“ยุทธพงศ์” ฟันธง ปี 65 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ส.

26 ธ.ค. 2564 | 08:39 น.

“ยุทธพงศ์”ระบุ ปี 65 จะมีเลือกตั้งผู้ว่า กทม. และเลือกตั้ง ส.ส. ยกปมการดำรงตำแหน่งนายกฯของ “บิ๊กตู่” ครบ 8 ปี และปัญหาความขัดแย้งใน พปชร.

วันที่ 26 ธ.ค.64 นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในปี 2565 จะเป็นปีแห่งการเลือกตั้ง โดยจะมีการเลือกตั้งใหญ่ๆ คือ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยได้อ้างอิงถึงหนังสือด่วนที่สุดของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 กันยายน 2564 ที่เสนอเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งบ่งบอกว่า ทาง กกต.และกระทรวงมหาดไทยได้มีการประชุมและหารือแล้วว่ามีความพร้อมในการเลือกตั้ง

 

ดังนั้น ครม.ต้องรีบให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. โดยเร่งด่วน และไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้ง อีกทั้งขณะนี้ก็มีบุคคลที่ประกาศเปิดตัวลงรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.แล้วด้วย ดังนั้นอย่างไรก็ตามปีหน้า 2565 จะต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. อย่างแน่นอน

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย

ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า เพราะขณะนี้อย่างที่ทราบมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นระบบบัตรเบือกตั้ง 2 ใบ และเพิ่มจำนวน ส.ส. เขตเป็น 400 เขต และบัญชีรายชื่อ 100 คน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่มีการบรรจุเข้าสู่ระเบียบการประชุมสภา

 

และที่ผ่านมานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาบอกไทม์ไลน์ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ว่าจะเสร็จประมาณเดือนกรกฎาคม 2565 โดยจะเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี ซึ่งพลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม 2557 และจะครบ 8 ปี วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ซึ่งกฎหมายลูก 2 ฉบับก็จะเสร็จประมาณกรกฎาคม 2565

ดังนั้นเมื่อดูจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันเกิน 8 ปีมิได้ ประกอบกับมาตรา 264 บัญญัติไว้ให้ คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินที่อยู่ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2560 จึงต้องนับระยะเวลาการดำเนินตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์ตั้งแต่ปี 2557 รวมถึงในครั้งที่พลเอกประยุทธ์รับตำแหน่งครั้งที่ 2 ไม่ได้มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินกับ ป.ป.ช. เนื่องจากเป็นการดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง ดังนั้นนี่คือเหตุผลที่จะไม่สามารถให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ 

 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐ และกรณีของสภาล่ม ซึ่งในสมัยประชุมนี้สภาล่มไปแล้ว 4 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าขนาดยังไม่มีกฎหมายสำคัญเข้ายังเป็นแบบนี้ ดังนั้นหากมีกฎหมายสำคัญเข้า