โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นารี ตัณฑเสถียร” เป็นอัยการสูงสุดคนที่ 17

28 ก.ย. 2565 | 05:37 น.

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นารี ตัณฑเสถียร” ให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด คนที่ 17 มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นไป ถือเป็นอสส.หญิงคนแรกของไทย เผยประวัติไม่ธรรมดา

เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศวุฒิสภา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ 


โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นางสาวนารี ตัณฑเสถียร อธิบดีอัยการ สํานักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ


นายพรเพชร วิชิตชลชัย 


ประธานวุฒิสภา

                              โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นารี ตัณฑเสถียร” เป็นอัยการสูงสุดคนที่ 17

สำหรับ นางสาวนารี ตัณฑเสถียร ชื่อเล่น เปี้ยก เกิดวันที่ 10 กรกฎาคม 2501 ปัจจุบันอายุ 64 ปี เป็น อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด  


จบปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เนติบัณฑิตไทย พ.ศ.2523 ,ปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบ Howard University Wash, DC สหรัฐ อเมริกา ,ปริญญาโทด้านกฎหมายระหว่างประเทศ The American University, วอช ดีซี สหรัฐ อเมริกา,ปริญญาโทด้านกฎหมายการให้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ Vrije Universiteit of Brussel, Belgium (ทุนรัฐบาลเบลเยียม)  

ประวัติการทํางาน สํานักงานคดีอาญาธนบุรี, สํานักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด ,สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด ,ทำหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐ และเจรจาตรวจร่างสัญญาภาครัฐ -เลขานุการรองอัยการสูงสุด (นายตระกูล วินิจนัยภาค,เลขานุการอัยการสูงสุด ,อัยการพิเศษฝ่ายสัญญาและหารือ3, รองอธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ปัจจุบัน อธิบดีอัยการ สํานักงานที่ปรึกษากฎหมาย 


ประสบการณ์การทำงาน เป็นที่ปรึกษา และอาจารย์พิเศษได้เเก่ ที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ2547ถึงปัจจุบัน, ที่ปรึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2549 ถึงปัจจุบัน ,ที่ปรึกษากฎหมายโรงยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาตรี และปริญญาโท 2552ถึงปัจจุบัน, อาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  


ด้านการประชุมเจรจาระหว่างประเทศ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมกฎหมายอวกาศกับหน่วยงาน United Nations for Outer Space Activities กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ,ผู้แทนเข้าร่วมประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับกฎหมาย (Nuclear Law) ของทบวงการพลังงานปรมาณู (IAEA) เกาหลี, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ออสเตรีย, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย (1999-2006) 


ผู้แทนคณะผู้แทนในการเจรจาการซื้อก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย (พื้นที่พัฒนาร่วม), ผู้แทนในคณะผู้แทนไทยในการเจรจาและยกร่างสัญญาซื้อขาย LNG ก๊าซธรรมชาติเหลวเย็นระหว่าง บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) กับ บริษัท Pars LNG Ltd. ประเทศอิหร่าน , ฝรั่งเศส และ บริษัท Qatar Gas ประเทศการ์ตาร์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดในการประชุมการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สิน ทางปัญญาประเทศสหรัฐอเมริกา 2558  

 

ด้านกรรมการบริหาร กรรมการ อนุกรรมการ คณะทํางาน - กรรมการ ในคณะกรรมการประสานงานกำกับดูแลและติดตามผลการ ดำเนินการตามสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสี่แยกปทุมวัน (อาคาร เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์) ตามมาตรา 43และมาตรา 69(2) แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556


กรรมการในคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, กรรมการในคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามสัญญา ให้สิทธิใช้ประโยชน์โครงการให้สิทธิใช้ประโยชน์โครงการพัฒนาพื้นที่ หมอน 21-22(บริเวณหัวมุมสี่แยกสามย่าน) 


อนุกรรมการคณะอนุกรรมการสัมปทานปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ,อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ,อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างสัญญาโครงการระบบดาวเทียม เพื่อการสํารวจทรัพยากรธรรมชาติ (THEOS - 2)


คณะทำงานพิจารณาสัญญาจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของ สำนักงานสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ,อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองปัญหาการจ้างที่ปรึกษาและ การจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง (อทอ.) 


กรรมการบริหารคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ. ,อนุกรรมการด้านกฎหมาย และระเบียบของการยางแห่งประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทย ,อนุกรรมการบริหารสัญญาแบ่งปันผลผลิต กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ,อนุกรรมการพิจารณาข้อกฎหมายและร่างสัมปทานปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 

 

ด้านอนุญาโตตุลาการ เป็นอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรมข้อ พิพาทหมายเลขดำที่ 11/2550 ของสถาบัน อนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท ระหว่าง เทศบาลตำบลทับปุด ผู้เรียกร้อง กับ บริษัท เอเชียหรือเอเชีย อัลลายด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้คัดค้าน 


เป็นอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ข้อพิพาท หมายเลขที่34/2554 ระหว่าง บริษัท แม็กพาย แอดวานซ์ ซัพพลาย จํากัด ผู้เรียกร้อง กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้คัดค้าน, เป็นอนุญาโตตุลาการ สํานักงานสภาอนุญาโตตุลาการ สภาหอการการค้า แห่งประเทศไทย ข้อพิพาทหมายเลข าที่ 5/2553 ระหว่าง บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด (มหาชน) ฝ่ายผู้เรียกร้อง กับ การประปานครหลวง ฝ่ายผู้ถูกเรียกร้อง 


เป็นอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ข้อพิพาท หมายเลข ที่ 77/56 ระหว่าง บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จํากัด (มหาชน) กับบริษัท เทคนิบ เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด, เป็นอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ข้อพิพาท หมายเลขที่ 70/2557 ระหว่าง บริษัท จี แอนด์ พี แอสเซ็ท โฮลดิ้ง จำกัด ผู้เรียกร้อง กับ บริษัท ธวัชชัยดีไซน์ จำกัด ผู้คัดค้าน 


เป็นอนุญาโตตุลาการ ของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 31-2556 ระหว่าง บริษัท ศรีสยามมงคล (อุดมสุข) จำกัด ผู้เรียกร้อง กับ บริษัท วาย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ที่ 1 บริษัท เอ อี เอเชีย จำกัด ที่ 2 ผู้คัดค้าน 


ด้านการฝึกอบรม หลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมประเทศญี่ปุ่น องค์การ UNAFEI ประเทศญี่ปุ่น ,โครงสร้างกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ประเทศออสเตรีย,หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วปอ. 2553(หมู่สิงโต)

 

หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 3 ,หลักสูตรวิทยาลัยการพลังงาน รุ่นที่ 7,หลักสูตร ROLD รุ่นที่ 3สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ,หลักสูตร “นักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง” รุ่นที่ 11/1 ,สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (นธป.) รุ่นที่ 9 


ด้านผลงานด้านวิชาการ การเขียนบทความ ได้เเก่ “สัญญาของรัฐ” 72 ปี ครูผู้อุทิศเพื่อวิชาชีพ กฎหมาย : ศาสตราจารย์พิเศษประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย2558 ,“สำนักงานอัยการสูงสุดกับงานสัญญาของรัฐ” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 38ฉบับที่ 1


ด้านรางวัล และผลงานดีเด่นที่ได้รับ ได้เเก่ รางวัล “ฬ ดีเด่น” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น และสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย ได้รับคัดเลือกให้เป็น “สตรีไทยดีเด่น ประเภทสรรหา ประจําปี 2565 " โดยสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์