ติดตาม 5ปัจจัย18-22ต.ค.64 ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

17 ต.ค. 2564 | 03:27 น.

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 18-22ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯบล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,630 และ 1,615 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,655 และ 1,665 จุด ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะติดตาม 5ปัจจัยระหว่างวันที่ 18-22ต.ค.2564  “ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติในตลาดการเงินไทย -สถานการณ์โควิด - การเมืองในประเทศ -ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนก.ย. และตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ”

 

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 18-22ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติในตลาดการเงินไทย สถานการณ์โควิด และตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนก.ย. ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยและผลสำรวจภาคการผลิตจากเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย เดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

 

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ประกอบด้วย ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3/64 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ของธนาคารกลางจีน รวมถึงข้อมูล PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ยูโรโซน และอังกฤษ และอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนและอังกฤษ

ทั้งนี้ เมื่อ (15 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.30 เทียบกับระดับ 33.86 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (8 ต.ค.)

ติดตาม 5ปัจจัย18-22ต.ค.64 ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

ด้านบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.) มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,630 และ 1,615 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,655 และ 1,665 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก ผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร สถานการณ์โควิด ปัจจัยทางการเมือง และทิศทางเงินลงทุนจากต่างประเทศ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. รวมถึงดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค.


 

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 3/64 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน รวมถึงดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค.ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ย. ของยูโรโซนและญี่ปุ่น   โดยดัชนี SET ปิด(เมื่อวันที่ 15ต.ค.2564)ที่ระดับ 1,638.34 จุด ลดลง 0.07% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 86,443.97 ล้านบาท ลดลง 5.88% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.10% มาปิดที่ 554.45 จุด 

 

ติดตาม 5ปัจจัย18-22ต.ค.64 ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย