เปิดแผนปฏิรูป‘ลดเหลื่อมล้ำ’

24 ธ.ค. 2560 | 03:16 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นาย กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการ (คกก.) ปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ถึงแนวทางปฏิรูปแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลํ้า

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินจีดีพีปี 2560 จะโต 3.9% และปี2561 ที่ 4.1% ขณะที่รายงานจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ระบุว่ามีคนไทยที่อยู่ตํ่ากว่าเส้นความยากจนเพียง 10% หรือราว 7 ล้านคน สวนทางกับความเหลื่อมลํ้าที่เป็นปัญหาในขณะนี้ ...

แนวทางแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลํ้าต้องทำ 3 อย่างไปพร้อมกันคือบุคคล ชุมชน และสังคมประชาชนต้องยกระดับรายได้โดยเฉพาะเกษตรกรและกลุ่มยากจนให้ยืนบนขาตนเองได้,การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เช่นการพัฒนาธุรกิจชุมชน จัดตั้งกองทุนสำหรับชุมชนและสังคมต้องสร้างความสมดุลมีระบบการดูแลจากส่วนกลางโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเช่นขยายโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม ( Social Safety Net)

[caption id="attachment_244012" align="aligncenter" width="503"] TP2-3324-2 กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[/caption]

คกก.ปฏิรูปฯเห็นว่าต้องทำทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน คือแข่งขันได้ กระจายประโยชน์ โตอย่างยั่งยืน และจำเป็นต้องตั้ง “หน่วยงานกลาง” ขึ้นมาดูแลด้านปัญหาความยากจนและความเหลื่อมลํ้า ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง, การบูรณาการการใช้งบประมาณ โครงการและบุคคลและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ติดตามผล,วิจัย และประเมินผลโครงการ

สาเหตุที่ต้องตั้งหน่วยงานนี้ดูง่ายๆปัจจุบันระบบสวัสดิการที่รองรับประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายมีถึง44 สวัสดิการจาก 14 หน่วยงานแต่ถามว่านายกฯได้รับสวัสดิการไปแล้วเท่าไรอย่างไรคำตอบคือตอบไม่ได้  เพราะยังไม่เคยมีการทำแบบบูรณาการ หรือเป้าหมายหากไม่สามารถดึงความเหลื่อมลํ้าลงได้ (ไทยอยู่อันดับ 3 ของโลก 58% รองจากอินเดีย 58.4 % และรัสเซียที่ 74.5%) ถามว่าใครต้องรับผิดชอบ?

“เป็นแนวคิดท่านนายกรัฐมนตรีที่ไปเห็นโครงการที่เมืองจีนในการต่อสู้ความยากจนประกอบกับคกก.ปฏิรูปฯ  เราก็กำลังคิดเรื่องนี้อยู่พอดีส่วนรูปแบบองค์กรจะเป็นอย่างไร เมื่อนำเสนอแล้วต้องรอท่านเคาะ โดยองค์กรนี้จะอยู่ตรงกลางคอยประสานงาน ดูว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและเอาหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยดูแลแก้ปัญหา”

++3กลุ่มเป้าหมายเกษตร-แรงงาน
กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรคนจนเมือง ผู้สูงอายุ และคนทุพพลภาพ โดยจะมีการประเมินทั้งตัวรายได้และทรัพย์สินโอกาสสิทธิความยุติธรรมความต้องการที่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ กลับมาวางนโยบายเพื่อให้ตอบโจทย์ตรงกับสิ่งที่ต้องการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกร (11 ล้านคน) แรงงาน (12 ล้านคน)และกลุ่มเอสเอ็มอี (8 ล้านคน) รวม 30 ล้านคน

นายกอบศักดิ์ ยกตัวอย่างแนวทางปฏิรูปในแต่ละกลุ่ม กลุ่มเกษตรก็โดยการเพิ่มผลผลิต ปรับเปลี่ยนการผลิต ไปสู่การทำเกษตรทฤษฎีผสมผสาน ทำโครงการเรื่องนํ้าถ้ามีนํ้ารายได้จะเพิ่ม 2.5 เท่าเพราะทำเกษตรได้ 3 รอบการทำวิจัยที่กินได้และจับต้องได้ คืองบประมาณในการทำวิจัยต้องเน้นวิจัยเพื่อแก้ปัญหาปากท้องของชาวบ้าน

กลุ่มแรงงาน แนวทางจะทำเรื่องโอกาสการศึกษาการพัฒนาด้านทักษะในอนาคตรัฐจะเปิด “ศูนย์เทรนนิ่ง” ขึ้นศูนย์นี้จะดูในเรื่องความต้องการใหม่ๆของเศรษฐกิจคืออะไร หลังจากได้ข้อมูลทางศูนย์ฯจะเป็นคนวางหลักสูตรและให้ใบประกอบฝึกทักษะดูแลให้ตรงกับที่เศรษฐกิจต้องการ เช่น การดูแลผู้สูงอายุที่หาแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านนี้ยังไม่มี, เรื่องของระบบราง, ลุงขาวไขอาชีพ, ส่วนกลุ่มเอสเอ็มอีปัจจุบันโชวห่วยยังมีปัญหาถูกกดดันจากบริษัทขนาดใหญ่อนาคตรัฐบาลก็จะทำโครงการต่างๆเพื่อให้เอสเอ็มอีได้รับการดูแล-ได้รับการส่งเสริมให้สามารถแข่งขันได้

++เดินหน้าเฟส 2,3 ช่วยคนจน
ส่วนความคืบหน้าโครงการสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย นายกอบศักดิ์ กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้สั่งการและกระทรวงการคลังกำลังเดินหน้าโครงการเฟส 2, 3 ต่อ โดยเฟส 2จะทำในเรื่องของการเทรนนิ่งที่จะผูกกับสวัสดิการ ที่รับการฝึกอาชีพต่างๆ

“เรื่องนี้คลังกำลังตัดสินใจอยู่แต่แนวคิดคือตอนนี้เรามีโครงสร้างใหม่คือ  ให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการกระจายสวัสดิการไปสู่พี่น้องโดยตรง ในอนาคตเราก็จะเอาสวัสดิการหลายสิบอย่าง กำลังคิดว่าจะเอาส่วนไหนมาใส่ในบัตรนี้บ้างขณะเดียวกันจะมีเงื่อนไขเรื่อง ของการฝึกอาชีพต่างๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9