ธนาคารพาณิชย์ ไหน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไตรมาส3ปี2564

21 ต.ค. 2564 | 22:16 น.

ธนาคารพาณิชย์เปิดผลประกอบการ ไตรมาส3 และงวด 9เดือนฟันกำไร  4.2ุ6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 43.63% และ 1.40แสนล้านบาทกว่า 43.63% นำโดย  4แบงก์ใหญ่ “ซีไอเอ็มบีไทย -ไทยพาณิชย์-กรุงเทพ-กรุงไทย-ทีทีบี”เติบโตสูงสุด

          ไตรมาสที่3 เศรษฐกิจไทยังอยู่ในอาการอ่อนแอ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19สายพันธุ์เดลต้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวจากมาตรการปิดเมืองของรัฐบาลเพื่อหวังจะควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดและลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19  โดยเฉพาะภาคธนาคารต้องชั่งน้ำหนักสำหรับการบริหารความเสี่ยงองค์กรให้สมดุลกับการประคับประคองภาคธุรกิจหรือลูกค้าให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 เหล่านี้เป็นประเด็นที่ตลาดคาดว่าจะส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรทรุด!

 

เมื่อธนาคารพาณิชย์จดทะเบียน 10 แห่งทยอยประกาศผลกำไรสุทธิครบ พบว่า ส่วนใหญ่ยังรักษากำไรได้ในระดับดี และบางธนาคารมีกำไรเกินตลาดคาดการณ์ไว้  เห็นได้จากกำไรสุทธิในไตรมาส 3 / 64 รวม  4.2ุ6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.29หมื่นล้านบาทหรือ 43.63% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ 4แบงก์ใหญ่ “ ซีไอเอ็มบีไทย-ไทยพาณิชย์   -กรุงเทพ  -กรุงไทย  และทีเอ็มบีธนชาต”นำกำไรเติบโตในระดับสูงสำหรับธนาคารที่มีผลกำไรสุทธิปรับลดลงในไตรมาส 3 ได้แก่ ทิสโก้

ธนาคารพาณิชย์  ไหน ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไตรมาส3ปี2564

 

 

  สำหรับงวด 9เดือนแรกของปี 2564 ทำกำไรสุทธิรวม 1.40แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 33,701ล้านบาทหรือ 31.54%จาก 106,834แสนล้านบาทช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่ยังรักษาอัตรากำไร อาทิ กสิกรไทย  กรุงศรีอยุธยา  กรุงเทพ  กรุงไทยและไทยพาณิชย์  

 

ส่วนธนาคารที่ กำไรสุทธิ  ได้แก่   ทีเอ็มบีธนชาต(ทีทีบี)ลดลง 13.55%  รองลงมาคือ เอลเอชแบงก์ 5.18% เป็นผลจากการลดลงของกำไรจากเงินลงทุน และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น 

 

          เมื่อพิจารณาแต่ละธนาคารพบว่า ธนาคารกรุงเทพ ณสิ้นเดือนกันยายน  2564 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.10% สำหรับรายได้ที่มิใช่อดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น  27.6 ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมจากธุรกิจหลักทรัพย์  ค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อ มีเงินให้สินเชื่อ 2.52ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6%จากสิ้นปี2563จากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่   สินเชื่อกิจการต่างประเทศ   สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่ออยู่ที่ 3.7% อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่ง 198.9% ธนาคารมีเงินรับฝาก 3.12ล้านล้านบาท  เพิ่มขึ้น 11.2%

ธนาคารกรุงไทย  ช่วง 9 เดือนของปี 2564 ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 24,291 ล้านบาท แม้ว่าลดลง 31.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังเป็นการตั้งสำรองในระดับสูง ส่งผลให้ Coverage ratio เท่ากับ 163.9% เพิ่มขึ้นจาก 147.3% ณ สิ้นปี 2563 และ NPLs Ratio-Gross อยู่ที่ 3.57% ลดลงจาก 3.81% ณ สิ้นปีที่ผ่านมา

ธนาคารไทยพาณิชย์ ในไตรมาส 3 ของปี 2564 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 23,533 ล้านบาท ลดลง 0.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิภายใต้สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลง รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 13,377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3%

ธนาคารกสิกรไทย  ไตรมาส 3/64อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.23% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 1,936 ล้านบาท หรือ 17.38%ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) เพิ่มขึ้นจำนวน 489 ล้านบาท หรือ 4.53% จากไตรมาสก่อน   ส่วนงวด 9 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) ลดลง 28.28% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งงวด 9 เดือนของปีก่อนธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสำรองฯ ในระดับที่สูงเป็นจำนวนถึง 42,879 ล้านบาท

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   มีกำไรสุทธิอยู่ที่จำนวน 27,409 ล้านบาท สำหรับช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2564 เป็นการเพิ่มขึ้น 39.5% (รวมกำไรพิเศษจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นในบมจ.เงินติดล้อในไตรมาสสอง)จากช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.23% เทียบกับ 3.63% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 12,104 ล้านบาท หรือ 50.5% จากช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563 โดยปัจจัยหลักมาจากการบันทึกกำไรจากเงินลงทุนจากการขายหุ้นเงินติดล้อ หากไม่รวมรายการพิเศษจากการขายเงินลงทุนข้างต้น รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการดำเนินธุรกิจปกติเพิ่มขึ้นจำนวน 1,377 ล้านบาท หรือ 5.7% จากช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2563 สำหรับเงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 1.2% หรือจำนวน 21,294 ล้านบาทจากสิ้นเดือนธันวาคมปี 2563 ซึ่งเติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อ SME และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ 4.4% และ 4.2% ตามลำดับ

ธนาคารทีเอ็มบธนชาต ในไตรมาส 3 ปี 2564 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 15,663 ล้านบาท ลดลง 3.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,268 ล้านบาท ลดลงเช่นกันที่ 2.2%สำหรับค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ อยู่ที่ 5,527 ล้านบาท ยังคงเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ แต่ลดลง 19.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 ที่ธนาคารได้วางแผนตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าเป็นจำนวน 6,863 ล้านบาท

ธนาคารทิสโก้  บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) งวด 9 เดือนแรกอยู่ที่ 16.9%สำหรับเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มทิสโก้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีจำนวน 204,408 ล้านบาท ลดลง 9.1% จากสิ้นปีก่อนหน้า โดยบริษัทยังคงดำเนินนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่ ในขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.0% ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีกว่าความคาดหมาย และมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามคุณภาพสินทรัพย์ที่สามารถควบคุมได้ดี ทั้งนี้ บริษัทยังคงมีระดับเงินสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Loan Loss Coverage Ratio) อยู่ในระดับสูงที่ 196.5%

 

ธนาคารเกียรตินาคินภัทรไตรมาส 3 ธนาคารมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 8.3%และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 54.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่ธนาคารมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 1,007ล้านบาทด้านสินเชื่อขยายตัว 8.7%จากสิ้นปี 2563 ส่วนคุณภาพของสินเชื่ออัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.5% ปรับเพิ่มเล็กน้อยจาก 3.4%เมื่อไตรมาสก่อน