ยื่นร้องนายกฯ “สำนักงบฯ” จัดงบปี 66 สวนนโยบายโอนรพ.สต.ไปสังกัดอบจ.

05 เม.ย. 2565 | 07:26 น.

สมาคมอบจ.แห่งประเทศไทย และตัวแทนผอ.รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ ยื่นร้องเรียนนายกรัฐมนตรี “สำนักงบประมาณ” ติงการจัดสรรงบปี 2566 ไม่ตรงกับนโยบายกระจายอำนาจโอนรพ.สต.ให้อบจ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(5 เม.ย.65) เวลา 13.25 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวทุกข์ของรัฐบาล 1111 ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล มีกลุ่มสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ทั่วประเทศ

 

นำโดย นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายก อบจ.สุพรรณบุรี ในฐานะนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ทบทวนมติ ครม. และจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.)

 

โดยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านนายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 

 

หนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เนื่องจาก ปัญหาการถ่ายโอน รพ.สต. ซึ่งตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้สถานีอนามัย และ รพ.สต.กำหนดให้ถ่ายโอนมายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2551 นับถึงปัจจุบันผ่านมาแล้วเป็นเวลา 14 ปี 

ยื่นร้องนายกฯ “สำนักงบฯ” จัดงบปี 66 สวนนโยบายโอนรพ.สต.ไปสังกัดอบจ.

จนกระทั่ง คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ (ก.ก.ถ.) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 19 ตุลาคม 2564 ให้ ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หลักการ "ภารกิจไป ตำแหน่งไป งบประมาณไป บุคลากรสมัครใจ" โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 เป็นต้นไป 

 

ในปี 2566 มี อบจ.ประสงค์รับการถ่ายโอน 49 แห่ง มี รพ.สต.ขอถ่ายโอน 3,384 แห่ง (จาก 9,878 แห่งทั่วประเทศ) มีบุคลากรสมัครใจโอนไปสังกัด อบจ. 22,265 คน 

 

แต่ปรากฏว่า ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2565 สำนักงบประมาณ ไม่ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ดังกล่าว กลับใช้ดุลยพินิจ เสนอกรอบการจัดทำงบประมาณ ปี 2566 ต่อ ครม.กำหนดให้มี รพ.สต. ที่ผ่านการพิจารณา เพียง 512 แห่ง จาก 3,384 แห่งที่ขอถ่ายโอน 

ยื่นร้องนายกฯ “สำนักงบฯ” จัดงบปี 66 สวนนโยบายโอนรพ.สต.ไปสังกัดอบจ.

และกำหนดกรอบให้มีบุคลากรที่เป็นข้าราชการถ่ายโอนได้เพียง 2,515 คน 22,265 คน ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศกระจายอำนาจฯ ที่มีสภาพบังคับตามความใน มาตรา 33 แห่ง พรบ.กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ให้ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตาม และเกิดปัญหากระทบต่อการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. อบจ. ทั่วประเทศ กลุ่มฯ จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้

 

1.เรื่องการถ่ายโอนภารกิจ

  • กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่เฉพาะของคณะกรรมการการกระจาย อำนาจฯ เช่น อำนาจที่จะพิจารณาว่า ควรถ่ายโอนภารกิจหรือไม่ เพียงใด โอนไปยังหน่วยงานใด แต่กลับมี หน่วยงานอื่นเช่น สำนักงบประมาณ เข้ามาใช้ดุลยพินิจ แทนซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ 
  • จึงขอเรียกร้องให้ ครม.สั่งการให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ปฏิบัติ มาตรา 33 แห่ง พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจฯ ที่กําหนดให้ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตามแผนการถ่ายโอนที่ คณะกรรมการการ กระจายอำนาจฯ ประกาศ และมาตรา 29 วรรคสองของ พรบ.วิธีการงบประมาณ ที่กำหนดให้การ จัดสรรงบประมาณต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ยื่นร้องนายกฯ “สำนักงบฯ” จัดงบปี 66 สวนนโยบายโอนรพ.สต.ไปสังกัดอบจ.

2. ขอให้ ครม.ทบทวนมติเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ

  • ที่เกิดจากการใช้ดุลยพินิจ กําหนดกรอบวงเงินและหลักเกณฑ์ในการถ่ายโอน ของหน่วยงานที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ ดังกล่าว โดย ขอให้ ครม.จัดสรรงบประมาณให้เป็นไป ตามแนวทางประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ ที่ได้ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 19 ตุลาคม 2564 ซึ่งจะต้องดำเนินการ ดังนี้
    •     ต้องดำเนินการให้มีการถ่ายโอน รพ.สต.ที่ได้แสดงความจำนงสมัครใจขอ ถ่ายโอน 3,384 แห่ง และบุคลากรจำนวน 22,265 คน สู่ อบจ.
    • ต้องจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการพัฒนาคุณภาพการ ให้บริการด้านสาธารณสุข ของสถานีอนามัยถ่ายโอน (เงินบำรุง รพสต.) ตามแนวทางประกาศ คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ โดยจะต้องใช้เงินก้อนใหม่เข้ามาจัดสรรให้กับ อบจ. ไม่ใช่ วิธีการโยก งบประมาณจากหมวดเงินอุดหนุน การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบจที่เคยได้รับ มาแล้วทุกปีมาตั้งแทน