ถึงเวลาเข้าซื้อกองทุนรวม SSF – RMF เพื่อลดหย่อนภาษี

01 พ.ย. 2564 | 01:00 น.

บลจ.เริ่มทยอยเปิดขายกองทุนรวม SSF และ RMF หวังช่วยนักลงทุนจัดพอร์ต และได้สิทธิลดหย่อนภาษี พร้อมแนะนำกองทุนเด่น ตอบโจทย์ และให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว

ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะเป็นเวลาของการเข้าซื้อกองทุนรวมเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ ซึ่งที่ผ่านมา กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยสิทธิและเงื่อนไขต่างๆ ที่มีประโยชน์หลากหลาย ควบคู่มากับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป แต่เมื่อกองทุน LTF หมดอายุไปเมื่อปี 2562 ทำให้เกิดกองทุนรวมใหม่เข้ามาทดแทน หรือเป็นทางเลือก คือ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เริ่มใช้เมื่อต้นปี 2563

 

สำหรับปัจจุบันมีเพียง 2 กองทุนรวมที่สามารถลงทุนเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ คือ กองทุนรวม SSF จะลงทุนทั้งในหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ขณะเดียวกัน ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

 

ถึงเวลาเข้าซื้อกองทุนรวม SSF – RMF เพื่อลดหย่อนภาษี

ขณะที่ กองทุนรวม RMF จะลงทุนทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี

 

ล่าสุดมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เริ่มเสนอขายกองทุนรวม RMF และ SSF ต่อเนื่อง โดยนายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ Head of Business Distribution บลจ. บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงเตรียมเสนอขายครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SIPRMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการออม (B-SIPSSF) ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2564 นี้ ในราคาหน่วยลงทุนละ 10 บาท 

นายวศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการ Head of Business Distribution บลจ. บัวหลวง จำกัด

ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนที่เชื่อมั่นว่า การลงทุนในธุรกิจที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainability) คำนึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงธุรกิจพลังงานสะอาด จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้เงินลงทุนได้ในระยะยาว และยังได้ประหยัดภาษีด้วย

“การลงทุนในธุรกิจที่สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก ซึ่งไม่ได้ร้อนแรงเพียบวูบเดียวแล้วหายไป แต่มีโอกาสเติบโตระยะยาวเหมาะที่จะลงทุนในรูปแบบ RMF และ SSF ล้วนเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้เราได้ลงทุนระยะยาวเพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคตทั้งสิ้น โดยนอกจากจะช่วยให้ผู้ลงทุนได้เพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดีระยะยาวแล้ว ยังทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์อีกต่อจากการประหยัดภาษีในปีที่ลงทุนด้วย”นายวศินกล่าว 

 

นายสุรเดช เกียรติธนากร กรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า แนะนำ 5 กองทุน SSF และRMF ได้แก่ กองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม ชนิดเพื่อการออม (K-GINCOME-SSF), กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน ชนิดเพื่อการออม (K-CHANGE-SSF), กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KCHANGERMF), กองทุนเปิดเค ทาร์เก็ต รีไทร์เมนต์ 2035 เพื่อการเลี้ยงชีพ (K2035RMF) และกองทุนเปิดเค หุ้นทุนบริพัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFLRMF)

ถึงเวลาเข้าซื้อกองทุนรวม SSF – RMF เพื่อลดหย่อนภาษี

 

นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงเข้าไตรมาส 4 เริ่มมีนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในกองทุนรวม RMF และกองทุน SSF มากขึ้น โดยแนะนำ3 ธีมกองทุนเด่น ได้แก่ กองทุนดาวเด่น ได้แก่ SCBRMJP (เพื่อการเลี้ยงชีพ), SCBJAPAN(SSF), SCBRMPIN (เพื่อการเลี้ยงชีพ) และ SCBPIN-SSF (ชนิดเพื่อการออม) ส่วนกองทุนระดับเมกะเทรนด์ คือSCBRMGHC (เพื่อการเลี้ยงชีพ), SCBIHEALTH (SSF) (ชนิดเพื่อการออม), SCBRMCTECH (เพื่อการเลี้ยงชีพ), SCBCTECH-SSF (ชนิดเพื่อการออม) และ SCBSEMI (SSF) (ชนิดเพื่อการออม) 

ถึงเวลาเข้าซื้อกองทุนรวม SSF – RMF เพื่อลดหย่อนภาษี

นอกจากนี้ กองทุนต่างประเทศมาแรง ครอบคลุมทั้งกลุ่มตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ แนะนำกองทุน SCBUSA(SSF) (ชนิดเพื่อการออม), SCBRMS&P500 (เพื่อการเลี้ยงชีพ), SCBS&P500-SSF (ชนิดเพื่อการออม), SCBDJI(SSF) (ชนิดเพื่อการออม), SCBNDQ(SSF) (ชนิดเพื่อการออม)