ผ่างบประมาณ "กระทรวงสาธารณสุข" ในรอบ 5 ปี 

31 พ.ค. 2564 | 23:00 น.

รายงานพิเศษ : ผ่างบประมาณ "กระทรวงสาธารณสุข" ในรอบ 5 ปี 

วันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2564 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 หรือ “งบ 65” ในวาระที่ 1  เพื่อรับหลักการนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นขั้นของการปรับลดงบประมาณได้อีกขั้นตอนหนึ่ง 

ฐานเศรษฐกิจ เจาะข้อมูล ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 ที่น่าสนใจ คือ งบของ กระทรวงสาธารณสุข จึงทำการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการจัดงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ 

  • ปี 2560 จำนวน 131,101.6 ล้านบาท
  • ปี 2561 จำนวน 136,168.8 ล้านบาท
  • ปี 2562 จำนวน 135,388.7 ล้านบาท
  • ปี 2563 จำนวน 137,389.4 ล้านบาท
  • ปี 2564 จำนวน 158,278.6 ล้านบาท
  • ปี 2565 เสนอของบประมาณ 153,940.5 ล้านบาท

ส่วนงบประมาณของหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เทียบระหว่างปีงบประมาณ 2564 กับ 2565 

1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 

  • ปี 64 - 120,857.1 ล้านบาท
  • ปี 65 -  118,431.9 ล้านบาท

2. กรมการแพทย์ 

  • ปี 64 - 8,775.2 ล้านลาท
  • ปี 65 -  7,816.4 ล้านบาท

3. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 

  • ปี 64 - 343.1 ล้านบาท
  • ปี 65 - 279.7 ล้านบาท

4. กรมควบคุมโรค 

  • ปี 64 - 4,044.2  ล้านบาท
  • ปี 65 - 3,565.3 ล้านบาท

5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

  • ปี 64 - 1,388.8 ล้านบาท
  • ปี 65 - 1,244.7 ล้านบาท 

6. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 

  • ปี 64 - 13,254 ล้านบาท 
  • ปี 65 - 13,144.3 ล้านบาท

7.กรมสุขภาพจิต 

  • ปี 64 - 2,957.2  ล้านบาท
  • ปี 65 - 2,790.7 ล้านบาท

8. กรมอนามัย 

  • ปี 64 - 1,860.4 ล้านบาท
  • ปี 65 -  1,816.4 ล้านบาท

9. สถาบันพระบรมราชชนก 

  • ปี 64 - 2,365.5 ล้านบาท 
  • ปี 65 - 2,351.1 ล้านบาท

10. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

  • ปี 64 - 761.9 ล้านบาท
  • ปี 65 - 909.7 ล้านบาท

11. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 

  • ปี 64 - 159.3 ล้านบาท
  • ปี 65 - 155.8 ล้านบาท

12. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 

  • ปี 64 - 35.1 ล้านบาท
  • ปี 65 - 36 ล้านบาท

13. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

  • ปี 64 - 1,377.7 ล้านบาท
  • ปี 65 - 1,286 ล้านบาท

14. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 

  • ปี 64 - 23.4 ล้านบาท
  • ปี 65 - 22.2 ล้านบาท

15. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) 

  • ปี 64 - 6.4 ล้านบาท
  • ปี 65 -  25.8 ล้านบาท

16. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 

  • ปี 64 - 69.3 ล้านบาท 
  • ปี 65 - 64.5 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจะถูกปรับลดลงจากปีงบประมาณ 2564 แต่กลับพบว่าท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 นั้น รัฐบาลได้ออก "พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท" หรือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มแผนงาน ซึ่งรวมถึงงบทางด้านสาธารณสุขด้วยเช่นกัน

  • กลุ่มที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 45,000 ล้านบาท
  • กลุ่มที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 วงเงิน 555,000 ล้านบาท
  • กลุ่มที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงิน 400,000 ล้านบาท

และล่าสุดใน "พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท" หรือ พระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564  จะมีการนำเงินไปใช้ใน 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ยารักษาโรค วัคซีน และการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีนภายในประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงสถานพยาบาลสำหรับการบาบัดรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท
  2. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพหรือผู้ประกอบการทุกสาขาอาชีพให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง วงเงิน 300,000 ล้านบาท
  3. แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับแผนงานหรือโครงการเพื่อรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการ และกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ 170,000 ล้านบาท

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ยังระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนและต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหนักหน่วงและกว้างขวาง เป็นวิกฤติสำคัญที่จาเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและต่อเนื่องกับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ดำเนินการอยู่

จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

ที่มา สำนักงบประมาณ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :