยมีนายทุนเข้ามาซื้อที่ดินของโรงเรียนดรุณฯ 24 ไร่ ปัจจุบันเปิดเป็นที่จอดรถให้เช่า

ส่วนฝั่งสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย น่าจับตาเนื่องจากเป็นสถานีร่วมระหว่างสายสีส้มและMRTสายสีนํ้าเงินที่เปิดให้บริการปัจจุบันและมีที่ดินแปลงใหญ่ของเอกชนอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการเกิดขึ้นขณะราคาที่ดินขยับไปที่  1.1 ล้านบาทต่อตารางวา

นับเป็นทำเลที่น่าจับตายิ่งสำหรับแนวเส้นทางสายสีส้ม!!