T1 ชู 4กลยุทธ์เร่งเติบโตกับพันธมิตรหนุนธุรกิจบัตรเครดิตปี2565

31 พ.ค. 2565 | 17:03 น.

“ เซ็นทรัล เดอะวัน T1” ชี้บัตรเครดิตฟื้นพร้อมแข่งขันทั้งรีเทลเซ็กเตอร์และสถาบันการเงิน ชู 4กลยุทธ์เร่งเติบโตร่วมกับพันธมิตรปี65 เล็งหารือธปท.ช่วยพยุงลูกค้าก่อนปรับเกณฑ์ผ่อนชำระขั้นต่ำเป็น 8%ต้นปีหน้า

นายอธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด(GCS) ผู้ให้บริการบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน และในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สมาคมธนาคารไทย

เปิดเผยถึงทิศทางดำเนินธุรกิจในปี2565 ภายใต้ “กลยุทธ์การสร้างความเติบโตทางธุรกิจผ่านเครือข่ายพันธมิตรของบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน และ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ กรุ๊ป

T1 ชู 4กลยุทธ์เร่งเติบโตกับพันธมิตรหนุนธุรกิจบัตรเครดิตปี2565

โดยระบุว่า ภาพรวมธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาสสองและช่วงที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มจะเติบโต โดยประเมินยอดบัตรเครดิตใหม่เติบโต 10-15% ส่วนยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรน่าจะเติบโตประมาณ 12-15%

 

อย่างไรก็ตาม  ภาพใหญ่ของธุรกิจบัตรเครดิตถือว่ามีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์น่าจะกลับมาฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายสภาพเศรษฐกิจโดยรวมอาจยังไม่ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้าจากภาวะสงคราม

ขณะเดียวกันยังมีประเด็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและภาวะเงินเฟ้อสูงจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มซึ่งหากภาวะสงครามยังไม่คลีคลายคงอยู่กับสถานการณ์นี้อีกนาน  เหล่านี้อาจกระทบตลาดบัตรเครดิตโดยรวม

“ เราเองก็มีแรงกดดันจากภายใน จากปัญหาการระบาดโควิดซึ่งมีผลต่อการหาบัตรใหม่ ขณะอัตราผิดนัดชำระชำระยังสูงไม่ดีขึ้นจากก่อนช่วงโควิด ซึ่งมีผลต่อ Criteriaของการบุ๊กบัตรด้วยการเฝ้าระวังในการคัดกรองคุณภาพลูกค้าแต่ไตรมาสแรกบัตรเครดิตของเดอะวันเติบโตได้ดีมาก โดยบัตรใหม่สามารถทำได้แล้ว 19,500ใบ สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือNEA 21,000ล้านบาทเติบโตเกือบ 5%และยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 21,000ล้านบาทเติบโต 17%และสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ 500ล้านบาท”

ทั้งนี้จากผลงานไตรมาสแรกส่งให้บริษัทปรับเป้าทั้งปี 2565 โดยปรับเพิ่มเป้าขยายบัตรเครดิตใหม่ 81,200ใบเติบโตในอัตรา 52% ยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 88,200ล้านบาทหรือเติบโต 16% NEAเติบโต 10%แตะ 25,000ล้านบาทในสิ้นปีและสินเชื่อบุคคลใหม่ 1,900ล้านบาทเติบโต 13%

T1 ชู 4กลยุทธ์เร่งเติบโตกับพันธมิตรหนุนธุรกิจบัตรเครดิตปี2565

สำหรับปี 2565 กลยุทธ์เร่งเติบโตร่วมกับพาร์ทเนอร์  4กลยุทธ์ ประกอบด้วย

1.นวัตกรรมทางการชำระเงิน

-ภายหลังจากMigrateบัตรเครดิตเป็นContact less ซึ่งทรานเซ็กชั่นเพิ่มขึ้น 1,000% และเร็วๆนี้กำลังจะใช้วิธีการชำระเงินผ่านQR Payment ซึ่งลูกค้าจะได้คะแนนเป็น 4เท่าและส่วนลด 10% ซึ่งสิทธิประโยชน์เหมือนการรุดบัตรผ่านแอปยูชูส(UCHOOSE) และพยายามพัฒนาช่องทางผ่านโมบายแอป เช่น Dolfin

ขณะเดียวกันภายในไตรมาสที่ 3 จะปรับปรุงบัตรเดิมที่มีอยู่แล้ว “บัตรเดอะวัน เรดซ์” โดยจะปรับฟีเจอร์และสิทธิประโยชน์ ให้เหมาะกับกลุ่มวัยGEN (Young Gen)ซึ่งจะดึงคนรุ่นใหม่  อายุเฉลี่ยต่ำกว่า 30ปีที่ประกอบอาชีพอิสระ(ฟรีแลนด์)เข้ามาเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันเฉลี่ยฐานบัตรเครดิตเดอะวันจำนวน 9.25แสนใบยังมีกลุ่มวัยGENไม่มากคือ ไม่เกิน 20% ส่วนใหญ่ปัจจุบันอายุเฉลี่ยในพอร์ตอายุ 46-47ปีซึ่งเป็นลูกค้าพรีเมี่ยมของเซ็นทรัลเดอะวัน และอนาคตพยายามจะดึงคนรุ่นใหม่ผ่านร้านค้าในศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัลหรือ CPNและการใช้จ่ายออนไลน์

2.ความร่วมมือด้านข้อมูล

-ฐานลูกค้าสมาชิกของเดอะวันที่มีอยู่ 18ล้านคนสามารถพัฒนาข้อมูลร่วมกับพันธมิตรเพื่อเสนอผลิตภัณพ์ตรงกับโปรไฟล์ของลูกค้าและครอบครัว รวมถึงต่อยอดบริการสินเชื่อรถ เช่น คาร์ฟอแคชและสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

3.การสร้างระบบอีโคซิสเต็มและ 4.ความร่วมมือระหว่างเครือโดยใช้จุดแข็งแต่ละพันธมิตรต่อยอดให้ซึ่งกันและกัน

 

นายอธิศกล่าวเพิ่มเติมว่า   โจทย์ปีนี้ของGCS คือ การเชื่อมพันธมิตรระดับเครือมากขึ้น โดยบัตรเครดิตร่วมพันธมิตรหรือบัตรCo-Brand)ปีนี้  มีโอกาสฟื้นตัวเร็วกว่าบัตรเครดิตทั่วไป โดยเฉพาะGCS ซึ่งมาจาก 4ปัจจัย  คือ

1.ศักยภาพของพันธมิตรร่วมที่เป็นยักษ์ใหญ่คือ กลุ่มเซ็นทรัล  ซึ่งเป็นเครือรีเทลเลอร์ในเมืองไทย 

2.ตัวบัตรให้ฟีเจอร์ สิทธิประโยชน์ทุกบัตรดีและมีการปรับกลยุทธ์เร่งการใช้จ่ายยึดหัวหาดในเซ็นทรัลกรุ๊ป  

3.ฐานข้อมูลทั้งฝั่งบัตรพันธมิตร

และ4.สัดส่วนลูกค้าพรีเมียมมากกว่าลูกค้าทั่วไป ทำให้ยอดใช้จ่ายเติบโตดี

T1 ชู 4กลยุทธ์เร่งเติบโตกับพันธมิตรหนุนธุรกิจบัตรเครดิตปี2565

"ปีนี้มั่นใจจะทำผลงานบัตรเซ็นทรัลเดอะวันจะทำได้ดี  จึงปรับทิศทางกลยุทธ์โดยปีนี้จะมองภาพใหญ่มากขึ้น เน้นเสริมสร้างพันธมิตรให้เซ็นทรัลกรุ๊ปเพื่อให้ทั้งสองเครือเติบโตไปด้วยกันยั่งยืน ด้วยโปรเจ็กOne Retail ที่เชื่อมโยงพันธมิตรยักษ์ใหญ่หลายราย  เช่น  เซ็นทรัลกรุ๊ป ปัจจุบันรองรับลูกค้ามากกว่า 5แสนรายต่อวัน  จากฐานสมาชิก 18ล้านราย  ซึ่งเป็นเครือใหญ่ นอกจากนี้ยังมีพนักงานประมาณ 7หมื่นคน และซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าธุรกิจอีกมาก"

 

สำหรับยอดใช้จ่ายต่อบัตรของเดอะวัน  เช่น  บัตรเซ็นทรัลเดอะวัน เรดซ์ ซึ่งเป็นบัตรทั่วไป(Mass Segment) เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ 15,000บาท  , บัตรเดอะวัน ลักซ์อยู่ที่  45,000บาท , บัตรเดอะวัน แบล็คอยู่ที่ 150,000บาทและบัตรเดอะแบล็คอยู่ที่ 3แสนบาท  

หากพิจารณาดูมิติการเติบโต บัตรเซ็นทรัลเดอะวันเรดซ์บวกประมาณ 3%  แต่บัตรพรีเมี่ยมไม่ว่า บัตรเดอะวัน ลักซ์ บัตรเดอะวันแบล็ค และบัตรเดอะแบล็ค โดยเฉพาะปีที่แล้วเติบโตกว่า 30%ทุกหน้าบัตร อย่างไรก็ตามบริษัทคาดหวังจะเพิ่มสัดส่วนบัตรพรีเมี่ยมเป็น 10%จากที่มีอยู่แล้ว 7-8%ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลยังทรงตัวที่ประมาณ 2%

ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรือนนั้น ที่ผ่านมาทางชมรมได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งธปท.ค่อนข้างเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือนโดยพยายามให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ถึงสิ้นปี หรือมาตรการช่วยเหลือรายที่ไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ แต่เมื่อเปิดประเทศโดยรวมน่าจะดีกว่าปีที่แล้ว

 

อย่างไรก็ดีทางชมรมธุรกิจบัตรเครดิตก็มีความเป็นห่วง  หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือ คือ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย จากการผ่อนเกณฑ์ผ่อนชำระขั้นต่ำ 5%  สำหรับบัตรเครดิตซึ่งจะครบกำหนดภายในสิ้นปีนี้และต้นปีหน้าจะปรับเกณฑ์การจ่ายคืนหนี้ขั้นต่ำเป็น 8% ซึ่งจะหารือธปท.อีกครั้งเพื่อช่วยพยุงลูกหนี้ให้อยู่รอดต่อไป