เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

31 มี.ค. 2565 | 02:30 น.

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

“จังหวัดตราด” จังหวัดปลายแหลมสุดของประเทศไทยภาคตะวันออก ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในแง่สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติสวยงาม และยังเป็นแหล่งอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ เกาะสวยงามและทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย โดยเฉพาะเกาะช้าง ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ทำให้ตราดคืออีกเป้าหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี

แต่อีกหนึ่ง “ของดี ของเด่น” ที่เรียกได้ว่าคือ Hidden Gems ที่ซุกซ่อนอยู่ของจังหวัดตราด และสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดนับพันล้านบาทแต่ละปี นั่นคือ ตราดยังเป็นอีกแหล่งผลิต “ทุเรียน” ชื่อดังและมีคุณภาพที่ได้รับยอมรับในหมู่นักชิมทั้งในและต่างประเทศ

ที่สำคัญ ตราดยังได้รับสมญาว่าจังหวัดที่ “ทุเรียนลูกแรกของประเทศ” ออกในแต่ละปี เนื่องจากมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นแหลมยื่น ที่มีฝั่งทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน ทำให้เป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่เป็นผู้กำหนดราคาก่อนทุกปีโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่าวใหญ่ และตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด สำหรับปี 2565 คาดการณ์ว่าผลผลิตจะมีปริมาณ 1,700 ตัน ปริมาณตู้บรรจุส่งออก จำนวน 96 ตู้ คิดเป็นมูลค่า 325 ล้านบาท

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

แต่ไม่เพียงเท่านั้น นอกเหนือจากการเป็นจังหวัดที่ทุเรียนออกก่อนที่แรกบนผืนดินไทย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกคนกำลังจะได้รู้จักจังหวัดตราดมากขึ้น ในฐานะจังหวัดที่มี  “ถนนสายทุเรียน” (Durian Road@Trat) เส้นทางท่องเที่ยวที่สวยงามและถูกจดจำในประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวได้มากขึ้น

•    จากเส้นทาง ตร. 4008 สู่ “ถนนสายทุเรียน”

แนวคิดริเริ่มของโมเดลถนนทุเรียนตราดนั้นมีเป้าหมายที่จะเป็น “ต้นแบบในการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาคีในตราด”  นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดตราดและหน่วยงานภาครัฐที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดตราดทุกกระทรวง ทุกระดับ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดย กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด แขวงทางหลวงชนบทตราด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานสนับสนุนทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ที่ต่างมาร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ การปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ เพื่อร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมตลอดห่วงโซ่ของการผลิตทุเรียน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้ดำเนินงานมาตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา จนเริ่มสร้างมูลค่า สามารถทำให้ภาพลักษณ์ทุเรียนเมืองตราดเป็นที่รู้จัก แพร่หลาย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

ไม่ว่าจะเป็นการนำร่องตั้งแต่การปั้นสโลแกน “ออกก่อน อ่อนไม่มี ต้องที่ตราด”  ไปจนถึงกิจกรรมติดป้ายบอกทาง ถนนทุเรียนตราด (Durian Road@Trat) เช่น การทำกิจกรรมปั่นปัดดอกทุเรียน โดยนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นำทีมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชนได้รวมกลุ่มกับแกนนำเกษตรกร ปั่นจักรยานเพื่อเป็นการออกกำลังกายในเขตพื้นที่ถนนทุเรียนตราด (Durian Road@Trat) หรือการสร้างจุดชมวิว “สวนทุเรียนริมเล ลุงอี๊ด” เป็นการชมวิว สวนทุเรียนที่ประยุกต์จาก บ่อเลี้ยงกุ้งริมทะเลก่อนมาปรับพื้นที่ปลูกทุเรียน เป็นภูมิความปัญญาสวนลุงอี๊ด และการเยี่ยมชมแปลง “สวนหลงบูรพา” เป็นต้น

อีกกิจกรรมไฮไลท์ที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ กิจกรรมจุดชิมทุเรียนลูกแรกของโลก ปี 2565 ที่จะจัดขึ้นวันที่ 1 เมษายน 2565 ณ สวนทุเรียนริมเล ต.อ่าวใหญ่ อ.เมือง จ.ตราด ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ร่วมกับแขวงทางหลวงชนบทตราดกำหนดเส้นทางถนนสาย ตร.4008 (แหลมศอก)  โดยมีแกนนำเกษตรกรชาวสวนทุเรียนตำบลอ่าวใหญ่ 5 เสือคนทำจริง เพื่อเป็นต้นแบบการผลิตทุเรียนคุณภาพ

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

•    กว่าจะเป็นถนนสายทุเรียน

เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปถึงเหตุผลที่ทำไมต้องมี “ถนนทุเรียนตราด” อาจกล่าวได้ว่า ถนนทุเรียนตราด ถือเป็นอีกมาตรการ หรือ “กลยุทธ์” สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมชื่อเสียงแบรนด์ “ทุเรียนตราด” ให้เป็นที่ประจักษ์ในวงกว้างยิ่งขึ้น รวมถึงช่วย “สร้างขวัญ กำลังใจ” ให้แก่ชาวสวนผู้ผลิตทุเรียนอีกทาง และส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกให้มีความรัก และความภาคภูมิใจในอาชีพ นำมาซึ่งการรักษามาตรฐานและคุณภาพในระยะยาว

เนื่องจากเป็นทราบดีว่า แม้ทุเรียนตราดจะได้รับความนิยมแพร่หลาย แต่ปัญหาที่ตามมาในฐานะทุเรียนล็อตแรกของฤดูกาลในแต่ละปี คือ เกษตรกรมักเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้เกิดทุเรียนด้อยคุณภาพ เป็นสิ่งที่ทำลายความเชื่อมั่นในสายตาผู้บริโภค 

การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ กระบวนการเก็บเกี่ยวทุเรียนจนถึงมือผู้บริโภค ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยกู้ภาพลักษณ์ และสร้างชื่อเสียงให้กับเกษตรกรตัวจริง ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้วางแนวนโยบายไว้

ขณะเดียวกัน การสร้างถนนสายทุเรียนนี้ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจและความหลากหลายของการท่องเที่ยวให้สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่

การประชาสัมพันธ์ยังสร้างการรับรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย จะเกิดการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในจังหวัดตราด ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดตราดเพิ่มมากขึ้น และทำให้จังหวัดตราดเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการท่องเที่ยว สินค้าและบริการ ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ มีความเป็นอยู่ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

•    ต้นแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม

สำหรับ “ถนนทุเรียนตราด (Durian Road@Trat)” จะมีการพัฒนาเส้นทางถนนทางหลวงชนบท ตร. 4008 หมู่ 1ต.อ่าวใหญ่ อ.เมือง จ.ตราด ระยะทาง 6 กิโลเมตร ตัดผ่านสวนทุเรียนจากบ้านแหลมศอกไปท่าเรือแหลมศอก-เกาะกูด ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าจะมีศักยภาพกลายเป็นอีกหนึ่งเส้นทางผลไม้และแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องสวนทุเรียนคุณภาพ

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

โครงการยังมุ่งเน้นให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนร่วมพัฒนาพื้นที่บริเวณสองข้างทาง มีป้ายแนะนำสวนเป็นที่สังเกตได้ชัดเจน ง่ายแก่ผู้สัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าว ทั้งยังเน้นการพัฒนาพื้นที่โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นใกล้เคียงกับเส้นทางดังกล่าว ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าระแนะ วิสาหกิจชุมชนน้ำพริกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านคันนาตำบลห้วงน้ำขาว วิสาหกิจชุมชนกุ้งแห้งป้าแจ๋ว วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเปร็ดใน วิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดตำบลห้วงน้ำขาว วิสาหกิจชุมชนบ้านเปร็ดใน และวิสาหกิจชุมชนของดีบ้านสามแหลม พร้อมทั้งยังมีการสร้างเกษตรกรต้นแบบ 5 เสือคนทำจริง ต้นแบบการส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพและได้มาตรฐาน

เปิดโมเดลปั้น “ทุเรียนตราด” ผ่านยุทธศาสตร์ “ถนนสายทุเรียน”

จึงกล่าวได้ว่า ถนนสายทุเรียนตราด คือการสร้างคุณค่า สร้างพลังชุมชนแก่ผู้ผลิตทุเรียน ด้วยมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่สะท้อนถึงปลายทางแห่งความยั่งยืนของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง