ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ช้า 3-6เดือนกระทบส่วนต่างดอกเบี้ยระบบแบงก์ไทยอย่างไร

28 ก.ค. 2565 | 03:31 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิด 4สมมติฐาน หากแบงก์เลื่อนปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ออกไป 3-6 เดือนเพื่อช่วยเหลือลูกค้าจะกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในปี2565 ราว 0.04-0.06% และกระทบปี 2566 ประมาณ 0.08-0.18%

สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้ช่วงที่เหลือของปี 2565

 

ทั้งนีื้ กนง.ยังเหลือการประชุมนโยบายการเงินอีก 3 ครั้ง “ สิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน”  ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.50-0.75% มาที่ 1.00-1.25% ภายในช่วงสิ้นปีนี้ ก่อนที่ยังมีโอกาสปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566

 

อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูงดังเช่นปัจจุบัน ทำให้คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำก่อน (หรือปรับขึ้นภายหลังจากทมี่ ีการปรับขนึ้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่นาน) ขณะที่การปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานมีโอกาสเลื่อนจังหวะเวลาออกไปเพื่อช่วยเหลือลูกค้า

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานออกไป 3-6 เดือน จะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในปี2565 ประมาณ 0.04-0.06% และกระทบปี 2566 ประมาณ 0.08-0.18% เมื่อเทียบกับกรณีที่กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้ปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะปกติ

ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ช้า 3-6เดือนกระทบส่วนต่างดอกเบี้ยระบบแบงก์ไทยอย่างไร

 

ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากแล้ว โดยในช่วงที่เหลือของปี 2565 กนง.ยังเหลือการประชุมนโยบายการเงินอีก 3 ครั้ง

 

คือ ในเดือนสิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.50-0.75% มาที่ 1.00-1.25% ภายในช่วงสิ้นปีนี้ ก่อนที่ยังมีโอกาสปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566

 

สำหรับธนาคารพาณิชย์นั้น สถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่และไม่ทั่วถึง ผนวกกับยังมีลูกหนี้ที่เคยขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และยังอยู่ระหว่างการปรับตัวในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้อีกจำนวนมากนั้น

 

คงทำ ให้เผชิญแรงกดดันต่อการเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ออกไป ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบเบื้องต้นต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ดังนี้

 

สมการการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระบบธนาคารไทย โดยเฉพาะในปี 2566 ทั้งนี้ ในภาวะปกติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินให้กู้ยืมพร้อมๆกัน จะส่งผลบวกต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์

 

เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อประมาณ 55-70% ของสินเชื่อรวมทั้งหมดจะอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ขึ้นกับโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง) จึงทำให้ได้รับประโยชน์ทันทีในไตรมาสที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐาน

 

อย่างเช่น MOR, MLR และ MRR ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำในปัจจุบัน มีสัดส่วนประมาณ 25% ของเงินฝากทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์จะทยอยรับรู้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลังเงินฝากประจำล็อตเดิมครบกำหนด นั่นคือ อีก 3, 6, 12 เดือนข้างหน้า

 

อ่านฉบับเต็ม :

“หากแบงก์เลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ย...ผลกระทบต่อระบบแบงก์ไทย”