กูย : เชื้อสายบัวขาว ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และความเชื่อ

04 ก.พ. 2566 | 09:00 น.

กูย : เชื้อสาย "บัวขาว มหาเมฆ" นักมวยชื่อดัง ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และความเชื่อ หลังเกิดดราม่า "กุน ขแมร์"

กรณีดราม่า กัมพูชา จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในระหว่างวันที่ 4-17 พ.ค. 2566 แข่งขันมวยที่ชื่อว่า "กุน ขแมร์" กีฬาที่มีต้นกำเนิดมาจากศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศ แต่ดราม่ายังไม่จบเพราะตั้งแต่มีชาวกัมพูชาบางส่วนอ้างว่า “บัวขาว บัญชาเมฆ” นักมวยไทยชื่อดัง มีเชื้อสายเป็นชาวกัมพูชาจนต้องมาชี้แจง  

ล่าสุด Banchamek Gym (Buakaw Banchamek, บัวขาว บัญชาเมฆ) ออกมาพูดอีกครั้งว่า บัวขาวเอง เป็นคนไทยแท้ๆ ไม่ไช่คนกัมพูชา ที่มาอยู่เมืองไทย ได้ดิบได้ดีแล้วลืมกำพืด เนรคุณแผ่นดินเดิม โดยเป็นคนไทยเชื้อสายกูย และไม่ได้อับอายด้วยว่ามีชาติพันธ์นี้ 

 

ชนชาติพันธุ์ กูย   

กลุ่มชาติพันธุ์กูยหรือกวยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประเทศลาว ตอนใต้ และประเทศกัมพูชาตอนเหนือ มีประมาณ 432,812 คน  ประเทศไทย ประมาณ 350,444 คน  กัมพูชา ประมาณ 23,633 คน  ลาว ประมาณ 58,735 คน

มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ลาว กัมพูชา และไทยเรื่อยมา โดยเฉพาะในสมัยอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พ.ศ. 2301 – 2310) ความดีความชอบของกลุ่มชาติพันธุ์กูยได้จับช้างเผือกไว้ถวายคืน จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง และทำให้จังหวัดสุรินทร์มีชื่อเสียงในเรื่องช้างจนถึงปัจจุบัน

ว่าด้วยภาษา

กลุ่มชาติพันธุ์นี้เรียกชื่อตัวเองว่า กูย แต่สำเนียงพูดอาจแตกต่างกันไป บางครั้งออกเสียงว่า กวย กุย หรือ โกย แม้ชนพื้นเมืองเหล่านี้จะออกเสียงสระแตกต่างกันตามละท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำเรียกชื่อนั้นมีความหมายเดียวกัน คือ “คน” 

และ การเรียกชื่อตัวเองว่า กูย นี้ กลุ่มชาติพันธุ์จะใช้เรียกก็ต่อเมื่อได้พูดและสนทนากับกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือ กับกลุ่มชาติพันธุ์กัมพูชา แต่เมื่อสนทนากับกลุ่มอื่นที่พูดภาษาไทยและลาวในประเทศไทย จะใช้เรียกตัวเองว่า “ส่วย” ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตามกลุ่มชาติพันธุ์ไทยและลาว

คำว่า “ส่วย” เป็นชื่อที่ได้จากการเรียกกลุ่มชาติพันธุ์กูยของคนไทยสยามตั้งแต่มีการแบ่งเขตการ ปกครองอย่างเป็นทางการของสยามในสมัยอยุธยาตอนปลาย 

กูย หรือ กวย เป็นคําเรียกชื่อตัวเองของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีอัตลักษณ์ด้านภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ําโขงและเทือกเขาพนมดงรัก นักภาษาศาสตร์จัดภาษากูยอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก ได้แบ่งกลุ่มภาษากูย โดยใช้ระบบเสียง เป็นเกณฑ์เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มภาษากูย (กูย-กูย) และกลุ่มภาษากวย (กูย-กวย) ทั้ง 2 กลุ่มนี้ถือว่าที่มีจํานวนมากที่สุดอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์  และพบว่า มีภาษา กูยแยกย่อย แต่เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ

ว่าด้วยการย้านถิ่นฐาน

การศึกษาประเพณีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จีน กูย ลาว กัมพูชา ด้วยแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดสี่ชนเผ่า ตำบลสำโรงทาบ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์” ระบุไว้ว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษของชาว“กูย” คือคนที่มีพื้นเพเดิมมาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และต่อมาได้ เคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตประเทศลาวตอนใต้แถบเมือง อัตปือแสนแป แขวงจําปาศักดิ์

แต่ด้วย เหตุผลทางการเมืองและสงครามจึงได้มีชาวไทยกูยเคลื่อนย้ายเป็นกองคราวานโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ จาก เมืองอัตปือแสนแป มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี.ผ่านมาทางศรีสะเกษและสิ้นสุดในจังหวัดสุรินทร์แล้วมุ่ง หมายมาทางตะวันตกเมืองสุรินทร์ใกล้ลุ่มแม่น้ําชีน้อย 

กลุ่มชาติพันธุ์กูยในปัจจุบัน ตั้งถิ่นฐานปะปนอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์กัมพูและลาว จึงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาติพันธุ์ด้านวัฒนธรรม มีการผสมผสาน กลมกลืน และยอมรับ วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน กลุ่มชาติพันธุ์กูยมีการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกับกลุ่มอื่นได้อย่างดี 

 บัวขาว บัญชาเมฆ

ว่าด้วยความเชื่อ

กลุ่มชาติพันธุ์กูยจะไหว้บรรพบุรุษปีละครั้ง เริ่มพิธีด้วยการนำเอาข้าสุก เหล้า เนื้อสัตว์ กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอามาวางไว้ใต้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าวสุก แล้วกล่าวขอให้บรรพบุรุษคุ้มครองรักษาครอบครัวให้เจริญรุ่งเรือง ในระดับชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์จะมีศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน

กลุ่มชาติพันธุ์จะเรียกว่า “เหรียนยะจูฮ์” เป็นศาลประจำหมู่บ้าน จะสร้างสัญลักษณ์ด้วยแกะ เป็นรูปหน้าคนทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ทำพิธีเซ่นไหว้ในคราวเสร็จหน้าเก็บเกี่ยวประมาณเดือน 3 

ชาวกูยนิยมเลี้ยงช้างซึ่งสืบทอดจากบรรพบุรุษ จะออกไปคล้องช้าง ด้วยเชือกปะกำ ซึ่งทำจากหนังควาย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณ เมื่อได้ช้างก็จะฝึกเอาไว้ใช้งาน พงศาวดารเมืองละแวกก็มีบันทึกไว้ว่าในพุทธศตวรรษที่ 20 กษัตริย์ขอมแห่งเมืองพระนคร ได้ขอให้แจ้งกุยแห่งตะบองขะมุน (ชุมชนกุยทางด้านใต้ของนครจำปาสัก) ส่งกำลังไปช่วยปราบกบฏที่เมืองพระนคร

ชาวกุยได้ร่วมขับไล่ ศัตรูจนบ้านเมืองขอมเข้าสู่ภาวะปกติสุข หลักฐานนี้แสดงว่า ขณะที่ชนชาติไทยหรือสยามกำลังทำสงครามขับเคี่ยวกับขอมเพื่อสถาปนานครรัฐสุโขทัยขึ้นมานั้นชาวกุยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว

ข้อมูล : การศึกษาประเพณีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์จีน กูย ลาว กัมพูชา ,human.msu.ac.th , Banchamek Gym (Buakaw Banchamek, บัวขาว บัญชาเมฆ)