ปฏิทินโอนเงินกลุ่มเปราะบางเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เงินเข้าวันไหน เช็คที่นี่

07 ก.พ. 2566 | 01:58 น.

กางปฏิทินการจ่ายเงินกลุ่มเปราะบาง เงินอุดหนุนบุตร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ได้รับเงินวันไหน โอนเข้าบัญชีวันที่เท่าไร พร้อมแนะวิธีการลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือเยียวยา มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ตรวจสอบที่นี่

กลุ่มเปราะบาง ตรวจสอบข้อมูลการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา งวดประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยในเดือนนี้จะได้รับเงินวันไหน "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลมานำเสนอ ทั้งในส่วนของเงินอุดหนุนบุตร จำนวน 600 บาท ,เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 600 , 700 , 800 , 1,000 บาท และเบี้ยความพิการ จำนวน 800 และ 1,000 บาท สามารถเช็คข้อมูลการโอนเงินได้ที่นี่

ปฏิทินการโอนเงินกลุ่มเปราะบาง เดือนกุมภาพันธ์ 2566

 

ส่วนกลุ่มเปราะบางที่อยากได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา สามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ โดยตรวจสอบข้อมูลดังต่อไปนี้

เงินอุดหนุนบุตร
ผู้ปกครองที่ต้องการรับเงินอุดหนุนบุตร หรือ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด สามารถลงทะเบียนได้ตามจุดดังต่อไป นี้ 
กรุงเทพมหานคร 

  • ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต

เมืองพัทยา 

  • ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ส่วนภูมิภาค 

  • ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล

ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุสามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ โดยจะมีการแบ่งการลงทะเบียนออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ 

  • ช่วงที่ 1 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน  
  • ช่วงที่ 2 เดือนมกราคม – กันยายน 

หลักฐานในการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 
1. บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
4. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนา (ในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง)

คุณสมบัตรผู้มีสิทธิลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 
1. มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือถ้าเคยลงทะเบียนมาก่อนแต่ย้ายภูมิลำเนาใหม่ จะต้องมาลงทะเบียนใหม่ที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้านใหม่
3.ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507)
4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยและระเบียบกรุงเทพมหานคร

ลงทะเบียนรับเบี้่ยยังชีพผู้สูงอายุ จากสำนักงานเขตดอนเมือง

เบี้ยความพิการ 
สำหรับผู้พิการที่ต้องการลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยา จะต้องมีบัตรผู้พิการ ซึ่งจะต้องสมัครที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (คลิกดูรายละเอียดทั้งหมดที่นี่)ส่วนใครที่มีบัตรแล้ว ก็สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยความพิการได้ดังต่อไปนี้


กรุงเทพมหานคร  

  • ลงทะเบียนที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิภาพสังคม สำนักงานเขต 

ส่วนภูมิภาค 

  • ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. ตามภูมิลำเนา ที่อยู่ในบัตรประชาชน

 

ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินกลุ่มเปราะบาง สามารถตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเงินอุดหนุนบุตร 
กรุงเทพมหานคร

  • ติดต่อที่กรมกิจการเด็กและเยาวชน ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ศดร.) เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร.0 2651 6534, 0 2651 6902, 0 2651 6920 หรือ 0 2255 5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 133, 147, 152, 231

ส่วนภูมิภาค 

  • ติดต่อผ่านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • กรมกิจการผู้สูงอายุ อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 20 โซน B เลขที่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2642 4336-9
     

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยความพิการ 

  • กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400ติดต่อ 1479 หรือ โทร. 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313

 

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

ที่มาข้อมูล-ภาพ

  • เฟซบุ๊กสำนักงานเขตดอนเมือง
  • เฟซบุ๊กโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  • กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ