ส่องภารกิจทัพเรือเร่งติดตั้งเครื่องฟอกฝุ่นPM 2.5 รวม13 เครื่อง ทั่วกทม.

04 ก.พ. 2566 | 05:15 น.

กองทัพเรือเปิดปฏิบัติการ “ติดตั้งเครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5” ในพื้นที่กทม. เร่งลดปัญหามลพิษทางอากาศ เบื้องต้นเป้าหมายติดตั้ง 13 เครื่อง

 

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้เริ่มภารกิจติดตั้ง เครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร แล้ววานนี้ (3 ก.พ.) โดยเริ่มติดตั้งในพื้นที่บริเวณนันทอุทยานสโมสร วังนันทอุทยาน จำนวน 2 เครื่อง พร้อมเป้าหมายเบื้องต้นจะติดตั้งในพื้นที่กทม. ทั้งสิ้น 13 เครื่อง เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงในช่วงเวลานี้

เร่งติดตั้งให้ครบ 13 เครื่องในเขตกทม.

จากปัญหาดังกล่าวที่กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมือง และพื้นที่ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองทัพเรือโดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ จึงได้เริ่มดำเนินการติดตั้งเครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5 จำนวน 2 เครื่องที่ทางกรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น โดยสองเครื่องแรก ได้ติดตั้งไว้วานนี้ (3 ก.พ.) ณ บริเวณลานจอดรถฝั่งด้านหน้านันทอุทยานสโมสร กองบัญชาการกองทัพเรือ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีประชาชนมาใช้บริการและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ในเบื้องต้นจะดำเนินการติดตั้งครอบคลุมหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนรวม 13 เครื่อง

ผลงานการพัฒนาของกรมอู่ทหารเรือ (ขอบคุณภาพจากเพจกองทัพเรือ)

เครื่องบำบัดฝุ่นฝีมือกรมอู่ทหารเรือ

สำหรับเครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5 ที่พัฒนาโดยกองทัพเรือนั้น นอกจากจะบำบัดฝุ่น PM 2.5 ได้แล้ว ยังสามารถกำจัดเชื้อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรียได้ด้วย

ทั้งนี้ กองทัพเรือโดยกรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเครื่องบำบัดฝุ่น PM 2.5 เเละกำจัดเชื้อโรคมาจากเครื่องต้นเเบบของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลจากการทดลองในห้องทดลองของอู่ทหารเรือธนบุรี ด้วยควันที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงกว่า 6000 PPM ที่อัตราการบำบัด 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พบว่า ระบบการกรอง Hight Efficiency Particulate Air ใช้เวลา 30 นาที ในห้องทดลองขนาด 4x6x6 เมตร ปริมาตร 144 ลูกบาศก์เมตร เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า 90%

คุณภาพอากาศที่ผ่านการบำบัดแล้วด้วยเครื่องดังกล่าว ได้มาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ ที่กำหนดให้ต่ำกว่า 50 PPM และนอกจากฝุ่น PM 2.5 แล้ว เครื่องบำบัดฝุ่นนี้ยังสามารถกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่างๆในระบบปรับอากาศรวม โดยพบว่า เชื้อโรคประเภทแบคทีเรียและไวรัสในอากาศ อาทิ ไวรัสโควิด -19 และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย อาทิ สาร Butadiene Toluene และกลุ่มสาร Aromatic hydrocarbons ถูกทำลายโดยเครื่อง และมีปริมาณลดลงภายใน 30 นาทีหลังการเดินเครื่อง

ผลสรุปการทำงานของเครื่อง พบว่าสามารถกำจัดเชื้อโรคในอากาศได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยอุปกรณ์ชุดนี้ได้ผ่านการทดลอง ทดสอบ ยืนยันจากกรมแพทย์ทหารเรือ และกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับค่าฝุ่นละอองในอากาศประกาศโดยกรมอุตุนิยมวิทยาเช้าวันนี้ (4 ก.พ.) พบว่า ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มของการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง

ในส่วนของกองทัพเรือเองนั้น ได้มีการออกแนวทางมาตรการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ไว้ดังนี้


แนวทางสู้ฝุ่น PM 2.5 ในส่วนของกองทัพเรือ