รฟท.ทำพิลึกฟ้องกรมที่ดิน 700 ล้านออกโฉนดที่ดินเขากระโดง

17 ก.พ. 2565 | 08:55 น.

ทวี สอดส่อง จับพิรุธ การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครอง เรียกค่าเสียหายจากการออกโฉนดทับที่รถไฟเขากระโดง 700 ล้านบาท เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่

17 กุมภาพันธ์ 2565 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ อภิปรายเรื่องปัญหาที่ดินของประเทศไทย ซักถามข้อเท็จจริงรัฐบาล กรณีที่ดินการรถไฟฯ โดยยกคำพิพากษาคดีที่ดินการรถไฟเมื่อ 20 เม.ย.64 คำสั่งศาลฎีกา ที่ 2205/2564 คดีการรถไฟฯ ฟ้องเอกชน ที่มีโฉนดอยู่ในพื้นที่ที่ดินเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นเรื่องใหม่ เพราะปรากฎว่า ปี 65 ศาลฎีกา หลังจากจำเลยที่แพ้คดีชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัย ไม่รับฎีกา คดีจึงเป็นที่สิ้นสุดว่าต้องบังคับคดี

 

การรถไฟฯ ขอหมายศาล ส่งไปยังกรมบังคับคดี เพื่อไปบังคับคดีเจ้าของโฉนดแปลงนี้ ทำให้ตนเองดีใจที่อภิปรายในสภาฯ แล้วศาลฎีกา พิพากษาว่าที่ดินเป็นของการรถไฟ วันที่การรถไฟฯ ฟ้องประชาชน การรถไฟชนะคดี แสดงว่าที่ดินนั้นเป็นของการรถไฟฯ ที่พระราชทานให้ ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปอยู่ได้ ส่วนตัวเห็นการเดินทางมาถึงแสงสว่างปลายอุโมงค์

 

แต่ปลายเดือน ธ.ค.64 ปรากฎว่า ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ตัดสินใจไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องกรมที่ดิน ที่เกิดมานานมาก ฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน แทนที่เรื่องเดิมการรถไฟฯ คงเข้าใจว่าศาลยุติธรรม ไม่ยุติธรรมกับรถไฟฯ เพราะฟ้องเพื่อยึดโฉนด เพิกถอนขับไล่ ทั้งที่ศาลยุติธรรมก็ให้ความยุติธรรม ถ้าดูเวลาการฟ้องครั้งหลัง จากปี 61-64 ในช่วงรัฐมนตรี(ศักดิ์สยาม) อยู่ที่นี่ แต่ถึงเวลาทำไมตัดสินใจฟ้องศาลปกครอง 

 

ทั้งนี้ ได้อ่านคำฟ้องศาลปกครอง ปรากฎว่า การรถไฟฯ ยืนยันที่ดินที่เป็นโฉนดของการรถไฟฯ มีไม่ถึง 500 แปลง แต่กรมที่ดินบอกว่ามี 850 แปลง ถ้าผู้ว่าการการรถไฟฯ เป็นคนธรรมดา จะต้องอยู่ไม่ได้ เพราะนี่เป็นความรับผิดชอบ เป็นสาธารณสมบัติของของแผ่นดิน บอกว่าตัวเองมีหลักฐานแค่ 497 แปลง แต่กรมที่ดิน บอกมีหลักฐาน 850 แปลง 

 

การที่รัฐบาลชุดนี้ ตัดสินใจเปลี่ยนศาล จากศาลยุติธรรม มาศาลปกครอง คิดว่าไม่ถูกต้องเพราะเรื่องเดิมศาลยุติธรรม ก็ให้ความยุติธรรม ใช้เวลา 3 ปี มีข้อมูลถึง 850 แปลง เราจะได้เอาแผ่นดินกลับคืนมา เพราะการรถไฟฯ บอกราคาที่ดินดังกล่าวประเมินตารางวาละ 15,000 บาท ขณะที่การรถไฟฯ มีหนี้กู้มาปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ทำไมไม่ไปฟ้องศาลยุติธรรม แต่ไปศาลปกครอง

 

เมื่อการรถไฟฯ ตัดสินใจแล้ว่ากรมที่ดิน ไม่ยอมทำตามกฎหมาย เมื่อไป ป.ป.ช.แล้ว ทำไมไม่เอาเรื่องทั้งหมดไปฟ้องศาลยุติธรรม ทำไมไปฟ้องศาลปกครอง ก็มีตัวอย่างแล้ว เพราะอะไร เพราะในที่ดินดังกล่าว รมต.ศักดิ์สยาม ก็ยอมรับว่ามีบ้านอยู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อเราไปดูโฉนดเราก็จะเจอ

 

ผู้ว่าฯการรถไฟ ไม่กล้าฟ้องเจ้านาย บุญคุณ กับความถูกต้องถึงเวลาเลือกความถูกต้อง ประโยชน์ส่วนตัว กับประโยชน์ส่วนรวม คิดว่าประโยชน์ส่วนรวมที่นายกฯ พูด ต้องมาก่อน ระบบอุปถัมภ์ กับระบบคุณธรรม ระบบคุณธรรมต้องมาก่อน 

 

การตัดสินใจฟ้องกรมที่ดิน แล้วไปเรียกทรัพย์สินให้อธิบดีกรมที่ดิน จ่าย 700 กว่าล้านฟ้อง เงินที่จ่ายกรมที่ดินไม่จ่าย เป็นเงินภาษีของประชาชน เพราะคดีก่อนหน้านั้นที่ไปฟ้องศาลยุติธรรม คนครอบครองที่ดินจะต้องจ่ายเงิน 

 

นี่คือปัญหาของที่ดินประเทศไทย อยู่ที่หน่วย 9 หน่วยที่นายกฯให้ดูแลกฎหมาย ปัญหาทั้งหมดถ้าผู้นำไม่สัตย์ซื่อ ถ้าคนไม่ซื่อสัตย์แข็งแกร่ง หรือคนชั่วที่แข็งแกร่ง แล้วมีผู่นำที่อ่อนแอประเทศไปไม่ได้

 

กรณีดังกล่าว ถ้าการรถไฟฯ เราเป็นหนี้มากมาย และรถไฟจะเอาสินทรัยพ์มาบริหาร ถ้าเอาแค่ราคาประเมินที่ฟ้อง 700 ล้านเพราะที่ดินไปออกโฉนด 4,000 รวมกว่า 5,000 ไร่ ปีหนึ่งได้หมื่นกว่าล้าน หมื่นกว่าล้านพระราชทานมาเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น อันนี้เข้าหลักประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ส่วนรวม อย่างน้อยนายกฯ ได้ประกาศเป็นคนซื่อสัตย์ นายกฯ ต้องมารักษาการรมว.คมนาคม และยก รมว.กลาโหม ให้นายศักดิ์สยาม เพราะเชื่อว่าทหารมีความเข้มแข็ง

 

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (1)

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (2)

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (3)

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (4)

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (5)

เอกสารประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 17 ก.พ.65 (6)