กกต.แจงแนวปฏิบัติหาเสียง ส.ส.-ผู้สมัคร ร่วมงานประเพณีได้ แต่ห้ามให้เงิน

27 ก.ย. 2565 | 05:10 น.

กกต.แจงยิบแนวปฏิบัติหาเสียง 180 วันอันตราย เผยกฎเหล็ก ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง-ส.ส.-ว่าที่ผู้สมัคร ร่วมงานประเพณีได้แต่ต้องไม่ให้เงิน ส่วนผู้สมัครงดแจกของผู้ประสบภัยทุกกรณี ป้ายต้อนรับ -ขอบคุณต้องห้าม ขรก.-จนท.รัฐ วางตัวเป็นกลาง

วันที่ 27 ก.ย. 2565   นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ร่วมประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานกกต.ประจำจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านระบบ ZOOM เพื่อชี้แจงให้ กกต.จังหวัด แต่ละจังหวัด ได้รับทราบแนวทางปฏิบัติ และชี้แจงพรรคการเมืองให้เป็นแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับเกณฑ์การหาเสียงช่วง 180 วันก่อนสภาครบวาระ

 

 เลขาธิการกกต. กล่าวว่า ต่อไปทาง กกต.จังหวัด จะมีหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างแรก คือ 1.รู้กฎหมายให้คำปรึกษาแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ประสงค์จะสมัคร พรรคการเมือง

 

2.การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าป้ายแบบนี้ถูกหรือไม่ ซึ่งการใช้ดุลพินิจจะต่างกัน เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือข้อความในแต่ละป้ายแตกต่างกัน จึงทำให้วินิจฉัยแตกต่างกันได้ สิ่งนี้จึงทำให้วันนี้ทางสำนักงานกกต.จำเป็นต้องชี้แจงลงในรายละเอียดเพื่อเป็นแนวทางให้กกต.จังหวัด ได้พิจารณาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
 

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต

นายแสวง ได้ชี้แจงแนวปฏิบัติในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม   โดยกลุ่มที่ 1 พรรคการเมืองและผู้สมัคร  1.ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองสามารถไปร่วมงานประเพณีต่าง เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานศพและมอบพวงหรีดดอกไม้สดได้ แต่ต้องไม่มีการให้เงิน ทรัพย์สินต่างๆ

 

ยกเว้นกรณีที่ฝ่ายเจ้าภาพได้จัดเตรียมสิ่งของตามพิธีการไว้ให้มอบในงานด้วยเช่นผ้าบังสกุล ปัจจัย เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เงินของพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร หรือการระบุชื่อไว้เป็นประธานในงานกฐิน โดยผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่ได้มอบเงินหรือทรัพย์สินของตนเอง สามารถกระทำได้  แต่ทั้งนี้เจ้าภาพจะประกาศชื่อ หมายเลขสมัคร ของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองในลักษณะที่ช่วยหาเสียงเลือกตั้งไม่ได้ 

 

2. ผู้สมัครที่มีความจำเป็นต้องจัดพิธีงานต่างๆ ในช่วง 180 วันสามารถจัดงานได้เท่าที่จำเป็นเช่นงานศพ งานบวช งานแต่งงาน แต่ให้หลีกเลี่ยงการจัดการงานที่มีลักษณะขนาดใหญ่ มีผู้เข้าร่วมมาก เพราะอาจเป็นเหตุให้มีการร้องคัดค้านว่าเป็นการจัดเลี้ยง จัดมหรสพ ซึ่งเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ 

กกต.แจงแนวปฏิบัติหาเสียง  ส.ส.-ผู้สมัคร ร่วมงานประเพณีได้  แต่ห้ามให้เงิน

3. หัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมือง ส.ส. ของพรรคการเมืองสามารถลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้งได้ แต่ห้ามไม่ให้จัดหรือนำคนไปช่วยหาเสียง โดยได้รับค่าตอบแทน หรือสิ่งตอบแทนเช่นการจ้างให้เข้าร่วมรับฟัง  โดยไม่ได้เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง

 

4. ผู้สมัครและพรรคสามารถเข้าไปหาเสียงในโรงเรียน หรือสถานที่ราชการได้แต่ต้องขออนุญาตเจ้าของสถานที่ก่อนดำเนินการหาเสียง 5.ผู้สมัครและพรรคการเมืองไม่สามารถมอบของช่วยเหลือแก่ประชาชนในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การมอบสิ่งชองช่วยเหลืออุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และโรคระบาด  หรือในเหตุที่เกิดขึ้นลักษณะเดียวกัน

 

6. ผู้สมัครและพรรคการเมืองสามารถติดประกาศแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยมีวิธีการ ขนาด จำนวนและสถานที่ติดตามที่กำหนดในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด สำหรับแผ่นป้ายที่ติดไว้ก่อนแล้ว จะต้องมีการแก้ไขให้มีขนาดและติดในสถานที่ตามที่กำหนดไว้

 

7.ในการหาเสียงเลือกตั้ง ผู้สมัครและพรรคการเมือง ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.2561 และระเบียบกกต.ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการเสียงเลือกตั้งส.ส. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับ อย่างเคร่งครัด 

 

กกต.แจงแนวปฏิบัติหาเสียง  ส.ส.-ผู้สมัคร ร่วมงานประเพณีได้  แต่ห้ามให้เงิน

กลุ่มที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็คือรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง 1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ที่พึงต้องปฏิบัติในตำแหน่งนั้น เช่น การออกรายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นประธานเปิดงานในพิธีต่างๆ การลงตรวจงานในพื้นที่ การพบปะประชาชนในพื้นที่ หรือการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน

 

แต่ห้ามไม่ให้มีการกระทำการใด ๆที่เป็นการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการกระทำการหาเสียงในแก่ตนเอง หรือผู้อื่น หรือพรรคการเมือง ทั้งนี้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถไปร่วมประเพณีต่างๆ เช่นงานบวช งานแต่งงาน งานศพ วางพวงหรีดดอกไม้ได้

 

แต่ต้องไม่มีการให้เงิน ทรัพย์สินใด ๆ กรณีเจ้าภาพได้จัดเตรียมสิ่งของตามพิธีการไว้ให้มอบในงานเช่น ผ้าบังสุกุล หรือระบุชื่อไว้เป็นประธานในงานกฐิน โดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้มอบเงินหรือทรัพย์สินของตนเอง สามารถกระทำได้ ทั้งนี้เจ้าภาพจะประกาศชื่อ ในลักษณะช่วยเหลือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือพรรคการเมืองนั้นเพื่อหาเสียงไม่ได้

 

อย่างไรก็ตามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถหาเสียงเลือกตั้งนอกเวลาราชการให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองได้ แต่ต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือโทษแก่พรรคการเมือง ผู้สมัครใด  

 

ส่วน ส.ส.และกรรมาธิการ ก็มีวิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการการเมือง โดยไปทำหน้าที่ของตนเองได้ ไปรับฟังความเห็นในพื้นที่ พบประชาชน ก็เป็นการหาเสียงอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดกฎหมายแต่อย่างใด 

 

กลุ่มที่ 3 หน่วยงานของรัฐ สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ตามปกติ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การจัดกิจกรรมประกวด แข่งขันต่างๆ การจัดงานเทศกาลตามประเพณี  และต้องปฏิบัติในเป็นไปตามมติครม.ลงวันที่ 1 ก.พ. 2562 ที่ให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างในสังกัดราชการส่วนกลาง และภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งส.ส.

 

2.ให้ข้าราชการ พนักงาน ทุกระดับทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น วางตัวเป็นกลางทางการเมือง

 

3.นับแต่มีพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งส.ส.จนถึงวันเลือกตั้ง การแต่งตั้งโยกย้ายข้ารา

 

4.ให้ราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นให้การสนับสนุนสถานที่ เพื่อให้เป็นสถานที่จัดการเลือกตั้ง รวมถึงสนับสนุนเป็นสถานที่ติดประกาศ และแผ่นป้ายหาเสียงเลือกตั้ง

 

5. ให้มีการสนธิกำลังระหว่างทหาร ตำรวจ พลเรือน และอาสาสมัคร ด้านความปลอดภัยเพื่อการคุ้มครองประชาชนและเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้รับความปลอดภัย ซึ่งหลักสำคัญคือข้าราชการต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง 
    

นายแสวง กล่าวอีกว่า การทำเอกสารของหน่วยงานของรัฐ เอกสารเผยแพร่เผยแพร่ผลงานของรัฐมนตรี ปฏิทินปีใหม่ที่มีรูปและผลงานของรัฐมนตรี ให้จัดทำเผยแพร่ในนามของหน่วยงานนั้นเท่านั้น และต้องระมัดระวังไม่ให้ลักษณะเข้าข่ายหาเสียงให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือพรรคการเมือง

 

ส่วนการจัดทำป้ายต้อนรับการลงตรวจพื้นที่ของรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการต่างๆที่มาปฏิบัติงานตามหน้าที่ ให้พึงระมัดระวังไม่ให้เข้าข่ายเป็นการจัดทำป้ายหาเสียงเลือกตั้ง ส่วนการจัดทำป้ายต้อนรับหรือป้ายขอบคุณขอพรรคการเมือง หรือ ส.ส.ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากอาจจะเป็นป้ายหาเสียง และเป็นการขัดมติ ครม.ในเรื่องการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง 
    

ส่วนการปิดประกาศและแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ให้จัดทำประกาศโดยกำหนดให้จัดทำเป็นแนวตั้งขนาดไม่เกิน 30X42 ซม. หรือขนาด A3 ส่วนการจัดทำแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้จัดทำได้โดยมีขนาดไม่เกิน 130X245 ซม.

 

โดยการจัดทำประกาศและแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ระบุชื่อ-สกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิตไว้บริเวณที่ชัดเจนของแผ่นป้ายและประกาศเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย ส่วนจำนวนและสถานที่ในการปิดประกาส หรือติดแผ่นป้ายเป็นไปตามประกาศที่ กกต.กำหนดเรื่องหลักเก

 

แต่กรณีที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง การปิดประกาศหรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยวิธีการจัดทำ ขนาด จำนวน และสถานที่ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกกต. และผอ.กกต.จังหวัดกำหนดในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

 

ส่วนการติดป้ายที่ทำการพรรค สาขาพรรค ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือศูนย์อำนวยการการเลือกตั้ง สามารถติดได้สถานที่ละ 1 แผ่น ขนาดไม่เกิน 400X750 ซม. ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับประกาสและแผ่นป้ายดังกล่าว ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้องเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ประกอบการยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งด้วย

 

ทั้งนี้เรื่องป้ายหรือประกาศจะมีข้อยกเว้นอยู่คือ แผ่นพับ ใบปลิว เอกสารขนาดเล็ก หรือสติกเกอร์ รวมทั้งจอแอลอีดีที่ติดอยู่ตามรถ สามารถทำได้โดยไม่ต้องเป็นไปตามขนาดหรือจำนวนที่ระเบียบ กกต.กำหนด แต่ให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงครั้งต่อไปด้วย


   นายแสวง กล่าวอีกว่า การยกตัวอย่างในการทำงานสำหรับกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเรื่องป้ายหาเสียง น่าจะครบถ้วนและเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้แก่พรรคการเมืองและ สำนักงาน กกต.จังหวัด ในการชี้แจงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกรณีที่มีลักษณะซับซ้อน หรือไม่แน่ใจให้ ผอ.กกต.จังหวัดสอบถามมาที่ กกต.ส่วนกลาง ที่สำนักกฎหมาย สำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักบริหารการสนับสนุนโดยรัฐได้