เปิดประวัติ "บิ๊กป้อม" พี่ใหญ่แห่งบ้าน 3ป. รักษาการนายกฯ 

24 ส.ค. 2565 | 09:20 น.

เปิดประวัติ "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี พี่ใหญ่แห่งบ้าน 3 ป. แทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ นายกรัฐมนตรี

การก้าวขึ้นมานั่งรักษาการในตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ของ "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่วันนี้เหลือเพียงตำแหน่งเดียวนั่นก็คือ เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ "นายกรัฐมนตรี"  


พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "ป้อม" จึงได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กป้อม" เป็นบุตรคนโตของ พล.ต. ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมทีโอที และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ

การศึกษา

  • พ.ศ. 2505 – โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  • พ.ศ. 2508 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6
  • พ.ศ. 2512 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17
  • พ.ศ. 2521 – หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2540 – วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40

 

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
  • พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
  • พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
  • พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัย
  • ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่งเป็นคณะดำเนินคดี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ

 

ชีวิตและการงาน

พล.อ.ประวิตร ถือได้ว่า เป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" เป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับนายทหารอดีตผู้บัญชาการทหารบกสองนาย ซึ่งก็คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 

 

พล.อ.ประวิตร ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประจำกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552

 

ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" จากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่าง ๆ ที่ถูกครหาในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

เป็นที่ทราบกันว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของกลุ่มทหารเรียก "บูรพาพยัคฆ์" ซึ่งหมายถึงทหารที่เริ่มต้นรับราชการจากกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ("ทหารเสือราชินี") 

 

ข้อมูล วิกิพีเดีย